วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

ขบวนการ BRN กับปัญหายาเสพติด

 

19 ปีไฟใต้ ปัญหาที่รุมเร้าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบันไม่ได้มีแค่เฉพาะปัญหาความไม่สงบ ที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงหยิบยื่นให้กับประชาชนแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบที่ยืดเยื้อมายาวนานนั้น กลับมีปัญหาอื่นๆ ซุกซ่อนอยู่ และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มขบวนการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหนึ่งในนั้นคือ‘ปัญหายาเสพติด

จากสถิติการจับกุมคดียาเสพติดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา  ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวโดยการนำเสนอของสื่อต่างๆ นั้น จะเห็นได้ว่ามีการจับกุมนักค้ายาเสพติดรายใหญ่ๆ ยึดของกลางได้เป็นจำนวนมากโดยยอดการจับกุมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

จากข้อมูลของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9 พบว่ายาเสพติดประเภทพืชกระท่อม เป็นที่นิยมของกลุ่มวัยรุ่นตลอดจนเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองลงมาคือ “ยาบ้า” โดยมี จ.นราธิวาส เป็นแหล่งพักยาขนาดใหญ่

แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือกลุ่มเด็กและเยาวชนชายแดนใต้ ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยง ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ ที่กำลังเบ่งบานท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรง และความขัดแย้ง

สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เอื้อต่อการแพร่กระจายหรือขนย้ายยาเสพติดหรือไม่?

เคยได้ยินอยู่บ่อยครั้งว่า ปัญหายาเสพติดที่กำลังระบาดอย่างหนักในพื้นที่ชายแดนใต้ มีผู้ที่มีความคิดต่างจากรัฐ หรือกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมบางกลุ่มได้ตั้งข้อสังเกตว่าเล็ดลอดเข้ามาได้อย่างไร? หรือหนักไปยิ่งกว่านั้นกลับกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง

นั่นเป็นมุมมองของกลุ่มคนที่จ้องทำลาย และพยายามบิดเบือนโยนผิดให้เจ้าหน้าที่ แต่ความจริง เป็นเช่นไร?

ในมุมมองหนึ่ง ปัญหาความไม่สงบเป็นปัจจัยในการเพิ่มยาเสพติดด้วยเช่นกัน เพราะเจ้าหน้าที่ต้องทุ่มเทกำลังไปทำงานในเรื่องของการเฝ้าระวังการก่อเหตุร้าย ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการปราบปรามยาเสพติด ยังเกี่ยวโยงถึงประเด็นหนึ่งก็คือ บางพื้นที่ที่เป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ เป็นหมู่บ้านจัดตั้งของกลุ่มขบวนการ เจ้าหน้าที่ก็จะเข้าไม่ค่อยถึง เนื่องจากมีความไม่ปลอดภัย การจะเข้าไปขอความร่วมมือจากประชาชนให้รวมตัวกันต้านภัยยาเสพติดก็ทำได้น้อยลง

กลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น มีส่วนเกี่ยวข้องปัญหายาเสพติดหรือไม่?

เมื่อนักค้ายาเสพติดทำการลักลอบนำยาเสพติด เข้ามาเป็นจำนวนมากๆ จะมีแหล่งพักยา ซึ่งแหล่งใหญ่มีทั้งอยู่ในพื้นที่ฝั่งไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และฝั่งประเทศมาเลเซีย

ในฝั่งไทยโดยเฉพาะหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งเป็นหมู่บ้านจัดตั้งของกลุ่มขบวนการ คือเป้าหมายหลักในการพักยาเสพติด เนื่องจากความยากลำบากในการเข้าถึง เพราะฉะนั้นคำถาม กลุ่มขบวนการ BRN มีส่วนเกี่ยวข้องปัญหายาเสพติดหรือไม่? คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่านอกจากทำการก่อเหตุสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนแล้ว ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดอีกด้วย เรามาดูเหตุและผลกัน

ในหมู่บ้าน(กำปง) เล็กๆ ใครค้าใครเสพ ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นย่อมรู้ดีว่ามีใครบ้าง โดยเฉพาะตัวการใหญ่นักค้ายาเสพติดรายสำคัญๆ

กลุ่มขบวนการ BRN รู้เห็นเป็นใจกับนักค้ายาเสพติด เนื่องจากรายได้จากการค้ายาเสพติดเป็นท่อน้ำเลี้ยง เป็นเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงกลุ่มขบวนการในการจัดซื้อ จัดหาอาวุธปืน สารตั้งต้นประกอบวัตถุระเบิดนำไปสู่การก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะเส้นทางการเงินที่มีการตรวจสอบหาความเชื่อมโยงจากนักค้ายาเสพติดรายใหญ่

กลุ่มและองค์กรปีกการเมืองของกลุ่มขบวนการทั้งหลายที่เรียกร้อง PATANI-MERDEKA หันกลับไปเรียกร้อง  MERDEKA-ยาเสพติด ก่อนดีมั๊ย!! เพราะมัจจุราชตัวจริงที่ทำลายชีวิตทำลายอนาคตของลูกหลานเราคือ ‘ยาเสพติด’ และให้จับตาดู‘กลุ่มขบวนการ BRN’ ให้การหนุนหลังสนับสนุนนักค้ายาเสพติดจริงหรือ? ทำไม? BRN ถึงนิ่งดูดายทั้งๆ ที่รู้ว่าใคร? เป็นคนค้า หรือจะเป็นพวกเดียวกันหรือเปล่า..ฝากเป็นข้อคิดช่วยกันติดตามตรวจสอบกระชากไอ้โม่ง ที่อยู่เบื้องหลังให้สังคมได้รับรู้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น