วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565

การเรียนศาสนาสำคัญมาก เพื่อทำให้เยาวชนเป็นคนดีมีคุณธรรม

"การเรียนศาสนาสำคัญมาก เพื่อทำให้เยาวชน เป็นคนดีมีคุณธรรม" พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าว ฯ

ศาสนา คือ คำสอนที่ศาสดานำมาเผยแพร่สั่งสอน แจกแจง แสดง ให้มนุษย์ละเว้นจากความชั่ว กระทำแต่ความดี ซึ่งมนุษย์ ยึดถือปฏิบัติตามคำสอนนั้นด้วยความเคารพเลื่อมใสและศรัทธา คำสอนดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นสัจธรรม ศาสนามีความสำคัญ ต่อบุคคล และสังคม ทำให้มนุษย์ ทุกคน เป็นคนดี และอยู่ร่วมกันอย่างสันติศาสนาในโลกนี้มีอยู่มากมายหลายศาสนาด้วยกัน

แต่วัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งของทุก ๆ ศาสนา เป็นไปในแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ ชักจูงให้คน ละความชั่ว ประพฤติความดี เหมือนกันหมด หากแต่ว่า การปฏิบัติพิธีกรรมย่อมแตกต่างกัน ตามความเชื่อถือของแต่ละบุคคล

คุณค่าของศาสนา

1. เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์

2.เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของหมู่คณะและในหมู่มนุษยชาติ

3. เป็นเครื่องดับความเร่าร้อนใจ ทำให้ใจสงบร่มเย็น

4. เป็นบ่อเกิดแห่งจริยธรรม ศีลธรรม และคุณธรรม

5. เป็นบ่อเกิดแห่งการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

6.เป็นดวงประทีปส่องโลกที่มืดมิดอวิชชาให้กลับสว่างไสวด้วยวิชชา

ประโยชน์ของศาสนา

ศาสนา มีประโยชน์มากมายหลายประการ กล่าวโดยสรุปมี 6 ประการคือ

1. ศาสนาเป็นแหล่งกำเนิดจริยธรรม ศาสนาทุกศาสนาสอนให้เราทราบว่าอะไรคือความชั่ว ที่ควร ละเว้น อะไรคือความดีที่ควรกระทำ อะไรคือสิ่งที่บุคคลในสังคมพึงปฏิบัติเพื่อให้ อยู่ร่วมกัน อย่าง มีความสุข ดังนั้นทุกศาสนาจึงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความดีงามทั้งปวง

2. ศาสนาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต ทุกศาสนาจะวางหลักการดำเนินชีวิตเป็นขั้น ๆ เช่น พระพุทธ ศาสนาวางไว้ 3 ขั้นคือ ขั้นต้น เน้นการพึ่งตนได้ทางวัตถุ มีความสุขตามประสาชาวโลก ขั้นกลาง เน้น ความเจริญก้าวหน้าทางคุณธรรม และขั้นสูง เน้นการลด ละ โลภ โกรธ หลง

3. ศาสนาทำให้ผู้นับถือปกครองตนเองได้ หลักคำสอนทางศาสนาสอนให้รู้จักรับผิดชอบตนเอง คนที่ ทำตามคำสอนทางศาสนาอย่างเคร่งครัดจะมีหิริโอตตัปปะ (อายชั่วกลัวบาป) ไม่ทำผิดทั้งที่ลับ และ ที่แจ้ง เพราะสามารถควบคุมตนเองได้

4. ศาสนาช่วยให้สังคมดีขึ้น คำสอนทางศาสนาเน้นให้คนในสังคมเว้นจากการเบียดเบียนกัน เอารัด เอาเปรียบกัน สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน เป็นเหตุให้สังคมมีความ สงบสันติ ิยิ่งขึ้น

5. ศาสนาช่วยควบคุมสังคม ทุกสังคมจะมีระเบียบ ข้อบังคับ จารีตประเพณี และกฎหมายเป็นมาตร การ ควบคุมสังคมให้สงบสุข แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมสังคมให้สงบสุขแท้จริงได้ เช่น กฎหมาย ก็ควบคุมได้เฉพาะพฤติกรรมทางกายและทางวาจาเท่านั้น มิสามารถคุมลึกลงไปถึงจิตใจได้ ศาสนา เท่านั้น จึงจะควบคุมคนได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ

6. ศาสนาเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรม พิธีกรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณคดี และ วัฒนธรรม ด้าน ต่าง ๆ ล้วนมีแหล่งกำเนิด มาจากศาสนาทั้งสิ้น ศาสนาเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรม เช่น จิตรกรรม ฝาผนังที่งดงาม คำสอนเรื่องชาดก ทำให้เกิดวรรณกรรม ที่สำคัญหลายเรื่อง แม้กระทั่งมารยาททาง สังคม รวมไปถึงประเพณีต่าง ๆ ล้วนสืบเนื่องมาจากศาสนาทั้งสิ้น

ศาสนาประจำชาติไทย

ศาสนาประจำชาติไทย คือศาสนาพุทธ แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกราช ปกครองโดย ระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และประมุขของชาติทรง เป็น เอกอัครศาสนูปถัมภก คนไทยทุกคนจึงมีสิทธิเสรีภาพในการ เลือกนับถือ ศาสนาใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะ เป็นศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาอื่นใด ตามสภาพที่ประชาชนจะเลื่อมใส ศรัทธาของศาสนาที่ตนพึงปฏิบัติ ในประเทศไทย ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือมากที่สุดถึงร้อยละ 94.4 รองลงไป ได้แก่ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 4.0 ศาสนา คริสต์ ร้อยละ 0.5 ศาสนาฮินดู ซิกข์ และอื่น ๆ รวมกันประมาณ ร้อยละ 1.1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น