วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567

กือดาจีนอ เมืองเก่าสุดชิคในปัตตานีที่ใครๆ ก็ต้องมา

เมื่อพูดถึงปัตตานี หลายๆ คนคงนึกถึงเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น แต่จริงๆ แล้วปัตตานีมีสถานที่ที่น่าสนใจมากมายให้ทุกคนได้มาสัมผัส เมื่อคุณได้มาสัมผัสแล้ว จะพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า "ปัตตานีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด"

วันนี้จะขอนำเสนอเป็นปัตตานีเมืองเก่า หรือ ที่เค้าเรียกกันว่า "กือดาจีนอ"

กือดาจีนอ เป็นภาษามลายู ซึ่งคำว่า กือดา แปลว่า ตลาด ส่วนคำว่า จีนอ แปลว่า จีน กือดาจีนอประกอบด้วยถนนปัตตานีภิรมย์ ซึ่งวิ่งขนานกับแม่น้ำปัตตานี ไปบรรจบกันที่ถนนอาเนาะรู ซึ่งมีศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวตั้งอยู่ที่นั่น กือดาจีนอเป็นย่านเมืองเก่าที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าในอดีต

แถมปัจจุบันยังคงเหลือสถาปัตยกรรมผสมผสานแบบไทยและจีนหลงเหลืออยู่ให้เห็นอีกหลายหลัง แถมยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของผู้คนในชุมชนให้ทุกคนได้เห็นและสัมผัสกันอีกด้วย ไปชมความน่าสนใจของกือดาจีนอกันเลยค่ะ

ถนนอาเนาะรู : ถนนอาเนาะรู เป็นถนนสายที่เป็นที่ตั้งของศาลแห่งเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งมีการแห่พระสมโภชน์เจ้าแม่ จัดขบวนแห่พระลุยน้ำลุยไฟอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี ถนนอาเนาะรูยังประกอบไปด้วยอาคารที่แสดงถึงสถาปัตยกรรมของชาวจีนให้เห็นอยู่หลายหลัง เพราะเป็นถนนสายแรกที่ชาวจีนฮกเกี้ยนล่องเรือจากสงขลามาตั้งรกรากที่นี่ 

บ้านหลังแรกที่สะดุดตาคือ บ้านกงสี

บ้านกงสี

1. บ้านกงสี :บ้านเลขที่ 27 บนถนนอาเนาะรู เป็นบ้านเดิมของหลวงสำเร็จกิจกรจางวาง (ปุ่ย แซ่ตัน) ชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งถิ่นฐานในสมัยรัชกาลที่ 3 บ้านกงสีมีลักษณะเรียบง่าย ตรงกลางบ้านเป็นห้องโถงสำหรับประดิษฐานเทพเจ้าต่างๆ สองข้างของห้องโถงกลางเป็นห้องพัก ส่วนด้านหลังจะเป็นห้องครัว

บ้านธรรมศาลา

2. บ้านธรรมศาลา :บ้านบุตรสาวหลวงสำเร็จกิจกรจางวาง ซึ่งภายหลังได้ปรับปรุงบ้านหลังนี้เป็นโรงธรรม โดยได้สร้างเป็นอาคารโล่งสำหรับใช้บรรจุกระดูกและแท่นบูชา ในส่วนของฝาผนังจะมีการจารึกเรื่องราวของวงศ์สกุล

บ้านเลขที่ 1 

3. บ้านเลขที่ 1 :เดิมเป็นบ้านของบุตรสาวคนโตของหลวงสำเร็จกิจกรจางวาง โดยบ้านหลังนี้เป็นบ้านทรงจีน 2 ชั้น โดยบ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกที่ได้รับการออกบ้านเลขที่โดยเทศบาลเมืองปัตตานี

บ้านรังนก

4. บ้านรังนก : บ้านหลังนี้ถือเป็นบ้านหลังแรกในปัตตานี ที่มีนกนางแอ่นเข้ามาอาศัยทำรัง 

บ้านตึกขาว

5. บ้านตึกขาว : เป็นบ้านของคุณพระจีนคณานุรักษ์ เป็นบ้านทรงจีนโบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยแวะประทับเมื่อครั้งเสด็จประพาสตลาดจีนและศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ต่อมาภายหลังได้มีการปรับปรุงจากตึกจีนโบราณเป็นตึกทรงทันสมัยและทาสีบ้านทั้งหลัง คนทั่วไปจึงเรียกบ้านหลังนี้ว่า "บ้านตึกขาว"

บ้านหลวงวิชิตศุลกากร

6. บ้านหลวงวิชิตศุลกากร : เป็นบ้านที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกชาย หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง ในอดีตบ้านหลังนี้เคยเปิดเป็นร้านขายของชำร้านแรกบนถนนอาเนาะรู มีชื่อร้านว่า "หย่งชาง"

โรงเตี๊ยมโรงเตี๊ยม

7. เรือนรับรองบ้านหลวงสุนทรสิทธิโลหะ : บ้านหลังนี้ใช้เป็นเรือนรับรองสำหรับผู้มาเยือนหลวงสุนทรศิทธิโลหะ บ้านหลังนี้เป็นตึกจีน 2 ชั้นอยู่ในสวนด้านหลัง ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนเป็นร้านอาหาร "โรงเตี๊ยมอาเนาะรู" 

ศาลเจ้าแม่ศาลเจ้าแม่

8. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว : หรือที่มีชื่อเป็นทางการว่า ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ปัตตานีมาตั้งแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมือง ปัตตานี ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี

นอกจากนี้แล้วกือดาจีนอยังประกอบไปด้วย "ถนนปัตตานีภิรมย์" ซึ่งวางขนานกับแม่น้ำปัตตานี ถนนเส้นนี้เป็นย่านธุรกิจที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต มีทั้งโรงเตี๊ยม โรงหนัง โรงโบว์ลิ่ง ร้านค้า และร้านอาหาร แต่ปัจจุบันคงเหลือเพียงแค่อาคาร แต่ก็ยังมีบางกิจกรรมที่ยังคงสืบสานมาจากอดีตถึงปัจจุบัน

ต่อไปเราไปดูกันดีกว่าว่าถนนปัตตานีภิรมย์มีความน่าสนใจยังไง...

" ปัตตานี เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการผสมผสานหลายๆวัฒนธรรม อยากให้ทุกคนลองมาเที่ยวปัตตานีกันดูนะคะ แล้วรับรองว่าทุกคนจะต้องตกหลุมรักเมืองและผู้คนที่นี่ และสุดท้ายอย่างฝากว่า ปัตตานีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ปัตตานี เป็นเมืองที่มีเสน่ห์และใครมารับรองต้องอยากมารอบ 2 อีกแน่นอน "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น