วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568

จากสนามบินภูเก็ต สู่ความเสื่อมถอยขบวนการ BRN

จากสนามบินภูเก็ต สู่ความเสื่อมถอยขบวนการ BRN

กลุ่มขบวนการร้าย BRN ยังคงเดินหน้าสร้างความหวาดกลัว ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการต่อรอง และพยายามบิดเบือนความจริงเพื่อสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนกับภาครัฐ พวกเขามุ่งชี้นำให้สังคมกล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐ โดยใช้เหตุรุนแรงเป็นเงื่อนไข และสร้างภาพว่ารัฐล้มเหลวในการรักษาความสงบ

ที่สำคัญ BRN ยังหวังผลทางการเมือง หวังทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายรัฐและยอมจำนนต่ออำนาจของพวกเขา เพราะประชาชนวันนี้ร่วมมือกับภาครัฐมากขึ้น กลุ่ม BRN จึงหวาดหวั่นกับพลังประชาชนที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว

จากข้อมูลล่าสุด ประชาชนในพื้นที่แจ้งข่าวสารว่า BRN ได้รับคำสั่งจาก นายนิเซะ นิฮะ ให้ดำเนินการ 4 แนวทางหลัก เพื่อบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐ ได้แก่

1. ทำลายระบบสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น กล้อง CCTV ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้า ทางรถไฟ สะพาน เพื่อทำให้สังคมรู้สึกว่ารัฐไร้ความสามารถดูแล

2. ทำลายสถานที่ราชการ เช่น อาคาร อบต. เทศบาล อำเภอ สถานีตำรวจ ยกเว้นสถานพยาบาล เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญลักษณ์ของรัฐพังพินาศ

3. ทำร้าย อส. ท้องถิ่น โดยเฉพาะ อส.มลายูมุสลิม ที่ถือเป็นตัวแทนของรัฐในพื้นที่ เพราะ อส.กว่า 90% ใน จชต. เป็นมลายูมุสลิม

4. ทำลายระบบเศรษฐกิจ โดยการสร้างภาพความไม่ปลอดภัย ดึงนักลงทุนถอนตัว ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ สร้างความเดือดร้อนจนต้องโทษรัฐ

4 แนวทางนี้ มีเป้าหมายเดียวคือ ทำให้ประชาชนสิ้นหวังต่อรัฐ ไม่เชื่อมั่นในการปกครอง รู้สึกไม่ปลอดภัย และยอมจำนนต่อการครอบงำของ BRN ทั้งยังถูกใช้ในการสร้างข่าว IO ให้ประชาชนเกลียดรัฐ แต่กลับไม่ตำหนิกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นต้นเหตุ


ในความจริง ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ต่างเบื่อหน่ายพฤติกรรมโหดร้ายของ BRN ไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่ป่าเถื่อน เช่น ฆ่าพระ ฆ่าเณร สังหารสตรีต่อหน้าลูกน้อยวัยเพียง 6 ขวบ ปล้นชีวิตผู้บริสุทธิ์ ทำลายโอกาสทางเศรษฐกิจ ทั้งยังบ่อนทำลายความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การก่อกวนในเมืองเศรษฐกิจหาดใหญ่ ที่สร้างความเสียหายต่อพี่น้องมุสลิมจากมาเลเซีย ทำให้ผู้คนขาดรายได้ ถูกตัดขาดจากอาชีพ และบั่นทอนศรัทธาในความมั่นคงของพื้นที่

เลวร้ายยิ่งกว่านั้น เมื่อ BRN วางแผนขนระเบิดจากปัตตานี เพื่อทำลายสนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งเป็นประตูสำคัญในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของพี่น้องมุสลิมในไทย และเป็นจุดรับนักท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ ความพยายามสร้างความเสียหายเช่นนี้จะไม่เพียงแต่พรากโอกาสในการปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม แต่ยังทำลายชื่อเสียงพี่น้องมุสลิมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรุนแรง กลายเป็นตราบาปที่สร้างความระแวงในสังคม

เราทุกคนจึงต้องรู้ทัน ร่วมมือกับภาครัฐ ขับไล่ ประณาม ต่อต้านกลุ่มก่อการร้าย BRN ทุกรูปแบบ ให้หมดสิ้นความชอบธรรม อย่าปล่อยให้พวกเขาใช้ความรุนแรงสร้างความหวาดกลัวหรือบิดเบือนความจริง

ขอวิงวอนพี่น้องทุกคน หากพบเบาะแส พฤติกรรมผิดปกติ หรือข้อมูลที่อาจนำไปสู่การก่อเหตุรีบแจ้งผู้นำท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทันที เพื่อป้องกันความเสียหาย ช่วยกันรักษาความสงบสุข และสร้างอนาคตที่ปลอดภัยให้พื้นที่บ้านเกิดของเรา

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

แมวกับวิธีคนมลายู ความผูกพันที่มากกว่าสัตว์เลี้ยง

แมวกับวิธีคนมลายู ความผูกพันที่มากกว่าสัตว์เลี้ยง

ในโลกของคนมลายู โดยเฉพาะในพื้นที่ปาตานี การมี “แมว” อยู่ในบ้านไม่ใช่แค่เรื่องของการมีสัตว์เลี้ยงไว้คลายเหงา แต่คือความสัมพันธ์ลึกซึ้งที่สะท้อนวิถีชีวิต อารมณ์ และจิตวิญญาณของผู้คน

สำหรับคนมลายู แมวไม่ใช่สัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพราะความน่ารักเพียงอย่างเดียว แต่เป็น “เพื่อนร่วมเรือน” ที่มีสถานะใกล้เคียงกับสมาชิกครอบครัว เป็นสิ่งมีชีวิตที่เราต้องดูแล ต้องพูดคุย ต้องเข้าใจ แมวบางตัวได้รับการตั้งชื่ออย่างประณีต บางตัวมีสำรับอาหารพิเศษ บางตัวถูกจับห่มผ้าตอนกลางคืน เพราะเจ้าของกลัวมันหนาว

หากมองให้ลึกกว่านั้น ความผูกพันระหว่างคนมลายูกับแมว ยังสะท้อนความเป็นชุมชนที่มี “ใจ” เป็นศูนย์กลาง แมวไม่เคยถูกขังในกรงตลอดเวลา เพราะคนมลายูส่วนใหญ่ไม่ชอบบังคับ พวกเขาให้อิสระกับสัตว์เลี้ยง เหมือนที่พวกเขาเคารพวิถีชีวิตของผู้อื่น แมวออกไปเดินเล่นตอนเย็น วิ่งเล่นในลานมัสยิดตอนกลางวัน และกลับบ้านตอนค่ำอย่างรู้เวลา ความสัมพันธ์นี้ไม่ต้องใช้คำสั่ง แต่ใช้ “ความเข้าใจ

หลายครอบครัวเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่นำความบริสุทธิ์มาสู่บ้าน เพราะเป็นสัตว์ที่สะอาด ตื่นละหมาดฟัจร 5 เวลา พร้อมเจ้าของ และบางครั้งก็นั่งเงียบข้างๆ เวลาเจ้าของอ่านอัล-กุรอาน ความรู้สึกเหล่านี้ สะท้อนความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมที่ไม่แยกจิตวิญญาณออกจากสิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน

ในวัฒนธรรมคนมลายูแบบดั้งเดิม แมวยังถูกเล่าผ่านบทกวี กลอน และนิทานพื้นบ้าน เช่น “แมวดำเข้าบ้านเช้าโชคดี แมวขาวขึ้นหลังคาเย็นมีข่าวดี” หรือ “เจอแมวนอนกลางถนน อย่าไล่ มันกำลังบอกให้รอ” สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ไสยศาสตร์ แต่คือความเชื่อที่ย้อมด้วยความอ่อนโยน

ในบางพื้นที่ของปัตตานี หากมีแมวมานอนหน้าบ้านในคืนที่มีฝนตกหนัก คนเฒ่าคนแก่จะบอกว่า “คืนนี้บ้านนี้มีบารอกะฮ์” (ความเมตตาจากพระเจ้า) และจะวางผ้าห่มให้แมวหนึ่งผืน นี่คือรายละเอียดที่บางคนอาจมองข้าม แต่สำหรับคนมลายู นี่คือศิลปะของการอยู่ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกอย่างให้เกียรติ

แมว กับ วิธีคนมลายู จึงไม่ใช่เรื่องของสัตว์เลี้ยงกับเจ้าของ หากแต่เป็นเรื่องของ “หัวใจ” ที่ฝึกฝนให้รู้จักความนุ่มนวล ความเอื้ออาทร และการเคารพสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมโลกเดียวกัน แม้จะพูดต่างภาษา แต่ก็ฟังกันด้วยความรู้สึก.

แมวไม่เคยพูด แต่เราก็เข้าใจมัน เพราะเราไม่ใช้หู แต่ใช้ใจฟัง” นี่แหละ…วิธีของคนมลายู.

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568

สุดสลด เลวระยำ BRN ลอบฆ่าผู้หญิงต่อหน้าลูกสาว 5 ขวบ

      เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2568 พื้นที่บ้านปากู ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี กลายเป็นฉากโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครสมควรได้พบเห็น… คนร้ายแต่งกายเลียนแบบผู้หญิง ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ ลอบยิง นางสาวนูรีซัน ดอเลาะ ขณะกำลังส่งลูกสาววัยเพียง 6 ขวบขึ้นรถโรงเรียน ด้วยกระสุนปืนที่เจาะเข้าที่แผงหลังของเธอ ท่ามกลางสายตาของลูกและเพื่อนบ้าน เธอล้มลงต่อหน้าลูก เสียชีวิตในเวลาต่อมา

เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่เพียง “ฆาตกรรม” หากแต่คือ “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” ที่กระทำโดยกลุ่มขบวนการ BRN อย่างอำมหิต ไร้หัวใจ ไร้ศีลธรรม และไร้แม้แต่มนุษยธรรมเบื้องต้น เหยื่อรายนี้ไม่ใช่เพียงหญิงสาวธรรมดา แต่เธอคือ “แม่” คือ “ลูกสาว” และคือ “คนดี” ของสังคม

นางสาวนูรีซัน ฯ เป็นลูกจ้างโครงการจ้างงานเร่งด่วน (4500) ของรัฐ ทำงานเพื่อชุมชน และยังเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในพื้นที่ เธอคือหนึ่งในเสียงที่ “กล้าพูดความจริง” และ “กล้าปฏิเสธ” อิทธิพลของกลุ่ม BRN ที่ส่งคนมาเรียกเงิน เรี่ยไร ขอรับบริจาคจากชาวบ้าน เพื่อใช้ก่อเหตุรุนแรงในชุมชน

เธอเคยตั้งคำถามที่เรียบง่ายแต่แหลมคมว่า ทำไมต้องมาเร่ไรกับชาวบ้าน? พวกเขาทำงานสุจริต เลี้ยงลูกเลี้ยงครอบครัว แล้วกลุ่มพวกนี้จะเอาเงินไปฆ่าคนบริสุทธิ์อีกทำไม?”

และเพียงเพราะคำพูดนี้ เพราะเธอ “ไม่เห็นด้วย” และ “ไม่สนับสนุน” พฤติกรรมของขบวนการ BRN เธอจึงถูกกำหนดชะตาให้ “ต้องตาย” อย่างโหดเหี้ยม

แต่ความระยำของกลุ่มนี้ไม่ได้หยุดแค่ที่เธอย้อนกลับไปในอดีต พ่อของเธอถูกลอบยิงเมื่อปี 2548 เพียงเพราะไปพบเห็นขบวนการซ่องสุมกำลังอยู่ใกล้โรงเรียนปอเนาะยือกอง และแจ้งเตือนผู้นำในพื้นที่ ทำให้กลุ่ม RKK สะสมความแค้น และกลับมาลอบยิงจนเสียชีวิต

ต่อมาในปี 2558 แม่ของเธอก็ถูกยิงเสียชีวิต ด้วยเหตุผลคล้ายกัน—เพราะไม่ยอมก้มหัวให้ขบวนการฯ และกล้าตำหนิพฤติกรรมอันก้าวร้าวที่กระทำต่อเด็ก ผู้หญิง และผู้ไม่มีทางสู้

3 ศพในครอบครัวเดียวกัน ถูกสังเวยเพราะความกล้าหาญในจริยธรรม

น.ส.นูรีซัน เติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ก้มหัวให้ความชั่ว และต้องเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ดิ้นรนทำงานสุจริตเพื่อเลี้ยงดูลูกสาวตัวน้อยเพียงลำพัง แต่สุดท้าย ลูกสาวเธอก็ต้องกลายเป็น “เด็กกำพร้าจากน้ำมืออำมหิตของกลุ่ม BRN ที่อ้างอุดมการณ์ แต่กระทำเยี่ยงสัตว์ป่า


ชาวบ้านทุ่งยางแดงไม่ทน! หลังเหตุการณ์สะเทือนใจ ชุมชนบ้านปากูและ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี รวมพลังอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน กว่า 500 คน ทั้งผู้นำท้องถิ่น ข้าราชการ ครู นักเรียน และชาวบ้าน ร่วมเดินขบวนต่อต้านความรุนแรง ตะโกนเสียงเดียวกันว่า

เราต้องการสันติสุข

เรามีความแตกต่าง แต่เราทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน

ยุติความรุนแรง—คืนสันติสุขให้บ้านเรา

เสียงเหล่านี้ คือคำประกาศของประชาชนว่า พวกเขาจะไม่ยอมจำนนต่อความกลัว ไม่ยอมตกเป็นเหยื่อของความโหดร้ายที่ไร้เหตุผลอีกต่อไป

เพราะความอำมหิต ที่กลุ่ม BRN กระทำ ไม่ใช่แค่ทำลายชีวิตของนางสาวนูรีซัน ฯ แต่กำลังพยายามทำลายหัวใจของสังคม ชุมชน และศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคนที่อยากใช้ชีวิตอย่างสงบ บนแผ่นดินเดียวกันนี้

นี่คือความจริงที่ไม่ควรถูกกลบฝังไว้ใต้เงาควันของ “อุดมการณ์ปลอม

นี่คือการกระทำที่ประชาชนต้องกล้าพูดว่า “ไม่ยอมรับ

และนี่คือเวลาที่เราทุกคนควร “ลุกขึ้นปกป้องความดี

BRN จะไม่มีวันได้รับชัยชนะ เพราะสังคมที่ยังมีศีลธรรมจะไม่มีวันก้มหัวให้ความชั่วร้าย

และสุดท้ายขอร่วมไว้อาลัยให้แก่ น.ส.นูรีซัน ดอเลาะ และครอบครัวผู้เสียสละ ขอให้เสียงของเธอกลายเป็นพลังของประชาชนที่รักสันติสุข และไม่ทนให้ความโหดร้ายดำรงอยู่อีกต่อไป.

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ขวานที่ไม่มีด้าม นำไปใช้ย่อมไร้พลัง

ขวานที่ไม่มีด้าม นำไปใช้ย่อมไร้พลัง

แม้ผมจะมิใช่คนปัตตานีหรือคน 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่ผมก็เป็นคนไทยที่มีความรักความผูกพันกับปัตตานีและพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งตั้งแต่ในอดีตปัตตานีเป็นที่ใฝ่ฝันของผมและมุสลิมในภาคกลาง เหนือ อีสาน ที่ต้องการมาศึกษาหาความรู้ศาสนา เพราะมีปอเนาะสถานศึกษามากมาย ได้มาเยี่ยมพี่น้องมุสลิมมาเที่ยวชมความงามของ 3 จังหวัดโดยเฉพาะมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ที่แทบจะทุกบ้านมุสลิมในกรุงเทพ จะมีปฎิทินหรือรูปมัสยิดกลางปัตตานีแขวนติดข้างฝากัน

ผมเกิดในจังหวัดภาคกลาง ท่ามกลางความแตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม มัสยิดบ้านผมก็อยู่ท่ามกลางวัดถึง 3 วัดด้วยกัน ได้ยินทั้งเสียงอาซานและเสียงบทสวดมนต์ จึงทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาพุทธ และสามารถอ่านบทสวดมนต์ได้ เพราะทุกเช้าต้องฟังเขาอ่านตอนเข้าแถวทุกวัน ตอนไปโรงเรียนก็ต้องเดินผ่านวัด จนเป็นที่รู้จักของเจ้าอาวาสและเณรเพราะเข้าไปคุยกันบ่อยที่กุฎิ

ผมมีพ่อและแม่ที่คอยให้การอบรมสั่งสอนเรื่องศาสนาอย่างดี มาตั้งแต่เล็ก โดยถูกปลูกฝังในเรื่องมารยาท การพูดจา การมีสัมมาคาราวะกับผู้ใหญ่ และที่สำคัญคือต้องทำดีและให้การช่วยเหลือแก่เพื่อนบ้าน แม้จะต่างศาสนากันก็ตาม

ผมเริ่มมาใช้ชีวิตที่สามจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 โดยถูกส่งมาเรียนศาสนาและสามัญ ครั้งแรกที่ได้เดินทางมาถึง ก็รู้สึกตื่นเต้นเพราะได้ขึ้นรถไฟเดินทางไกลครั้งแรก และที่ตื่นเต้นกว่านั้น ก็คือการใช้ภาษามลายูของคนในสามจังหวัด จึงทำให้ผมเริ่มศึกษาภาษามลายูตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตอนที่มาอยู่ใหม่ๆ ก็รู้สึกแปลกใจที่เห็นชาวไทยพุทธ พูดภาษามลายูกัน ส่วนผมเองที่เป็นมุสลิมกลับพูดมลายูไม่เป็นและไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด พอได้คุยกันเป็นภาษาไทย ก็จึงได้รู้และเข้าใจว่าทำไมชาวไทยพุทธสามารถพูดมลายูได้ แม้แต่เจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ก็ยังสามารถพูดภาษามลายูได้อย่างดี พวกเขาต่างใช้ชีวิตร่วมกันกับสังคมมุสลิมเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นพี่น้องกัน ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ช่วยกันปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของคนในหมู่บ้าน ซึ่งในอิสลามเอง ก็ได้สอนไว้อย่างมากมายถึงเรื่องการใช้ชีวิตในสังคม โดยเฉพาะการให้การเคารพและทำดีกับเพื่อนบ้าน จนถึงขึ้นว่าจะรับมรดกกันได้ และมีหลักคำสอนอีกมากมาย ที่อิสลามได้สอนไว้ ผ่านอัลกุรอานและฮาดีษนบี ทั้งในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับอัลลอฮ์และการสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน

บรรยากาศดี ๆ และความสวยงามทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคใต้ของไทย จึงทำให้ชาวต่างชาติรวมถึงคนไทยในทุกภาคอยากมาเที่ยวชมกัน ได้มาสัมผัสความน่ารักความอบอุ่นของพี่น้องชาวไทยในภาคใต้ โดยเฉพาะสังคมมุสลิมที่ใช้ภาษามลายู

แต่สิ่งดี ๆ กำลังจะถูกทำลายไป โดยผู้ไม่หวังดีที่ต้องการทำลายล้างสร้างความวุ่นวายหายนะให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งก็มีสาเหตุปัจจัยมากมายที่นำไปสู่ปัญหาและความวุ่นวาย มีการตั้งข้อสันนิษฐานต่าง ๆ นานา มีการอ้างศาสนาอ้างประวัติศาสตร์ความเป็นมา หรือผลประโยชน์ทางการเมือง เพื่อนำมาเป็นประเด็น เป็นชนวนในการก่อความไม่สงบ มีการจัดและทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลจากภาครัฐ เพื่อมาแก้ไขปัญหาความวุ่นวาย แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งเหยิง ยิ่งเจรจาก็ยิ่งหาข้อยุติไม่ได้ เหมือนให้ยารักษาไม่ถูกโรค ในแต่ละวันมีข่าวการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หลายครอบครัวต้องสูญเสียเสาหลัก เป็นแม่หม้าย เป็นเด็กกำพร้า เป็นคนพิการ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ข้าราชการ ทหารตำรวจ ซึ่งก็ไม่มีใครหน้าไหนต้องการให้เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัว 

ประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันในนาม ขวานไทย ด้วยรูปร่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นรูปขวาน และมีภาคใต้เป็นเสมือนด้ามขวานไทย มีภาคเหนือภาคอีสานเป็นเสมือนหัวขวาน ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยมีพลังความเข้มแข็งทั้งด้ามขวานและหัวขวาน คนไทยทุกคนต้องมาร่วมกันปกป้องคุ้มครอง อย่าปล่อยให้ใครมายุแหย่ สร้างความร้าวฉานให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองไทย ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเสถียรภาพความมั่นคงปลอดภัยเพราะมีพระมหากษัตริย์ที่คอยดูแลห่วงใยประชาราษฎร์ ให้การโอบอุ้มคุ้มครองทุกศาสนาบนแผ่นดินไทย ซึ่งไม่เหมือนชาติอื่นใดในโลก

ประเทศไทยเป็นที่รักและหวงแหนของคนไทยทุกคน มาร่วมกันดุอา ขอต่ออัลลอฮ์..เพื่อให้แผ่นดินนี้เมืองนี้ ได้ผ่านพ้นวิกฤติต่างๆไปได้ด้วยดีไม่มีเหตุร้ายใดๆ เพื่อให้เราได้มีโอกาสทำการอิบาดะฮ์ภักดีต่อพระองค์และดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและปลอดภัย

ไม่มีทฤษฎีใดๆ จะชี้แนะและให้คำแนะนำได้อีกแล้ว.. นอกจากดุอา และรีบเร่งในการเตาบัต ปรับปรุงตนเองเพื่อให้อยู่ในความยำเกรงต่ออัลลอฮ์....

"โอ้อัลลอฮ์ พระองค์คือผู้ทรงไว้ ซึ่งความสงบสุขปลอดภัย และความสงบสุขปลอดภัยที่แท้จริงเป็นของพระองค์และมาจากพระองค์เท่านั้น..

... ขอพระองค์ได้โปรดประทานความช่วยเหลือแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ตั้งมั่นอยู่ความตักวาต่อพระองค์..

.. ขอพระองค์ได้ทรงฮิดายะฮ์ ประทานทางนำให้กับบรรดาผู้หลงผิด และคิดร้ายทั้งหลาย.. เพื่อให้เขาได้รับทางสว่างและห่างไกลจากความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง

.. ขอพระองค์ทรงประทานความรักความห่วงใยให้เกิดขึ้นในหัวใจของฉันและหัวใจของมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อให้มนุษย์ได้มีความรักความเมตตาต่อกันและกัน อันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ เพราะพระองค์คือผู้ทรงยิ่งในความเมตตาและกรุณาปราณีเสมอ

.. ขอพระองค์ทรงให้ฉันได้ยึดมั่นอยู่ในศาสนาของพระองค์ และให้ฉันได้จบชีวิตลงในขณะที่หัวใจเต็มเปี่ยมด้วยความรักและความกลัวต่อพระองค์..

... ซอลาวาตและสลามจงมีแด่ท่าน ซัยยิดินาว่ะเมาลานามูฮำมัด และบรรดาเครือญาติ และบรรดาซอฮาบะห์ของท่าน... อามีน ยาร๊อบบัลอาล่ะมีน"

พรบ.ชาติพันธุ์ แฝงนัยยะทำประเทศแตกแยก

พรบ.ชาติพันธุ์ แฝงนัยยะทำประเทศแตกแยก

สอดใส้แนวคิด RSD (Right to Self-determination) นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน รัฐปกครองตนเอง

RSD (Right to Self-determination) อาจไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในประเทศไทย แต่สำหรับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ต่างทราบกันดีว่า RSD ถูกขบวนการก่อการร้าย และแนวร่วมขบวนการนำมาใช้ต่อสู้สู่แนวคิดการแบ่งแยกดินแดน แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ เป็นเพียงความคิดเพ้อฝันของกลุ่มขบวนการเองที่ใช้เป็นข้ออ้างในการก่อเหตุต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์

แต่ล่าสุดถูก ส.ส. ที่คนในพื้นที่มองว่าให้การสนับสนุนกลุ่มขบวนการก่อการร้ายนำเข้าไปพูดในสภา อีกทั้งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังสร้างความแตกแยกไปทั่วประเทศ โดยใช้วาทกรรมสวยหรูอ้างกลุ่มชาติพันธุ์ ผลักดัน พรบ.ชาติพันธุ์ ที่มีนัยยะแอบแฝง สอดใส้แนวคิด RSD โดยใช้กลุ่มชาติพันทางภาคเหนือของไทยบังหน้า แต่จุดประสงค์คือนำไปใช้สนับสนุนแนวคิดแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย

อีกหนึ่งข้อสังเกตุกลุ่มที่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนจะพยายามสร้างวาทกรรม ใช้คำว่า ป_ตานี เพื่อพยายามสร้างตัวตนเพื่อเป็นการไม่ยอมรับความเป็นไทย ซึ่งคำว่าป_ตานี นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ทั้งไทยและมาเลเซียได้ให้การยืนยันตรงกันว่าไม่เคยมีมาก่อน เป็นคำที่พึ่งเกิดขึ้นในภายหลัง ที่ถูกเริ่มนำมาใช้โดยกลุ่มขบวนการกลุ่มผู้ก่อการร้าย BRN และกลุ่มแนวร่วม

สิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง หรือ RSD (Right to Self-determination) สิทธิดังกล่าวเคยถูกบรรจุไว้ในสหประชาชาติ ครั้งแรกคือมติที่ 1514 (XV) ลงวันที่ 14 ธ.ค. ค.ศ.1960 เรื่อง “การให้เอกราชแก่ดินแดนอาณานิคม” (Declaration on the Granting of Independence to Colonial Countries and Peoples) และปัจจุบันถูกกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ นำมาใช้ในการขับเคลื่อน บิดเบือนข้อมูล ใช้เป็นแนวทางการต่อสู้เพื่อเอกราช ทั้งๆที่ความต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดนนั้นเป็นเพียงความคิดของกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน ไม่ใช่เป็นความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้นที่ และความจริงแล้วนั้นคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ต่างใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขไม่ว่าจะเป็นพี่น้องไทยพุทธไทยมุสลิมก็ตาม

ต่างมีความเป็นอยู่ มีสิทธิต่างๆไม่ได้ต่างไปจากคนพื้นที่อื่นๆในประเทศไทย และไม่มีความคิด ความต้องการ ที่จะแบ่งแยกดินแดนหรือต้องการเอกราชใดๆ เลย แม้แต่น้อย

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ความเจ้าเล่ห์สองหน้าของ เขมร ฮุน เซน กับกลุ่ม BRN ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ความเจ้าเล่ห์สองหน้าของ เขมร ฮุน เซน กับกลุ่ม BRN ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ในโลกที่เต็มไปด้วยการหลอกลวงและการบิดเบือนความจริง เรามักพบว่าผู้นำเผด็จการและกลุ่มก่อการร้ายต่างมีลักษณะนิสัยบางประการที่คล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาด ไม่ว่าจะเป็นความเจ้าเล่ห์ หลอกลวง ใช้เล่ห์กลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่สนใจความสูญเสียของผู้บริสุทธิ์ — นี่คือจุดร่วมที่ชัดเจนระหว่าง สมเด็จฮุน เซน อดีตผู้นำเผด็จการแห่งกัมพูชา กับกลุ่มก่อการร้าย BRN ที่ก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ฮุน เซน : สัญลักษณ์ของอำนาจนิยมและความเจ้าเล่ห์

ฮุน เซน เป็นผู้นำที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยวิธีการบิดเบือนหลักประชาธิปไตย ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และแต่งตั้งเครือญาติขึ้นสู่อำนาจ ไม่ต่างจากการสืบราชบัลลังก์ทางการเมือง หลังจากรัฐประหารนองเลือด เขาใช้เล่ห์เหลี่ยมกดดันให้ สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ต้องออกนอกประเทศ และบีบให้กัมพูชากลายเป็นสมบัติเฉพาะกลุ่มของตน ภายใต้หน้ากากของ "เสถียรภาพ" แต่เต็มไปด้วยการกดขี่ การควบคุมสื่อ และการใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ

BRN : จอมหลอกลวงในนามศาสนา

ในทำนองเดียวกัน กลุ่มก่อการร้าย BRN ที่อ้างตนว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ กลับเต็มไปด้วยความโหดเหี้ยม ป่าเถื่อน และขาดความเมตตา พวกเขาใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างเพื่อก่อความรุนแรง สังหารพระภิกษุ เณร ผู้นำศาสนาอิสลาม หญิงชรา เด็กเล็ก และประชาชนผู้บริสุทธิ์ เพียงเพื่อสร้างความหวาดกลัวและหวังผลทางการเมือง กล่าวอ้างว่าเป็น ญีฮาด ทั้งที่ความจริงนั้นไม่มีหลักศาสนาใดให้การรับรอง โดยเฉพาะ กลุ่มอูลามะโลก, OIC และ จุฬาราชมนตรีแห่งประเทศไทย ล้วนยืนยันแล้วว่า พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ไม่ใช่ดารุลฮัรบี” เพราะประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และรัฐยังให้การสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาอย่างเต็มที่

หน้ากากแห่ง "สันติภาพ" ที่เต็มไปด้วยการหลอกลวง

ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาทางการเมืองกับฮุน เซน หรือการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่ม BRN ล้วนเป็นเพียง "กลยุทธ์ชั่วคราว" เพื่อบิดเบือนความจริง ทั้งสองฝ่ายต่างมีพฤติกรรมซ้ำซาก คือ แสร้งทำเป็นร่วมมือเพื่อสันติ ขณะเดียวกันก็ใช้เบื้องหลังในการวางแผนทำลาย และผลักดันเป้าหมายส่วนตัว กลุ่ม BRN ยืมศาสนาเป็นฉากหน้า ใช้ชาวบ้านเป็นโล่มนุษย์ ซ่อนตัวตามมัสยิดหรือในชุมชน แล้วกล่าวหาว่ารัฐกระทำเกินกว่าเหตุ เช่นเดียวกับฮุน เซน ที่ใช้คำว่าความมั่นคงและความสงบสุขมาหลอกลวงประชาคมโลก แต่กลับปิดปากประชาชนภายในประเทศด้วยกำลังและการคุกคาม

สรุป : ความจริงใจไม่มีในพจนานุกรมของคนเหล่านี้

ในขณะที่ประชาชนต้องการสันติสุขและการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ แต่คนเจ้าเล่ห์อย่างฮุน เซน และกลุ่มก่อการร้าย BRN กลับเดินเกมด้วยความเห็นแก่ตัว เอาประชาชนเป็นเหยื่อ ใช้ศาสนาและวาทกรรมความยุติธรรมบังหน้า ความจริงใจที่แท้จริงนั้นไม่มีอยู่ในพจนานุกรมของคนเหล่านี้

จอมลวงโลก...ก็คือจอมลวงโลก

การเจรจากับพวกนี้มีแต่จะตกเป็นเหยื่อของกลอุบาย

และคนที่ต้องเจ็บปวดที่สุด...ก็คือประชาชนผู้บริสุทธิ์

****************

ความรุนแรงปะทุรอบใหม่ สะท้อนทางตันของกระบวนการสันติภาพ

ความรุนแรงปะทุรอบใหม่ สะท้อนทางตันของกระบวนการสันติภาพ

ตลอดเดือนเมษายน 2568 ที่ผ่านมา พื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา กลับเข้าสู่วงจร ความรุนแรง ที่ปะทุอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง — จากเหตุการณ์ ลอบยิงอุสตาซในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส, การวางระเบิดในเขตชุมชน รวมไปถึง เหตุการณ์สะเทือนใจยิงสามเณรขณะออกบิณฑบาต ในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

จนนำไปสู่เสียงประณามกว้างขวางจากสังคมไทยทั้งพุทธและมุสลิม

กระแสสังคมในห้วงนี้ ไม่เพียงแต่เรียกร้องให้หยุดยั้งการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนและกลุ่มเปราะบางเท่านั้น แต่ยังได้เห็น ชาวพุทธในพื้นที่ รวมถึงเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ (B4P) ออกมาแสดงจุดยืน เรียกร้องให้รัฐไทยตั้งโต๊ะเจรจาสันติสุขโดยเร็ว สะท้อนความอึดอัดใจของชุมชนที่ต้องตกอยู่ในความหวาดกลัวซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่เห็นหนทางคลี่คลายจากภาครัฐ

ความเงียบของโต๊ะเจรจา และสัญญาณจากสนามปฏิบัติการ

นับตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลสู่ยุคของ นายเศรษฐา ทวีสิน และต่อเนื่องมายัง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร การจัดตั้งคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขยังคงไม่มีความชัดเจน แม้มีเสียงย้ำจากรองนายกฯ และ รมว.กลาโหมอย่าง นายภูมิธรรม เวชยชัย ว่ามีความตั้งใจจะเดินหน้ากระบวนการพูดคุย

แต่ในขณะที่ฝั่งรัฐบาลยังไม่เร่งรัดฟื้นการเจรจาให้เห็นเป็นรูปธรรม กลับมี สัญญาณตอบโต้ด้วยอาวุธ จากกลุ่มฝ่ายตรงข้ามในพื้นที่ ที่พยายาม “ส่งเสียง” ว่าการไม่มีโต๊ะเจรจานั้นเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรงซ้ำซ้อน — ข้อมูลจากหลายเหตุการณ์ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มเป้าหมายของการก่อเหตุรุนแรงครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ หากแต่เล็งไปยัง กลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้นำศาสนา พระ และสามเณร ซึ่งเป็นภาพที่บีบหัวใจสังคมยิ่งนัก

สันติภาพจะไปทางไหน หากการเมืองยังนิ่งเฉย?

สถานการณ์ในปาตานีเวลานี้สะท้อนให้เห็นปัญหาใหญ่ 3 ประการ:

 1. โต๊ะเจรจาที่ว่างเปล่า: แม้จะมีฝ่ายอำนวยความสะดวกอย่างมาเลเซีย แต่หากรัฐบาลไทยไม่มีตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการ กระบวนการพูดคุยก็ไม่อาจเดินหน้าได้จริง

 2. ความไม่ไว้วางใจที่ลึกซึ้ง: ความไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของรัฐและการใช้กฎหมายพิเศษ ทำให้ประชาชนจำนวนมากในพื้นที่ยังรู้สึกว่า “เสียงของพวกเขาไม่ถูกได้ยิน” และ “ชีวิตของพวกเขาไม่มีความหมายในสายตารัฐ

 3. ความรุนแรงตอบโต้ที่สุ่มเสี่ยงบานปลาย: เหตุยิงสามเณร ไม่เพียงทำลายชีวิตและจิตใจ แต่ยังปลุกปั่นอารมณ์ความโกรธเกลียดระหว่างชุมชนพุทธ-มุสลิม หากไม่มีการฟื้นเจรจา และปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปเช่นนี้ต่อไป โอกาสปะทุของความขัดแย้งระหว่างประชาชนเองมีความเป็นไปได้สูงขึ้น

เสียงของชาวพุทธในปัตตานี: จุดเปลี่ยนที่รัฐต้องรับฟัง

สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในสถานการณ์รอบนี้ คือ การที่ชาวพุทธในพื้นที่ลุกขึ้นออกมาเรียกร้องให้รัฐเร่งตั้งโต๊ะเจรจา แทนที่จะสนับสนุนการปราบปรามด้วยกำลังเพียงอย่างเดียว นี่คือสัญญาณที่ชัดเจนว่าความรุนแรงไม่ใช่คำตอบ และแม้แต่ประชาชนที่อยู่ในสถานะ “ชนกลุ่มน้อย” อย่างชาวพุทธในปัตตานีเอง ก็ยังเลือกที่จะ หนุนกระบวนการสันติภาพมากกว่าทางทหาร

บทสรุป: สันติสุขต้องเริ่มที่ความกล้าคุยกันจริง

คำถามใหญ่ในเวลานี้คือรัฐบาลชุดนี้กล้าพอหรือไม่ ที่จะเดินหน้าฟื้นการพูดคุยอย่างจริงใจ?ไม่ใช่เพียงการตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้หน้า หากแต่ต้องพร้อมที่จะฟังเสียงประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

เพราะหากไม่มีโต๊ะเจรจา และหากการเมืองยังคงเลือก “นิ่งเฉย” ในขณะที่ปืนยังลั่นอย่างต่อเนื่อง — ก็ยากจะคาดหวังได้ว่า “สันติภาพ” จะเดินทางไปถึงที่หมายในเร็ววัน.