วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565

coming soon เร็วๆนี้: สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง เส้นทางเชื่อมเศรษฐกิจการค้า การลงทุนชายแดนใต้

🚩🚩coming soon เร็วๆนี้: สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง เส้นทางเชื่อมเศรษฐกิจการค้า การลงทุนชายแดนใต้

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส แห่งที่2-รันเตาปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย คู่ขนานกับสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 1 เกิดขึ้นตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552

โดยอยู่ภายใต้กรอบการประชุมร่วมไทย-มาเลเซีย ผ่านคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี(JC) และคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน ระดับรัฐมนตรี (JDS) รวมทั้งความร่วมมือการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย(IMT-GT) และแผนงานพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประเทศมาเลเซียเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบ โดยสะพานเป็นแบบ (Multiple Spans Beam) Post Tension T-Beam& RC.Beam รูปทรงเรือกอและ ที่เป็นเรือซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของจังหวัดนราธิวาส  ความกว้าง 14 เมตร ความยาว 116 เมตร ควบคู่กับการปรับปรุงและขยายสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 1 เพื่อให้มีความกว้าง และความยาวเท่ากับสะพานแห่งที่ 2 ดังนั้นจากเดิม สะพานฯแห่งที่1 ใช้2ทิศทาง ด้านละ 7 เมตร เมื่อสะพานฯแห่งที่ 2 แล้วเสร็จจะทำให้สามารถสัญจรได้อย่างสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น เพราะสามารถสัญจรแบบทิศทางเดียว ด้านละ 14 เมตร

สถานะปัจจุบัน มีนาคม 2564 ฝ่ายมาเลเซียขอเข้าสำรวจพื้นที่เพื่อเจาะสำรวจดินและสำรวจภูมิประเทศสำหรับการปรับแบบสะพานในพื้นที่ฝั่งไทยเพิ่มเติมแต่เนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19 ฝ่ายไทยจึงเสนอรับผิดชอบการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมให้ฝ่ายมาเลเซียโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 13 ธันวาคม 2564 และ 26 พฤษภาคม 2565 มีการจัดประชุมเทคนิคร่วม ไทย-มาเลเซีย เพื่อพิจารณาการสำรวจพื้นที่ในฝั่งไทย เพื่อการออกแบบ Detailed Design ของสะพาน และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องการแบ่งเขตการบำรุงรักษาสะพานอย่างไม่เป็นทางการให้อยู่ที่บริเวณกึ่งกลางสะพานเช่นเดียวกับสะพานโก-ลกแห่งที่ 1

ปัจจุบันฝ่ายไทยอยู่ระหว่างดำเนินการส่งข้อมูลเจาะสำรวจดินในพื้นที่ฝั่งไทย เพื่อการก่อสร้างสะพานดังกล่าวให้ฝ่ายมาเลเซีย ผ่านช่องทางการทูตซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมร่วมไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 3 เร็วๆนี้

ทั้งนี้สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 จะส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งนำเข้าและส่งออก รวมทั้งรองรับนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีเพิ่มสูงขึ่้น เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่1 มีความคับแคบไม่สะดวกต่อการตอบสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น