วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ศาสนา ครรลองธรรมของมนุษย์เพื่อมนุษย์

ศาสนา” ครรลองธรรมของมนุษย์ เพื่อมนุษย์

ในสภาพสังคมของมนุษย์ ที่การดำเนินชีวิตมีความซับซ้อน และหลากหลาย จนอาจเลยเถิดจาก ศีลธรรมและจริยธรรมได้ จะส่งผลให้ผู้คนห่างไกลจากคําสอนของศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ปัจจุบันหรือยุคที่มีการสื่อสารข้อมูลกันอย่างรวดเร็ว เป็นสังคมออนไลน์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนในยุคนี้ไปแล้ว ผู้คนต่างมีช่องทางในการแสดง ตัวตน แสดงความคิดเห็นอย่างรวดเร็วกันมากขึ้น โดยอาจจะไม่คํานึงตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่มาให้ ถูกต้องหรือชัดเจนเสียก่อน จึงทำให้มีการแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายความคิดหรือต่างที่มา ทั้งนี้จึง ส่งผลให้คนในสังคมต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายให้ได้

ดังนั้น เมื่อพูดถึงเร่ืองการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย อาจฟังดูเหมือนเป็นเร่ืองเก่าที่มีการพูดคุยกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ยังเป็นเร่ืองที่มีประเด็นใหม่ ๆ ออกมาให้ได้พูดคุยกันอยู่เสมอ การที่คนใน สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้บนความหลากหลายได้อย่างสงบสุขนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นเครื่องยึดเหนียว หรือแนวคิดที่หล่อหลอม ส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกในสังคมของแต่ละบุคคล ซึ่งในมุมมองของ ผู้เขียนเอง หนึ่งในเครื่องยึดเหนียวที่มีประสิทธิภาพคือศาสนา คําสอนของศาสนาสามารถขัดเกลาให้ผู้ที่ นับถือได้ปฏิบัติตามหรือมีความคิดและแสดงออกถึงพฤติกรรมอันดีงาม จะทำให้การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน และก่อให้เกิดสังคมอย่างสงบสุข

ผู้เขียนเล็งเห็นว่า คําสอนในศาสนามีความใกล้เคียงกับธรรมชาติของมนุษย์ และสามารถยับยั้ง กิเลสหรือความคิดไม่ดีที่อยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ได้ ในความเห็นของผู้เขียน ศาสนาเป็นจึงเครื่องมือที่ คอยย้ำเตือนให้เราสํารวจตัวเองก่อนที่จะสํารวจผู้อื่น อันเห็นได้จากหลักคําสอนของศาสนาอิสลามที่ ผู้เขียนนับถือดังต่อไปนี้

เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural society) เป็นสังคมที่ประกอบด้วย กลุ่มชนที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ภาษา การแต่งกาย การเป็นอยู่ เป็นต้น เพราะแต่ละกลุ่มชนมีความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การที่จะทำให้แต่ละคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันได้ จะต้องมีการพึ่งพาช่วยเหลือกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายกัน ไม่จนถึงไม่ละเมิดสิทธิ์ของกันและกัน แต่ละกลุ่มชนสามารถประกอบพิธี ทางศาสนาได้ตามความเชื่อและศรัทธาของตนเองอย่างเสรีภาพ โดยที่ไม่มีการกีดกัน ก้าวกาย ล่วง ละเมิด หรือก่อกวนซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้ อย่างสันติ

อิสลามมีคําสอนที่ได้กําชับมุสลิม ไว้ว่าต้องให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ในทุกศาสนาและความเชื่อ โดยให้ระมัดระวังต่อการไปบริภาษ กล่าวตําหนิ ติเตียน การด่าท่อ การเหยียดหยามต่อความเชื่อศาสนาอื่น เพราะนั้นถือเป็นการแสดงออกถึงความไม่ให้เกียรติกันและเป็นการขัดต่อคําสอนอย่างชัดเจน

ดังพระองค์อัลเลาะห์ ตะอาลา ทรงตรัสความว่า : “และพวกเจ้า จงอย่าได้ด่าทอบรรดาสิ่งที่พวกเขาวิงวอนขอ จากสิ่งที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ เพราะพวกเขาจะด่าทออัลลอฮ์อย่างละเมิด โดยปราศจากความรู้ใด ๆ ” (บทอัลอันอาม,โองการท่ี 108)

นอกจาก การที่อิสลามได้สอนมุสลิมในเร่ืองการเคารพสิทธิการนับถือศาสนา และให้เกียรติแก่เพื่อนมนุษย์แล้ว อิสลามยังส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมในการทำดีแก่มนุษย์ทุกคนด้วยเช่นกัน ดังพระองค์อัลเลาะห์ ทรงตรัสความว่า: “อัลเลาะห์ มิได้ทรงห้ามพวกเจ้า เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเร่ืองศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลเลาะห์ทรงรักผู้มีความยุติธรรม”: (บทอัลมุมตะหินะฮฺ โองการที่ 8)

หากเราลองย้อนกลับไปดูแบบฉบับอันดีงามของท่านนบีมูฮําหมัด ที่ได้กระทำเป็นแบบอย่าง ท่านนบีฯ มีการดะวะห์ (เผยแพร่) ด้วยกับฮิกมะห์ (การใช้วิทยปัญญา) ในด้านการกระทำที่ดีงามมากว่าคําพูด ท่านไม่เคยสอนให้เราบริภาษ หรือตําหนิติเตียนเทศกาลของศาสนาอื่น กลับกันท่านยังให้เกียรติความเชื่อที่แตกต่างอีกด้วย

ตัวอย่างแห่งความดีงาม เช่น เมื่อครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าในขณะที่ขบวนแห่ศพของชายชาวยิวได้ผ่านมา ท่านนบีมูฮำหมัด ได้ยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติแก่ศพนั้น อัครสาวกท่านหนึ่งจึงได้กล่าวกับท่าน ศาสดาว่า “ศพที่ผ่านไปนั้นเป็นศพของชายชาวยิว!” ท่านศาสดาจึงได้ตอบไปว่า “ชาวยิวไม่ใช่มนุษย์ ดอกหรือ!” และท่านศาสดายังได้กําชับแก่อัครสาวกว่า เมื่อพวกท่านเห็นศพผ่านมา ก็จงยืนขึ้นเถอะ

มุสลิมหลายคนเคร่งครัดในเร่ืองศาสนาถือเป็นเร่ืองที่ดี เเต่บางคนขาดความรู้ในเรื่องบริบทการ อยู่ด้วยกันแบบสังคมพหุวัฒนธรรม ฉะนั้นแล้วจะทำอะไรต้องคิดไตร่ตรองให้รอบครอบเพราะแท้จริง พระองค์อัลเลาะห์ ตะอาลา ทรงรักบุคคลที่รอบคอบ

เพราะเรามิใช่ผู้พิพากษา

การเป็นผู้พิพากษาในที่นี่ จะสะท้อนถึงสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน ที่มีสื่อสังคมออนไลน์ หรืออินเตอร์เน็ต ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ของผู้คนมากขึ้น ทำให้การสื่อสารเป็นไปด้วยความ สะดวกสบายและรวดเร็ว แทบจะกลายเป็นช่องทางหลักในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือติดตามความเคลื่อนไหวของสังคม

ผู้เขียนเห็นว่า การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่ายขึ้น และในทุกช่องทางเช่นนี้ เป็นสิ่งที่เอื้อให้เรา กลายเป็นผู้พิพากษาได้ง่ายขึ้น ซึ่งเราเองอาจไม่ได้เข้าไปในฐานะคนเสพสื่อเพียงอย่างเดียว แต่มีโอกาส ประพฤติตัวเป็นผู้ตัดสินคนอื่น หรือถูกตัดสินได้ทุกเมื่อเช่นกันในสนามสังคมออนไลน์ เพราะคนส่วนใหญ่ มี social network อยู่ในมือ มีการตัดสินจากข้อคิดเห็นคําวิจารณ์กันอย่างสนุกปาก ความเสรี โดยไม่ต้องมีตัวตน ที่ชัดเจนในสื่อออนไลน์หลายครั้ง นํามาซึ่ง “สงครามน้ำลาย” ที่เต็มไปด้วยอารมณ์และการใส่ร้าย ป้ายสีกันไปมา ได้ในทุกหัวข้อสนทนา บางครั้ง ถึงขั้นเลยเถิดไปเป็นการด่าทอกันมากกว่า จะเป็นการแสดงออกทางความคิดบนฐานของเหตุผล

โดยเมื่อมีการแสดงความคิดเห็นเชิงตัดสิน เราจะเห็นพื้นฐานข้อมูล ของแต่ละบุคคลที่ได้รับมา จากความเห็น ชุดความคิด บรรทัดฐานของตนเอง หรือคําบอกเล่าของผู้อื่นแล้ว ทำการตัดสินหรือไม่เสีย เราก็จะกลายเป็นผู้ที่ถูกตัดสิน โดยผู้อื่นด้วยวิธีการดังกล่าวได้อย่างง่ายด้ายเช่นกัน

และเหตุการณ์เช่นนี้ มักมีให้เห็นอยู่เสมอ ตามสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งมีไม่น้อยที่ชีวิตคน ๆ หนึ่ง ต้องประสบณ์กับความทุกข์ยากมากมาย อันเกิดมาจากการถูกกล่าวหาหรือตัดสินเพียงผิวเผิน ผู้เขียน จึงตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ สํารวจตนเองก่อนที่จะสํารวจผู้อื่น จึงได้หาเครื่องยึดเหนียวและเครื่องเตือนใจในการดำรงชีวิต ซึ่งที่สิ่งที่ผู้เขียนใช้เตือนตนเองอยู่เสมอ คือหลักคําสอนของศาสนาที่ท่านนบีมูฮําหมัด ทรงกล่าวความว่า : “คนหนึ่ง จะไม่ใส่ร้ายอีกคนหนึ่งด้วยความชั่ว และจะไม่ใส่ร้ายเขาด้วยการตัดสินเขา ตกเป็นกาฟิร(คนนอกศาสนา) นอกจากข้อหานั้นมันจะย้อนกลับสู่ตัวเขาเอง หากผู้ถูกใส่ร้าย มิได้เป็น เช่นนั้น” หะดีษศอฮิห์ อิหม่ามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 5585.

คําสอนนี้เป็นสิ่งที่คอยเตือนใจ ให้เราสํารวจและดึงตัวเองกลับมา เมื่อเราเริ่มรู้ตัวว่า เรากําลังตัดสินคนใดคนหนึ่งอยู่ จากคํากล่าวของท่านศาสดามูฮําหมัด จึงเป็นเครื่องที่คอยย้ำเตือนได้เสมอว่า เราไม่มีสิทธิ์อันชอบธรรมใด ๆ เลย ที่จะไปกล่าวหาผู้อื่น และความผิดบาปนั้น จะย้อนกลับมาสู่ตัวเราเอง

หากสิ่งที่เรากล่าวหาผู้อื่นนั้น ไม่เป็นความจริง คําสอนนี้ เป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้คน ๆ หนึ่งกลายเป็นคนที่มีจรรยามารยาทอันดีงาม และหากผู้คนในสังคมต่างตระหนักได้ถึงข้อนี้ ก็จะเป็นการจรรโลงสังคมให้เกิดความสงบสุขได้

สื่อสังคมออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ที่ดี หลายคนได้ความรู้ใหม่ จากสื่อสังคมออนไลน์ ทุกประเด็นที่เกิดการถกเถียงได้ถือเป็นเรื่องดี แต่นั่นต้องมีความรู้ที่ถูกต้องและแย้งกันด้วยข้อมูลบนพื้นฐานความเป็นจริง หากมองกันอย่างเปิดตาและเปิดใจ จะเห็นว่าการถกเถียงบนโลกออนไลน์คล้ายงานศิลปะ ที่ทำให้เรามองเห็นแถบสีของความคิดความต่างในแต่ละบุคคล การรู้เท่าทันตนเองว่า มีพื้นฐานความเชื่อ ความคิดเห็นอย่างไรและมีความต่างจากคนอื่นด้วยเหตุใด อาจช่วยลดอัตตาของตนเองให้น้อยลง และเปิดรับความเห็นต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งจะนําไปสู่การตกผลึกทางความคิดที่จะเป็นประโยชน์ ให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางท่ีดีขึ้น และเป็นแนวทางที่ช่วยให้คนไทย สามารถตั้งรับกับสภาพสังคม ที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม และมีความแตกต่างขัดแย้งทางความเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การให้อภัยคือของขวัญแก่เพื่อนมนุษย์

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย ทั้งความเชื่อ ความคิด ภาษา และ วัฒนธรรม ก็ย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการอยู่ร่วมกันที่อาจเกิดความไม่เข้าใจ อาจเกิดการละเมิด อธรรมต่อกัน หรือเกิดการกระทบกระทั่งกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการให้อภัย คือสิ่งเดียวที่จะทำให้สังคมมนุษย์น่าอยู่มากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า “คนที่ให้อภัยก็มีความสุข และคนที่ได้รับการให้อภัย ก็มีความสุขเช่นเดียวกัน

ศาสนาอิสลาม ถือว่าการให้อภัยเป็นคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ นับเป็นผลพวงประการหนึ่งของความศรัทธาในอิสลาม ที่มีความประเสริฐมากมาย เมื่อการให้อภัยแผ่กระจายออกไปจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ส่งผลให้เกิดความรักและการเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ดังที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงยกย่อง และชื่นชมผู้ที่ ให้อภัยว่า พระองค์จะทรงรักเขา ดังที่ได้ทรงตรัสไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน ความว่า : "จงอภัยให้พวกเขาเถิด และจงละวาง (จากการถือโทษโกรธเคือง) พวกเขา เเท้จริงอัลเลาะห์ ทรงรักบรรดาผู้ประพฤตดี" (บทอัลมาอิดะฮ์,โองการท่ี13)

ตัวอย่างของการให้อภัยของท่านนบีมูฮําหมัด โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีที่ 10 ของการถูกแต่งตั้งเป็นรอซูล นับเป็นปีแห่งความโศกเศร้าของท่าน เนื่องจากพระนางคอดีญะฮ์ ผู้เป็นภรรยา และท่านอบูตอลิบ ผู้เป็นลุง ที่ได้ให้การอุปการะเสียชีวิตลง

หลังจากนั้น จึงทำให้พวกกุเรช ได้ทำร้ายและขัดขวางท่านหนักข้อมากขึ้น ท่านนบี ฯ จึงพยายาม เดินทางไปยังเมืองฏออีฟ เพื่อให้ชาวเมืองนี้ช่วยเหลือท่าน แต่กลับพบว่า พวกเขาพยายามทำร้ายท่าน อย่างแสนสาหัสหนักหนายิ่งกว่าชาวมักกะฮ์ เสียอีก

ท่านเดินทางมาเพื่อเผยแผ่ศาสนา เรียกร้องเชิญชวนผู้คนสู่การศรัทธาต่อเอกภาพในการเชื่อมั่น ในพระเจ้าองค์เดียว ท่านนบีมูฮําหมัด ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่สุด คือถูกกลั่นแกล้งอย่างหนักหน่วง พวกเขามิใช่เพียงไม่ยอมรับ ซ้ำยังปฏิเสธต่อสิ่งดังกล่าว พูดจาถากถาง ด้วยถ้อยคํา หยาบคาย พร้อมทั้งโห่ไล่ท่านและขว้างปาด้วยก้อนหินใส่ท่านนบีฯ จนศีรษะแตกเลือดโทรมกาย ท่านเดิน ไปบนถนนด้วยความโซซัดโซเซ เจ็บปวด หมดเรียวแรงและในที่สุดท่านนบีฯ ก็ได้ล้มลง ท่านญิบรีล (ทูตสวรรค์) ได้มาหาท่านแล้วกล่าวว่า : “โอ้มุฮัมมัดเอ๋ย หากท่านต้องการที่จะจัดการกับพวกนี้ ข้าจะทำพวกนี้อย่างราบคาบ แท้จริง อัลเลาะห์ทรงได้ยินคําพูดของกลุ่มชนของท่านแล้ว และทราบดี ถึงสิ่งที่พวกเขาตอบโต้ท่าน และพระองค์ส่งฉันมายังท่านแล้ว เพื่อที่จะให้ท่านแก้แค้นได้ตาม ท่านต้องการ” ท่านนบีมูฮําหมัด ทรงตอบว่า : “ฉันหวัง ให้อัลเลาะห์ นําเขาออกมาจากความหลงผิด และสู่การทำอิบาดะห์แด่พระองค์เพียงผู้เดียว โดยไม่ตั้งภาคีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ด้วยความอดทนและความอ่อนโยนของท่าน ท่านกลับให้อภัย ไม่แสดงออกถึงความโกรธเคืองต่อผู้คนที่ทำร้ายท่าน อีกทั้งท่านยังขอดุอา(การขอพร)ให้พระเจ้า ทรงยกโทษให้กับพวกเขาและขอดุอาให้ พวกเขาเข้ารับอิสลาม

ต่อมาชาวเมืองนี้ได้ประจักษ์ถึงความอดทน มารยาทอันดีงามและการให้อภัยของท่าน ในที่สุดพระเจ้าทรงตอบรับดุอา (การขอพร) ทำให้ชาวเมืองนี้ เข้ารับอิสลาม 

และอีกหนึ่งตัวอย่างของการให้อภัย คือการให้อภัยครั้งยิ่งใหญ่ของ ดร.สมบัติ จิตต์หมวด ที่ได้ กล่าวขึ้นกลางศาลของรัฐเคนทักกี ในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปี 2017 ในระหว่างการอ่านคํา พิพากษาบุคคลที่ฆ่าลูกชายเขา (BBC News ไทย, 2017) คุณฐิติพล ปัญญาลิมปนันท์ ผู้สัมภาษณ์ ดร.สมบัติ จิตต์หมวด โจทก์ ในคดีนี้ ได้กล่าวว่า “การยกโทษให้กับผู้ที่ฆ่าลูกชายของเขานั้น ไม่ใช่เร่ืองง่าย แต่เกิดจากศรัทธาในศาสนาอิสลาม ความตั้งใจของคนในครอบครัว และจิตวิญญาณความเป็นครูตลอดชีวิตการทำงาน” และยังได้กล่าวอีกว่า “ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน ปี 2015 จนถึงวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน ปี 2017 นับเป็นเวลาประมาณ 2 ปี 7 เดือน ที่สมาชิกครอบครัวจิตต์หมวด เฝ้ารอคอย ความยุติธรรม มันเป็นธรรมดานะครับกับความเศร้าโศกเสียใจของผม และครอบครัวที่มีขึ้น เนื่องจากการสูญเสียลูกชายที่รักไปอย่างกระทันหัน แต่เราไม่โกรธเลยนะ ถึงสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้น เราจะทำให้สิ่งที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับซาลาฮุดดีนนี้ ส่งผลในแง่บวกมากกว่าที่จะเป็นในทางลบ และเราจะให้อภัยเขา”

และช่วงสุดท้ายของการอ่านคําพิพากษา ดร.สมบัติ จิตต์หมวด ได้เห็นน้ำตาของนักโทษ ก่อนที่จะเดินเข้าไปจับมือสวมกอด และได้พูดกับเขาว่า : “ผมโกรธมารร้ายที่นําพาและชักนําคุณให้ทำอาชญากรรมที่น่ากลัวนี้ ผมไม่โทษคุณ ผมไม่โกรธคุณ ผมให้อภัยคุณ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เป็นไรนะ ไม่ต้อง เสียใจ เพราะว่าคุณพลาดไป แต่คุณมีโอกาสจะมีชีวิตต่อไป ขอให้คุณทำคุณงามความดี และขอให้คุณ คิดถึงพระเจ้ามาก ๆ

จากกรณีการให้อภัยแก่ผู้ที่พรากชีวิตลูกสุดที่รักไปของ ดร.สมบัติ จิตต์หมวด แสดงให้เห็นถึงบทบาทคําสอนของศาสนาที่หล่อหลอมจิตใจ จนสามารถขับเคลื่อนให้คน ๆ หนึ่งทำสิ่งที่เชื่อว่า มีมนุษย์เพียงไม่กี่คนจะทำได้ นั้นคือ การให้อภัยแก่คนที่ฆ่าลูกตัวเอง สิ่งนี้ทำให้ผู้คนได้เห็นว่า คําสอนศาสนาที่ได้กลมกลืน เป็นระบบระเบียบในการดำรงชีวิต สามารถสร้างสิ่งที่สวยงามจรรโลงสังคมนี้ได้อย่างไร

จากเหตุการณ์ทั้งสองนี้ เราจะเห็นได้ว่า สิ่งที้จะเอาชนะ“ความเกลียดชัง” ได้ ก็คือ “การให้อภัย” ในขณะที่เขามีอำนาจที่จะทำการแก้แค้นเอาคืนจากผู้ที่กระทำไม่ดีหรือละเมิดสิทธิของเขาได้ แต่เขากลับ ไม่ถือโทษและให้อภัย สิ่งนี้คือของขวัญที่เขาให้กับตนเองและให้กับบุคคลนั้น

มนุษย์ย่อมมีการคาดหวังว่าผู้อื่น จะไม่ถือโทษและให้อภัยในความผิดของตน หรือให้โอกาสที่จะชดเชย และแก้ไขปรับปรุงความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่า สิ่งนี้คือธรรมชาติที่มีอยู่ในมนุษย์ ดังนั้นการให้อภัย จึงต้องเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน ด้วยการไม่ถือโทษ ให้อภัย และยับยั้งตนจากการคิด แก้แค้นหรือตอบโต้ ความผิดพลาดต่าง ๆ ของผู้อื่น

ผู้เขียนเห็นว่า การดำเนินชีวิตในสังคมโดยการไม่ถือโทษ การมองข้ามความผิดพลาดและการให้อภัยต่อกัน เป็นสิ่งที่มีความจําเป็นอย่างยิ่ง ด้วยกับคุณธรรม ดังกล่าวนี้ จะทำให้ดวงใจทั้งหลาย เกิดความใกล้ชิดต่อกันมากยิ่งขึ้น และพระผู้เป็นเจ้า ก็จะทรงตอบแทนผลรางวัลทางจิตวิญญาณแก่เรา และผู้ใดก็ตามที่ให้อภัย และไม่ถือโทษความผิดพลาดของผู้อื่น พระผู้เป็นเจ้าก็จะทรงเมตตาและจะทรงให้อภัยความผิดบาปของ เขาด้วยเช่นกัน “จงให้อภัยแก่ผู้อื่น แล้วอัลลอฮ์จะทรงให้อภัยแก่เรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น