อิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติภาพที่ยึดมั่นในหลักความยุติธรรม
และการปกป้องเกียรติยศของศาสนาและผู้ศรัทธา การทำญีฮาด
(การต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า) ตามแนวทางที่แท้จริงนั้น
มิใช่การรุกรานหรือทำร้ายผู้คนที่มีความเชื่อต่างศาสนา แต่เป็นการต่อสู้เพียงเมื่อจำเป็นเท่านั้น
กล่าวคือ หลังจากที่ได้ใช้ทุกหนทางเพื่อการเจรจาสันติภาพแล้ว
และเมื่อเผชิญกับการกดขี่
การรุกรานอย่างชัดเจน การทำสงครามจึงได้รับอนุญาตเพื่อปกป้องตนเอง
และเพื่อปราบปรามความอธรรม ไม่ใช่เพื่อการขยายอำนาจหรือทำลายผู้บริสุทธิ์
หลักเกณฑ์ในการทำสงครามในอิสลามมีเงื่อนไขสำคัญ
ได้แก่:
- สามารถทำสงครามได้เฉพาะกับ
"ดารุลฮัรบี" (ดินแดนที่ประกาศสงครามกับอิสลาม
และปฏิเสธการอยู่ร่วมอย่างสันติ)
- ต้องอยู่ภายใต้การประกาศอนุมัติจากผู้นำศาสนาที่มีอำนาจชี้ขาด
- ต้องไม่ทำร้ายผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบ
เช่น สตรี เด็ก คนชรา พระภิกษุสงฆ์ ผู้นำศาสนาอื่น ๆ
- ต้องไม่ทำลายสถานที่สาธารณะหรือศาสนสถาน
- การทำสงครามเป็นการตอบโต้การรุกรานหรือความอธรรม
ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือกลุ่ม
ประเทศไทยในบริบทของอิสลาม
ประเทศไทยเป็นดินแดนที่ปกครองด้วยระบอบที่ยึดหลักคุณธรรม
มีเสรีภาพในการนับถือและปฏิบัติศาสนาอย่างกว้างขวาง
ไม่มีการกดขี่ข่มเหงศาสนาอิสลามหรือผู้นับถือศาสนาใด ๆ
ดังนั้น
ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็น "ดารุลฮัรบี"
ตามนิยามทางศาสนา และไม่เข้าเกณฑ์ที่อนุญาตให้มีการทำญีฮาดในรูปแบบสงครามได้
การบิดเบือนและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับญีฮาด
ในกรณีที่มีผู้ก่อการร้ายอ้างตนว่ากำลังทำญีฮาดในประเทศไทย
นั้นคือการบิดเบือนหลักการศาสนาอย่างร้ายแรง การกระทำดังกล่าวถือเป็นการหลงผิด
และเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ศาสนาอิสลามเอง หากบุคคลเหล่านี้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ก็ถือว่าพวกเขาเสียชีวิตในฐานะผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่ "ชะฮีด"
(ผู้เสียชีวิตในหนทางของพระเจ้า) ตามหลักศาสนาที่แท้จริง
สรุป
การทำญีฮาดที่แท้จริง
คือการยืนหยัดต่อสู้เพื่อความยุติธรรม
ปกป้องผู้บริสุทธิ์ รักษาความสงบเรียบร้อย
และต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดตามคำสั่งของศาสนา มิใช่การใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความวุ่นวายหรือการก่อการร้ายในสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น