วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สิทธิมนุษยชนที่ชอบธรรม กับการเลือกปฏิบัติ

สิทธิมนุษยชนที่ชอบธรรมกับองค์กรสิทธิฯ ที่ไร้เงาและเงียบงันในการทำหน้าที่ปกป้องชาวบ้าน..

จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แต่กลับกลายเป็นว่า ได้สร้างงานสร้างอาชีพใหม่ให้กับคนบางกลุ่ม ได้มีการจัดตั้งองค์กร NGOs ทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนมากกว่า 500 องค์กรขึ้นมา เพื่อดึงเงินทุนสนับสนุนจากต่างชาติ แต่แทบทุกครั้ง ที่มีการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กร ได้สร้างปัญหาและขัดขวางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาของชาติอย่างชัดเจน มีพฤติกรรมอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนเหล่านี้กลับนิ่งเฉยธุระไม่ใช่

ในขณะที่ฝ่ายบ้านเมือง/เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ได้ทำงานเพื่อความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตามจับกุมสมาชิกแนวร่วมขบวนการที่ทำการก่อเหตุ หรือเมื่อเกิดการปะทะจนมีความสูญเสีย องค์กรที่อ้างตนว่า เป็นนักสิทธิมนุษยชนเหล่านี้จะต้องออกมาแสดงบทบาทมีการเคลื่อนไหวในการต่อต้านการทำงานของเจ้าหน้าที่อยู่ร่ำไป แสดงให้เห็นอย่างชัดแนวความคิดของกลุ่มองค์กรได้อย่างชัดเจนว่า “มุ่งปกป้องสิทธิมนุษยชนให้แก่กลุ่มโจรผู้ที่ทำร้ายพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์”

แต่เมื่อใดที่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อ หรือทางฝ่ายเจ้าหน้าที่เป็นผู้สูญเสีย กลุ่มองค์กรเหล่านี้ก็จะเงียบเฉย ไม่รู้ไม่เห็นกับสิ่งที่เกิดขึ้น

“สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” อันได้แก่ สิทธิ-เสรีภาพ ที่ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางด้านชาติกําเนิด เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต เพศ รูปลักษณ์ภายนอก อายุ และสติปัญญา หรือมีความไม่เท่าเทียมกันในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมมากน้อยเพียงใดก็ตาม เป็นสิ่งที่องค์กรสิทธิ์ทั้งหลาย จะต้องตระหนักให้ความสำคัญไม่ใช่หรือ..

ที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ทุกคนต้องได้รับ“สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” อย่างเท่าเทียมกันไม่ใช่หรือ...

การเลือกปฏิบัติ จากผู้ที่ทำหน้าที่และอ้างตนว่าเป็น “นักสิทธิ์” มันถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือ...

การอาศัยสถานการณ์ เพื่อทำการเคลื่อนไหว(หาประโยชน์ให้ตัวเอง)  และใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยพยายามชี้นำ ให้เห็นถึงความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างผลงานและรายงานไปยังองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ โดยไม่สนใจความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองประเทศชาติและพี่น้องประชาชน เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์จากผู้ให้การสนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มการเมือง โดยใช้ชีวิตประชาชนเป็นเดิมพัน สิบแปดปีที่ผ่านมา คงตอบคำถามในใจประชาชนได้แล้วว่า เรามีกลุ่มองค์กรสิทธิ์ไว้ทำไม..! และเพื่ออะไร..?! ทำไม องค์กรสิทธิ์ จึงไม่ทำหน้าที่ที่ควรจะทำ...

หรือว่า การเลือกปฏิบัติ… และออกหน้าแทนกลุ่มผู้ก่อเหตุนั้น คือจุดยืนขององค์กรฯ ใช่หรือไม่….

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น