วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2568

การแห่ศพและการฝังโดยไม่อาบน้ำศพของผู้ก่อการร้าย ฮารอม(ผิด) ตามหลักการศาสนาอิสลาม

     การแห่ศพและการฝังโดยไม่อาบน้ำศพของผู้ก่อการร้าย BRN ฮารอมตามหลักการศาสนา

     อิสลามเพราะพวกเขาไม่ใช่มูญาฮีดีนแต่เป็นผู้บ่อนทำลายทำให้อิสลามเสียหายด้วย

การเอาศพของผู้ก่อการร้าย จะใช้ชื่อ ว่า BRN หรือชื่ออะไรก็ตามเเต่ ที่ก่อเหตุ รุนเเรง ฆ่า ผู้บริสุทธิ์ ทั้งมุสลิมเเละไม่ใช่มุสลิม ทั้ง อุซต๊าซ ครู พระ โต๊ะอีหม่าม เด็ก สตรี ประชาชน ข้าราชการ ที่ไม่ใช่ ทหาร

แล้วมาเที่ยว เดินเเห่งขบวน ปลุกระดม ตักบีร เเล้ว ตามด้วย คำว่า ปาตานี เมอรเเดกอ เเละนำไปฝัง ล่าสุด 2 คนฝั่งหลุมเดียว เเล้วอ้างว่า เป็นมูญาฮีดีน นั้น ถือเป็นการกระทำที่หลงผิด เเอบอ้างคำสอนของอิสลามเเบบผิด เเละสุดโต่ง

เพราะผู้ที่บ่อนทำลายก่อสงคราม ถ้าชีวิตผู้บริสุทธิ์นั้น เขาไม่ใช่ มูญาฮีดีน แต่เป็นเพียงแค่ผู้บ่อนทำลายผู้ก่อการร้ายในทัศนะของอิสลามเท่านั้น

BRN ไม่ต่าง จาก  I S I S สถานะคือ กลุ่มดาอิช กลุ่มคอวาริจ ที่ใช้ความสุดโต่งก่อความรุนแรงและอ้างศาสนา

ปัจจุบันไม่มี อูลามาฮ อาวุโส แม้แต่คนเดียวในโลกอาหรับ หรือที่เป็นอูลามาฮ ที่ถูกยอมรับจากมุสลิมทั่วโลก ว่า 3 จังหวัด สามารถญีฮาดได้ หรือแม้กระทั้งสันนิบาตมุสลิมโลก OIC ก็ยังตำหนิการก่อเหตุรุนแรง ของ BRN

ฉนั้นการแห่ศพดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ ฮารอม ตามนัยฟัตวา ของสำนักจุฬาราชมนตรีผู้นำสูงสุดของมุสลิมไทยในด้านศาสนา

#ปัตตานี ไม่ใช่ ดินเเดนสงคราม (ดารุลฮัรบี) ใครฆ่าผู้บริสุทธิ์ ใครทำลายทรัพย์สิน ในช่วงรอมาฎอน ยิ่งตอกย้ำว่า เป็นการกระทำของ พวก ซาตาน อิบลิส ไม่ใช่เเนวทางของผู้ศรัทธา

รอมาฎอน เป็นเดือนเเห่งความสงบสันติ อย่ามาอ้าง ญีฮาดเเบบผิดๆ ให้มุสลิมไทยคนอื่นๆ เเละอิสลามเสียหายไปด้วย

บาบอ หรือ จูเเว ที่โดนหลอกคนไหน ที่อ้างว่า 3 จังหวัด คือ ดารุ้ลฮัรบีนั้น จงรู้ไว้เถิดว่า พวกเขากำลังบิดเบือนคำสอนอิสลาม เพื่อเเนวทางสุดโต่งของพวกเขา ซึ่งเบื้องหลัง คือการตอบสนองนโยบายของยาฮูด โดยมีรอฟีเฏาะ คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว

ฉนั้น เเนวทางของ พวก BRN หรือจูเเว กลุ่มใดก็ตามเเต่ ที่สอนให้ ฆ่าผู้บริสุทธิ์ ไม่ใช่เเนวทางอิสลาม เเละพวกเขาก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันกับอิสลาม เพราะพวกเขาต่อสู้ เพื่อชาติพันธุ์มาลายู ซึ่งเป็นแนวทางของขัยฏอน ที่เรียกร้องให้คลั้งไคล้ชาติพันธุ์

ไม่ใช่การต่อสู้เพื่ออิสลาม เพราะแนวทางของอิสลามนั้น ย่อมไม่สังหารผู้บริสุทธิ์ และอยู่ในกรอบของกติกาการทำสงคราม ที่ไม่เป็นผู้บ่อนทำลายอย่างเช่นที่ปรากฏอยู่

#ประเด็นที่พวกเขาชอบหยิบยกมาอ้างคือ

เขาหยิบยกเหตุการณ์ สถานการณ์ในยุคแรก 70 กว่าปีที่ผ่านมาขึ้นไป ก็คือในยุคที่ประเทศไทย ยังปกครองด้วยระบอบเผด็จการอย่างยุคสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มีการอุ้มฆ่า ฮัจยี สุหลงฯ อยู่ต่อมาในยุคของ นายควง อภัยวงศ์ หรือไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของ พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัช

โดยเฉพาะในยุคของจอมพล ป .พิบูลสงครามนั้น

อันนี้ก็ต้องยอมรับว่ายุคนั้นรัฐบาล ภายใต้การนำของเผด็จการอย่างจอมพล ป.พิบูล สงคราม ซึ่ง จอมพล ป.พิบูล ฯ อยู่ฝ่ายมหาอำนาจญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยแล้ว โดยถือได้ว่า เป็นยุคที่ประชาชนในประเทศไทยถูกกดขี่อย่างรุนแรง คือรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นรัฐบาลเผด็จการแบบเดียวกับ ฮิตเลอร์ ชาตินิยมสุดโต่ง ที่ไม่ยอมรับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมความเชื่อของศาสนาอื่น วัฒนธรรมอื่นที่อยู่ในผืนแผ่นดินไทย

แม้กระทั้งคนจีนเอง ก็ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างรุนแรงในยุคนั้น และแน่นอนมุสลิมเอง ก็ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างรุนแรงเช่นกัน และเป็นช่วงที่ บังเกิดผู้รู้ที่ทรงคุณค่าท่านหนึ่งของดินแดนปัตตานีในยุคนั้น ก็คือ ฮัจยีสุหลงฯ (เรื่องราวของฮีจยี สุหลง วันหลังผมจะมาลงรายละเอียดอีกทีนึง)

เดิมที่ฮัจยีสุหลง คืออูลามาฮคนหนึ่ง ที่ต้องการกลับมาฟื้นฟูอิสลามในดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุคนั้น เพราะในยุคนั้นคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่าง อยู่กับเรื่องงมงาย เรื่องชีริกอยู่กับพิธีกรรมเรื่องพวกภูตผี เจ้าที่เจ้าทางเยอะ จึงต้องการกลับมาปฏิรูปสังคมมุสลิมให้กลับไปหาอิสลามที่บริสุทธิ์ให้มากขึ้น

จึงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณทางด้านศาสนาของพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีด้วย

ฮัจยีสุหลงฯ เห็นว่าประชาชนในพื้นที่ โดนกดขี่ข่มเหงทางด้านศาสนา จากภาครัฐอย่างไม่เป็นธรรม จึงได้มีการยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่า ตอนนั้นฮัจญีสุหลง ไม่ได้มีกองกำลังและไม่ได้มีกระบวนการเหมือน BRN ในปัจจุบัน

ท่านใช้วิธีการเยี่ยงอารยชนที่เจริญแล้ว เขาทำก็คือใช้สันติวิธีในการยื่นข้อเสนออย่างตรงไปตรงมากับภาครัฐ เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับพี่น้องมุสลิมมลายูในพื้นที่ แต่ด้วยกับรัฐบาลนายกนั้นเป็นรัฐบาลเผด็จการ จึงมีการอุ้มฆ่าท่านในที่สุด

ซึ่งถามว่า แม้กระทั่งใครก็ตาม ถ้าอยู่ในยุคนั้นก็คงทนไม่ไหวกับการกดขี่ข่มเหงของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ต้องจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้อย่างแน่นอน

เฉกเช่นเดียวกับขบวนการเสรีไทย ที่มีการตั้งกองกำลังและตั้งเป็นขบวนการในการต่อต้านอำนาจรัฐ ซึ่งก็มีการใช้ความรุนแรงเช่นเดียวกัน เพราะรัฐบาลเผด็จการ ไม่สามารถที่จะพูดคุยเรียกร้องสิทธิใดๆได้

อันนี้ไม่ใช่เฉพาะมุสลิมมลายู คนที่ไม่ใช่มุสลิม ถ้าพูดถึงยุคนั้น เขาก็จะเข้าใจเหตุผลในการต่อสู้ทันทีว่า มันชอบธรรมอยู่ ว่าด้วยฮุกมศาสนา หรือสิทธิตามมาตรฐานสากลทั่วไป

#แต่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในบริบทปัจจุบันนั้น มันเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ไม่เหลือเค้าลางเดิมในเรื่องการกีดกันทางศาสนาในเชิงนโยบายหลงเหลืออยู่อีก

กล่าวคือตั้งแต่กฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในมาตรา 31 บัญญัติไว้ชัดเจนในการให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและปฏิบัติตามศาสนบัญญัติของตนได้อย่างเสมอภาคเสรีภาพ และมีมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของชุมชนพลเมือง ที่ให้สิทธิแก่ประชาชนไว้อย่างเสมอภาค ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติศาสนาอีกต่อไป

อีกทั้งในรัฐบาล ก็ยังมีโครงสร้างการปกครองที่เอื้ออำนวยให้สิทธิแก่มุสลิมและทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน การเข้าไปเป็นตัวแทนในสภาก็อยากลองสิทธิให้กับประชาชนในจังหวัดของตัวเอง แถมในโครงสร้างของรัฐบาลตลอดเรื่อยมานั้น มักจะมีมุสลิมมลายูเอง เข้าไปมีบทบาทที่สำคัญหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน เช่นในยุคอดีต กลุ่มวาดะฮไม่ว่าจะเป็น ท่านเด่น โต๊ะมีนา ก็เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล และต่อมาในยุครัฐบาลทักษิณ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กลุ่มวาดะฮ ก็ได้รับตำแหน่งที่สำคัญในรัฐบาลเช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นประธานรัฐสภา คือ วันมูฮัมหมัด นอร์มะทา รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ อารีเพ็ญ อุตรดิตถ์ และยังมีมุสลิมคนอื่นๆที่มีความสำคัญในโครงสร้างของรัฐบาลหลายต่อหลายครั้ง

และปัจจุบันเองผู้ที่นั่งเป็นประมุขสูงสุดของฝ่ายสภา ก็เป็นมุสลิมมลายูอีกเช่นกัน แถมยังมีการตั้งพรรคการเมือง ที่ออกตัวว่าเป็นพรรคการเมืองของพี่น้องมุสลิมมลายูด้วยซ้ำไป

ที่สำคัญพระมหากษัตริย์ของไทย ยังได้ให้ความสำคัญแก่มุสลิมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพระราชกรณียกิจ ที่ได้เข้ามาดูแลทุกข์สุขของพี่น้องมุสลิมเป็นอย่างดี ถึงขนาดมีการให้มีการแปลอัลกุรอานฉบับภาษาไทยแจกจ่ายให้กับพี่น้องมุสลิม เพื่อได้เรียนรู้เข้าใจศาสนาของตนเองมากขึ้น

ยังมีการสร้างมัสยิด ด้วยเงินของส่วนพระองค์จำนวนหลายหลังด้วยกัน และในช่วงการจัดงานกิจกรรมของพี่น้องมุสลิม พระองค์ก็ทรงให้เกียรติมาร่วมงานทุกปี ทั้งที่ปัตตานี 3 จังหวัดชายแดนใต้และที่กรุงเทพฯ

ฉะนั้นด้วยบริบทและสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงไม่มีเหตุผลไม่ว่าจะเป็นทางด้านหลักการศาสนา หรือมาตรฐานทางสากลทั่วไป ที่จะเรียกร้องให้ต่อสู้ด้วยการใช้กำลังหรือความรุนแรงอีกต่อไป

#ซึ่งเรื่องนี้ อิหม่ามอิบนุก๊อยยิมเคย ฟัตวาว่า “การฟัตวา จะเปลี่ยนไปตามบริบท,สถานการณ์,เวลา”

เพราะฉะนั้นการอ้างว่า รัฐไทยเป็นดารุ้ลฮัรบีย์ จึงอ้างไม่ขึ้นครับ เพราะบริบทปัจจุบันเปลี่ยนแล้วไม่เหมือนยุคชัยคดาวูด ฟาฏอนี และเรื่องฟัตวาเปลี่ยนตามบริบทเป็นที่เห็นตรงกันในอุลามาอในทุกมัสฮับครับ ชาฟิอีย์ด้วย.

#สรุปคือ บริบทในอดีตไม่ว่าในยุคเชคดาวุดฟาฏอนี, ยุคฮัจญีสุหลงฯ นั้น มันเป็นอีกบริบทของสถานการณ์ ที่จะต้องว่ากันไปตามบริบทและสถาการณ์ในตรงนั้นในยุคนั้น แต่ที่เรากำลังเรียกร้องให้กลับสู่หาความถูกต้องในรูปแบบอิสลาม ว่าการใช้ความรุนแรงการสอนให้หลังเลือดผู้บริสุทธิ์ในยุคปัจจุบันนั้น มันขัดต่อหลักการศาสนาอย่างร้ายแรง

เพราะปัจจุบันเป็นสังคมมุสลิมที่อยู่ภายใต้การปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ไม่ได้มีการกดขี่ข่มเหงหรือริดรอนสิทธิเสรีภาพทางด้านศาสนาอีกต่อไป

ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วย บางคน ที่ยังมีพฤติกรรมรังแกมุสลิมอยู่นั้น ก็ว่ากันไปตามกระบวนการกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งยังมีช่องทางในเครื่องมือให้มุสลิมสามารถต่อสู้ตามกติกาบ้านเมืองได้อยู่ จึงไม่อนุญาตให้ใช้กำลังและความรุนแรงอีกต่อไป

ถ้าเราเอาประวัติศาสตร์มารื้อฟื้น เพื่อที่จะอ้างความชอบธรรมในการต่อสู้กันแล้วก็แน่นอนทั้งโลกใบนี้ย่อมมีความสุขแล้ว เพราะแต่ละดินแดนย่อมมีการผัดเปลี่ยนในการปกครอง ที่สนับหมุนเวียนกันไปตามยุค ตามสมัย ลองใช้เหตุผลและกลับไปหาแนวทางอิสลามที่เที่ยงตรง

ดูครับแล้วท่านจะไม่หลงทางกับการอ้างเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาหลอกให้มาตายแทนใคร

อัลเลาะห์ทรงห้าม ในการหลังเลือดผู้ศรัทธาด้วยกันเอง แต่พวกเขากลับสอนว่ามุสลิมที่มาเห็นด้วยกับพวกเขานั้นสามารถฆ่าได้ อัลกรุอานกล่าวไว้ ความว่า “และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยจงใจ การตอบแทนแก่เขาก็คือ นรกญะฮันนัม โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮฺก็ทรงกริ้วโกรธเขา และทรงละอฺนัตเขา และได้ทรงเตรียมไว้สำหรับเขาซึ่งการลงโทษอันใหญ่หลวง.(ซูเราะห์ อันนิสา  ฮายัตที่ 93 )

อัลเลาะห์ทรงห้าม มิให้ก่อความเสียหายห้ามทำร้ายผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามทำร้ายบ้านเรือนส่งปลูกสร้างแต่พวกเขาก็ทำลายมัน อัลกรุอานกล่าวไว้ ความว่า “และพวกเจ้าอย่าก่อความเสียหายไว้ในแผ่นดิน หลังจากได้มีการปรับปรุงแก้ไขมันแล้ว(อัลอะรอฟ : 56)

อัลกรุอานกล่าวไว้ ความว่า “การบ่อนทำลาย ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ขวนขวายไว้ เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาประกอบไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว(อัรรูม/41)

ท่านนบีได้กำชับ ห้ามทำลายชีวิตผู้อื่นและห้ามใจร้ายยัดข้อหาให้ผู้อื่นชั่วคราวกับธรรมตรงกันข้าม 

 อัล-ฮาดิษ ท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ รายงานว่า

فقال -صلى الله عليه وسلم-: «اجْتَنِبُوا السَّبْعَ المُوبِقَاتِ» ، قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ وَمَا هُنَّ؟ قَالَ: «الشِّرْكُ بِاللَّهِ، وَالسِّحْرُ، وَقَتْلُ النَّفْسِ الَّتِي حَرَّمَ اللَّهُ إِلَّا بِالحَقِّ، وَأَكْلُ الرِّبَا، وَأَكْلُ مَالِ اليَتِيمِ، وَالتَّوَلِّي يَوْمَ الزَّحْفِ، وَقَذْفُ المُحْصَنَاتِ المُؤْمِنَاتِ الغَافِلاَتِ»

     ท่านนบี-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า พวกท่านจงหลีกห่างจากความชั่วร้ายทั้งเจ็ด

     (บรรดาศอฮาบะฮฺ) กล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฺ มันคืออะไร ?

     ท่าน-ศ็อลลัลลอฮุ อลัยฮิวะซัลลัม-กล่าวว่า การตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์, การงมงายเรื่องไสยศาสตร์, การสังหารชีวิตที่อัลเลาะห์ทรงห้ามนอกจากด้วยสิทธิ, การกินดอกเบี้ย, การกินทรัพย์เด็กกำพร้า, การหนีทัพในวันประจัญบาล และการใส่ร้ายหญิงบริสุทธิ์ หญิงศรัทธา หญิงไม่รู้เรื่อง(ดังกล่าว) ว่าทำซินา

ผู้นำมุสลิมของประเทศไทย ซึ่งมีผู้รู้อูลามาฮ ที่นั่งอยู่ในสำนักจุฬาราชมนตรีจำนวนมาก ช่วยกันกลั่นกรองและฟัตตวา ออกมาชัดเจนว่าดินแดน 3 จังหวัดไม่ใช่ดินแดนดารุ้ลฮัรบี

แต่พวกเขาก็ไม่ฟังผู้นำ ยังจะหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์และทำลายทรัพย์สินส่วนสูงแผ่นดินที่มีพี่น้องเมื่อคืนจำนวนมากอาศัยอยู่อีก

ฉะนั้นแนวทางของ BRN หรือจูเเว ผู้ใดที่สนับสนุนแนวคิดนี้ แน่นอนพวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับอิสลาม การเรียกร้องไปสู่แนวทางคลั่งชาติพันธุ์นั้นเป็นแนวทางของอิบลิสชัยฏอน

ขอให้เยาวชนมุสลิมมลายูและพี่น้องมุสลิมมลายูทุกท่าน จงออกห่าง และต่อต้านแนวคิดที่บ่อนทำลายอิสลามเหล่านี้ เพื่อปกป้องอัล-อิสลาม ที่บริสุทธิ์และมาตุภูมิของพวกเราที่อยู่อย่างสงบสุข

บทความโดย : สายัณห์ สุขจันทร์

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2568

เข้าใจ เข้าถึง วิถีชีวิตชาวมลายูอิสลาม

เข้าใจ เข้าถึง วิถีชีวิตชาวมลายูอิสลาม

ชาวมลายูอิสลามเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเฉพาะตัว ซึ่งผสมผสานระหว่างหลักคำสอนของศาสนาอิสลามกับวัฒนธรรมมลายูอย่างกลมกลืน วิถีชีวิตของชาวมลายูอิสลามจึงเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพและสงบสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม

วิถีชีวิตที่หลอมรวมศาสนาและวัฒนธรรม

ศาสนาอิสลามเป็นหัวใจหลักของวิถีชีวิตชาวมลายู ทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การกิน การแต่งกาย การแต่งงาน ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจ ล้วนมีพื้นฐานจากหลักศาสนา เช่น การบริโภคอาหารฮาลาล การแต่งกายมิดชิดตามหลักอิสลาม และการละหมาดวันละห้าเวลา ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ยึดมั่นอย่างเคร่งครัด

ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมมลายูก็เป็นเสมือนเปลือกที่ห่อหุ้มหลักศาสนา เช่น ภาษา การใช้คำทักทายอย่าง “อัสลามูอาลัยกุม” การเคารพผู้ใหญ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน และประเพณีต่าง ๆ เช่น งานแต่งแบบมลายู งานเมาลิด หรือการละศีลอดร่วมกันในเดือนรอมฎอน ล้วนเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมที่สะท้อนจิตวิญญาณของศาสนา

ความสำคัญของครอบครัวและชุมชน

ครอบครัวถือเป็นศูนย์กลางของวิถีชีวิตชาวมลายูอิสลาม ความสัมพันธ์ในครอบครัวและเครือญาติแน่นแฟ้น เด็ก ๆ เติบโตมากับคำสอนของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และโต๊ะครูที่ให้ความรู้ด้านศาสนาและคุณธรรม ในชุมชนเองก็มีบทบาทในการดูแลกันและกัน ไม่ทอดทิ้งผู้ที่ลำบาก

มัสยิด จึงไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ละหมาด แต่ยังเป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณและกิจกรรมของชุมชน เช่น การสอนศาสนา การจัดงานบุญ และการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของสังคมมลายูอิสลาม

การเข้าใจ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

การเข้าใจวิถีชีวิตชาวมลายูอิสลาม ไม่ใช่เพียงเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมหลากหลายศาสนาและวัฒนธรรม การเคารพความเชื่อและวิถีปฏิบัติของกันและกัน จะนำไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และเปิดทางสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

เมื่อเราเข้าใจและเข้าถึงวิถีชีวิตของชาวมลายูอิสลามอย่างแท้จริง เราจะเห็นว่า แก่นแท้ของวิถีชีวิตนี้คือ ศรัทธา ความเคารพ ความเรียบง่าย และความสงบสุข ซึ่งเป็นคุณค่าที่ไม่ต่างจากหลักศาสนาใดในโลก

โต๊ะอีหม่ามกับโต๊ะครู แตกต่างกันอย่างไร...

โต๊ะอีหม่าม กับโต๊ะครู แตกต่างกันอย่างไร ใครรู้หลักศาสนามากกว่ากัน ควรให้เกียรติใครก่อน

ในสังคมมุสลิม โดยเฉพาะในประเทศไทย เรามักได้ยินคำเรียก “โต๊ะอีหม่าม” และ “โต๊ะครู” อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งทั้งสองตำแหน่งนี้มีบทบาทสำคัญต่อชุมชนมุสลิม แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจชัดเจนว่าทั้งสองตำแหน่งแตกต่างกันอย่างไร ใครมีความรู้ด้านศาสนามากกว่า และควรให้เกียรติใครก่อนในบริบทต่าง ๆ

ความหมายของ “โต๊ะอีหม่าม”

โต๊ะอีหม่าม (อิหม่าม) คือผู้นำในการละหมาดของชุมชน และยังทำหน้าที่เป็นผู้นำทางศาสนาในมัสยิด มีหน้าที่นำการปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ เช่น การละหมาดญุมาอฺ การกล่าวคุตบะฮฺ การนำละหมาดศพ และการให้คำปรึกษาทางศาสนา โต๊ะอีหม่ามมักได้รับการแต่งตั้งจากชุมชนหรือองค์กรศาสนาอย่างเป็นทางการ จึงถือเป็นตำแหน่งที่มีความเป็นทางการและต้องมีความรู้ศาสนาในระดับที่ลึกซึ้ง

ความหมายของ “โต๊ะครู”

โต๊ะครู คือผู้ที่ทำหน้าที่สอนศาสนาให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปในโรงเรียนตาดีกา หรือสถาบันการศึกษาศาสนาอิสลามต่าง ๆ โต๊ะครูมักมีบทบาทในด้านการให้ความรู้พื้นฐานด้านศาสนา เช่น การอ่านอัลกุรอาน หลักอากีดะฮฺ ฟิกฮฺ และเรื่องราวของท่านนบี บางครั้งโต๊ะครูก็อาจมีความรู้ลึกในบางสาขา และบางท่านก็มีบทบาทไม่ต่างจากอุละมาอฺในชุมชน

ใครรู้หลักศาสนามากกว่ากัน?

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับบุคคล ไม่สามารถตัดสินได้จากตำแหน่งเพียงอย่างเดียว บางครั้งโต๊ะครูอาจมีความรู้ด้านศาสนาลึกซึ้งมากกว่าโต๊ะอีหม่าม และในบางกรณี โต๊ะอีหม่ามก็อาจเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในศาสนามากกว่าโต๊ะครู ทุกอย่างขึ้นอยู่กับพื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และการแสวงหาความรู้ของแต่ละบุคคล

ควรให้เกียรติใครก่อน?

ในหลักศาสนาอิสลาม การให้เกียรติผู้อาวุโสและผู้มีความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญ และควรให้เกียรติทั้งสองท่านอย่างเท่าเทียมกันตามบริบท

ถ้าในมัสยิดหรือในกิจกรรมศาสนาอย่างเป็นทางการ ควรให้เกียรติ โต๊ะอีหม่ามก่อน เพราะเป็นผู้นำของชุมชนในบริบทนั้น

แต่หากอยู่ในสถานศึกษา หรืองานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ก็สมควรให้เกียรติ โต๊ะครูในฐานะผู้ให้ความรู้

ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะอีหม่ามหรือโต๊ะครู ต่างก็มีหน้าที่รับใช้ศาสนาและชุมชน ควรได้รับความเคารพจากประชาชนอย่างเท่าเทียม และยึดหลักการให้เกียรติผู้รู้ (อุละมาอฺ) ตามที่ศาสนาอิสลามได้สอนไว้ว่า “อัลอุลามาอฺ วะร่อะษะตุลอัมบิยาอฺ” – ผู้รู้คือทายาทของบรรดาศาสดา

เกียรติมลายูเคยรุ่งเรืองด้วยอิสลาม ไม่ใช่การเชิดชูชาติพันธุ์

เกียรติมลายูเคยรุ่งเรืองด้วยอิสลาม ไม่ใช่การเชิดชูชาติพันธุ์

แท้จริงแล้ว พลังความเข้มแข็งของคนมลายู มิได้อยู่ที่ ความเป็นมลายูของเขา

แต่พลังความเข้มแข็งของคนมลายูอยู่ที่การมีอัลเลาะห์เป็นพระเจ้า มีอิสลามเป็นวิถีชีวิต มีความผูกพันกับอัลเลาะห์ และรอซูลุลลอฮ์อย่างแน่นแฟ้น จนนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่นเดียวกับ ชนชาติอาหรับในยุคสมัยของท่านรอซูลุลลอฮ์ จนนำไปสู่การเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่เคยบริหารปกครอง 3/4 ของโลก

พวกเขาทั้งหลาย ต่างมิได้ต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งการเป็นชนชาติอาหรับแต่อย่างใด แต่พวกเขาได้ทุ่มเทเสียสละต่อสู้ เพื่อการยืนหยัดฟื้นฟูรักษาไว้ ซึ่งกาลีเมาะห์อัลเลาะห์ ยืนหยัดหลักการอิสลาม จนนำไปสู่การได้รับชัยชนะ ที่สามารถนำพาความสงบสุขปลอดภัย ความผาสุกร่มเย็นสู่มวลมนุษย์

- ชนชาติตุรกีที่ได้เคยยิ่งใหญ่กลายเป็นอาณาจักรปกครองโลก ก็มิใช่ว่าพวกเขาจะต่อสู้เพื่อความเป็นตุรกี

แต่พวกเขาต่อสู้เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักอัลเลาะห์ ได้รู้จักพระเจ้า ได้รู้จักอิสลาม เสริมสร้างอีมานตักวา จนทำให้ชาวตุรกี ได้รับการช่วยเหลือปกป้องคุ้มครองและมีความยิ่งใหญ่ในการบริหารปกครองโลก

ดังนั้น หากชนชาวมลายูได้ทำการต่อสู้ฟื้นฟูยืนหยัด รักษาไว้ซึ่งอากีดะห์ และชารีอัตอิสลาม มุ่งมั่นเสริมสร้างอีมานและตักวา จนกลายเป็นกลุ่มชนที่ให้คุณประโยชน์อย่างมากมายแก่สังคม

ชนชาวมลายูย่อมได้รับการช่วยเหลือและการปกป้องคุ้มครองอย่างแน่นอน

เเต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันกลายเป็นเกมส์การเมืองเเละชาติพันธุ์นิยม มิได้ขับเคลื่อนเพื่อฟื้นฟูเเละเชิดชู เพื่อศาสนาเเต่อย่างใด ศีลธรรมอันบริสุทธิ์เลยเลือนลางเเละถูกย่ำยีในที่สุด ดังที่ท่านซัยยิงดินาอุมัร บิน คอตตอบ เคยกล่าวไว้ว่า "อัลเลาะห์ได้ยกเกียรติพวกท่านด้วยอิสลาม เมื่อใดที่ท่านละทิ้งอิสลาม เกียรติของพวกท่านก็จะถูดลดลง"

ชุดโต๊ปเครื่องแต่งกายชาวอาหรับ บ่งบอกความเป็นอารยธรรมอิสลาม

ชุดโต๊ปเครื่องแต่งกายชาวอาหรับ บ่งบอกความเป็นอารยธรรมอิสลาม

ชุดโต๊ป ในชาวมุสลิมจะมองว่า เป็นชุดที่ใส่แล้ว ดูดี สวมใส่วันสำคัญทางศาสนา ใส่ทำศาสนกิจ(ละหมาด) หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ ส่วนชาวอาหรับ จะสวมใส่เป็นชุดทำงานทั่วๆไป ตามแบบอย่างเครื่องแต่งกายของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ใดที่เจริญรอยการพฤติตน การอยู่ การกิน การแต่งกาย ตามท่านศาสดา เขาผู้นั้นคือส่วนหนึ่งของสาวกอันเป็นที่รักของศาสดา"

ชุดโต๊ป (Thobe หรือ Thawb) เป็นเครื่องแต่งกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชาวมุสลิมทั่วโลก ไม่ใช่เพียงแค่เสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน แต่ยังสะท้อนถึงอัตลักษณ์ ความศรัทธา และหลักปฏิบัติทางศาสนาอิสลามที่เน้นความเรียบร้อย ความถ่อมตน และความเคารพต่อพระเจ้า

การสวมใส่ชุดโต๊ป ไม่ใช่แค่เรื่องของวัฒนธรรม แต่เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงความยึดมั่น ในหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ชุดโต๊ปจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่หลายคนสามารถจดจำและเชื่อมโยงกับศาสนาอิสลามได้ทันทีเมื่อเห็น

อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบัน มีบางกรณีที่บุคคลซึ่งไม่ได้ถือศาสนาอิสลามนำชุดโต๊ปมาใส่ โดยไม่มีความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของชุดนี้ บางรายอาจสวมใส่เพื่อการแสดง ล้อเลียน หรือในบริบทที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ในการถ่ายทำวิดีโอที่สื่อถึงความรุนแรง หยาบคาย หรือเสื่อมเสียต่อศาสนาและชุมชนมุสลิม

การกระทำดังกล่าว ไม่เพียงแต่เป็นการไม่ให้เกียรติเครื่องแต่งกายอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังอาจสร้างความรู้สึกเจ็บปวดและไม่พอใจให้กับชาวมุสลิมที่เห็นว่าเครื่องแต่งกายที่สะท้อนศรัทธาของพวกเขาถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม

สิ่งที่สำคัญคือ การเคารพในความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้อื่น โดยเฉพาะสิ่งที่มีความหมายลึกซึ้งทางศาสนา อย่างเช่น ชุดโต๊ป ซึ่งไม่ควรถูกหยิบยืม หรือใช้ในทางที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความรู้สึกของผู้ที่ศรัทธาในศาสนาอิสลาม

ในสังคมที่มีความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม การให้เกียรติซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น การเคารพเครื่องแต่งกายของแต่ละศาสนา เป็นหนึ่งในหนทางที่เราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง

อิสลามไม่มีนักบวช แล้ว อิหม่ามคือใคร

อิสลามไม่มีนักบวช แล้ว อิหม่ามคือใคร

ในบรรดาศาสนาหลัก ๆ ของโลก “อิสลาม” เป็นศาสนาที่ไม่มี “นักบวช” ต่างจากศาสนาพุทธ คริสต์ หรือพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีนักบวชเป็นผู้แทนพระเป็นเจ้าบ้าง เผยแผ่พระธรรมคำสอนบ้าง ประกอบพิธีกรรมหรือเป็นสื่อกลางระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์บ้าง แต่เราก็มักจะได้ยินบ่อย ๆ ว่า ศาสนาอิสลาม มีผู้ที่ถูกเรียกว่า “อิหม่าม” หรือบ้างก็เรียก “โต๊ะอิหม่าม” อยู่

หากไม่มี “นักบวช” แล้วอิหม่ามคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง? แน่นอนว่า เรื่องนี้พี่น้องชาวไทยมุสลิมคงทราบกันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับชาวไทยพุทธอาจมีบางส่วนยังสงสัยอยู่

ขอเริ่มด้วยการแปลความหมายของคำว่าอิหม่าม (Imam) เสียก่อน อิหม่าม หรือ อิมาม (إمام) ในภาษาอาหรับ แปลว่า “ผู้นำ” ซึ่งก็เรียกตามบทบาทหน้าที่หลัก ๆ ของผู้เป็นอิหม่าม นั่นคือเป็นผู้นำในการทำละหมาด ตลอดจนเป็นผู้นำชุมชน อิหม่ามยังเป็นที่เคารพนับถือในฐานะผู้มีความรู้และคุณธรรมด้วย

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของคำว่าอิหม่าม ดังนี้ “คำเรียกผู้นำในศาสนาอิสลาม, ผู้นำในการทำละหมาด, ตำแหน่งสำคัญของคณะกรรมการบริหารมัสยิด, โต๊ะอิหม่าม ก็เรียก. (อ. imam).

ทั้งนี้ “โต๊ะอิหม่าม” เป็นภาษาท้องถิ่น มาจากการรวมคำในภาษาอาหรับ (อิมาม) กับภาษามลายู คือ “โต๊ะ” (Tok) ซึ่งแปลว่า “คนเฒ่าคนแก่” หรือผู้อาวุโส จะเห็นว่า โต๊ะ ในที่นี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้หรือเฟอร์นิเจอร์แต่อย่างใด

อิหม่ามจึงเป็น “ฆราวาส” หรือผู้ครองเรือนดี ๆ นี่เอง โดยเป็นผู้นำคล้าย ๆ มัคนายกในวิถีพุทธ แต่มัคนายกจะมุ่งเน้นกิจกรรมทางศาสนาเป็นหลัก ส่วนอิหม่ามนั้นแทบจะอยู่ในทุกกิจกรรมทางสังคมของชุมชน เพราะชาวมุสลิมจะถือเอา “อิสลาม” เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตด้วย หลักคิด วิถีปฏิบัติต่าง ๆ ทางศาสนาจึงแทรกอยู่ในทุกกิจกรรมของผู้คน

นอกจากการ “นำ” ละหมาดแล้ว เราจะเห็นอิหม่ามเป็น “ผู้นำ” หรือทำหน้าที่เป็นประธานของกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ตั้งแต่พิธีเกี่ยวกับการเกิด พิธีสมรส ไปจนถึงพิธีศพ เป็นผู้ชี้นำคำสอน ชี้แนะหลักศาสนาอิสลาม รวมทั้งนำพาการพัฒนาหรือนำความเจริญมาสู่มัสยิดและคอมมูนิตีของชาวมุสลิม

ตำแหน่งอิหม่าม จึงเหมือนมีทั้ง มัคนายก ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน อยู่ในคนคนเดียว

อีกตำแหน่งที่คล้ายคลึงกันคือ “โต๊ะครู” หรือ โต๊ะฆูรู ซึ่งเป็นครูสอนศาสนา ผู้รอบรู้ นักวิชาการ หรือ “นักปราชญ์” (scholars) ความหมายเดียวกันกับ อุลามาอ์ (Ulama – علماء) ในภาษาอาหรับ

แต่ที่กล่าวมาข้างต้นคือ อิหม่ามในศาสนาอิสลามนิกายซุนนี (Sunni) เพราะในนิกายชีอะห์ (Shia) อิหม่ามยังหมายถึงผู้นำสูงสุดที่ปกครองประชาคมชีอะห์ด้วยอำนาจชี้ขาดตามหลักศาสนา เป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ประมุขของรัฐและศาสนา คือเป็นผู้นำทั้งทางโลกและทางจิตวิญญาณ ความเชื่อเรื่องอิหม่ามยังทำให้นิกายชีอะห์ แตกออกเป็นนิกายย่อยอีกหลายนิกาย ได้แก่ นิกาย 4 อิหม่าม นิกาย 7 อิหม่าม นิกาย 12 อิหม่าม

       อย่างนิกาย 12 อิหม่าม ปัจจุบันคือศาสนาประจำชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งชาติอิหร่าน โดยเชื่อว่ามีอิหม่าม 12 คนปกครองโลก จากนั้นจะเป็นวันแห่งการพิพากษา หรือวันสิ้นโลก

เรื่องของเรื่องคือ ฮาซัน อัล อัสกะรีย์ (Hasan al-Askari) อิหม่ามลำดับที่ 11 สิ้นชีพไปตั้งแต่ฮิจเราะห์ศักราช 260 (ค.ศ. 874) เพราะความขัดแย้งอันรุนแรงระหว่างนิกายชีอะห์กับนิกายซุนนี ที่นำโดยราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ ทำให้อิหม่ามฮาซันจากโลกไปโดยไม่มีทายาทสืบทอดตำแหน่ง ชาวชีอะห์ จึงไร้อิหม่ามลำดับที่ 12 มาจวบจนปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม อยาตอลเลาะห์ คาเมเนอี (Ayatollah Khamenei) ผู้นำสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบัน ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นอิหม่ามคนหนึ่ง ก็ไม่ใช่อิหม่ามลำดับที่ 12 ตามคำทำนาย แต่เป็นผู้แทนอิหม่ามลำดับที่ 12 ที่มาปกครองและนำทางชาวชีอะห์เท่านั้น

พวกเขายังเชื่อว่า เชื้อสายของอิหม่ามฮาซันได้หลีกเร้นอยู่ตามโพรงถ้ำ และจะปรากฏตัวอีกครั้งเมื่อวันอวสานโลกใกล้มาถึง

วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2568

เทศกาลรายอแน : สันติสุขแห่งศรัทธาและการพัฒนาร่วมกัน

เทศกาลรายอแน : สันติสุขแห่งศรัทธาและการพัฒนาร่วมกัน

เทศกาลรายอแน (ฮารีรายอหก) ถือเป็นช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ และเปี่ยมไปด้วยความหมายสำหรับพี่น้องมุสลิมทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และศาสนา รายอแน จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่เทศกาลทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสแห่งการสร้างสันติสุข ความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างประชาชนกับภาครัฐอีกด้วย

ในเทศกาลนี้ มุสลิมจะร่วมกันประกอบศาสนกิจ ทำบุญ และอุทิศกุศลแก่ผู้ล่วงลับ ด้วยการไปเยี่ยมกูโบร์ (สุสานมุสลิม) ทำความสะอาด ปัดกวาด และอ่านดุอาอ์ (บทขอพร) เพื่อแสดงความกตัญญูและรำลึกถึงผู้ที่จากไป เป็นประเพณีที่แสดงถึงความรัก ความเคารพ และความผูกพันระหว่างคนเป็นกับคนตาย

นอกจากมิติทางศาสนาแล้ว รายอแนยังเป็นเวทีสำคัญที่ภาครัฐสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสันติภาพผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การสนับสนุนการจัดงานรายอในชุมชน การร่วมมือกับผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ เช่น ปรับปรุงกูโบร์ สร้างสถานที่สาธารณประโยชน์ หรือส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนในช่วงเทศกาล

ความร่วมมือเช่นนี้ ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจ และเคารพในวิถีชีวิตของประชาชนมุสลิมเท่านั้น แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างประชาชนกับรัฐ

ในท้ายที่สุด เทศกาลรายอแน จึงไม่ใช่เพียงวันแห่งความสุขของชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังเป็น "วันแห่งความหวัง" ที่สะท้อนถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนร่วมกันทุกภาคส่วน