วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เยี่ยมให้กำลังใจ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบพื้นที่ปัตตานี

 

🤝👏เยี่ยมให้กำลังใจ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบพื้นที่ปัตตานี

เมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ.2565 น.ส.อัญชนา ปูตะ ป.หน.ต.ระแว้ง พร้อมด้วย น.ส.แวรอฮานา ดะสะอิ จนท.ปค.ต.ระแว้ง ร่วมกับ พ.ต.ท.มารุต สงขาว รอง ผกก. ป.สภ.ยะรัง ,ร.ท.ชาญณรงค์ ถิระโคตร ผบ.ร้อย ฉก.ทพ.2011 ,นางฟาตีมะกาหลง พัฒนากร ต.ระแว้ง,จ.ส.อ.คณิต ปลื้มเชื้อ,ส.อ.วิจิตร กงลีมา,นายซาการียา ดอนิ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 และบัณฑิตอาสาฯ ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หมู่ที่ 5 ตำบลระแว้ง อ.ยะรังฯ และผู้ตกเกณฑ์ด้านการศึกษาตามข้อมูล TP MAP หมู่ที่ 1 ตำบลระแว้ง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พร้อมนี้ได้มอบผ้าห่มแก่ผู้ได้รับผลกระทบฯ และผู้ตกเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น

นับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน (มิถุนายน 2565) ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประกอบด้วยจังหวัด ปัตตานี ยะลา, นราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอสะบ้าย้อย, นาทวี เทพาและจะนะ ยังมีความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง

ถึงแม้จะมีความพยายามของหลายฝ่ายมีการปรับยุทธศาสตร์ เพื่อการแก้ไขปัญหา แต่ก็พบว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้ลดลงอย่างที่คาดการณ์ไว้ จากข้อมูลอัตราการเกิดความรุนแรงรายวัน คือ 5.05 ครั้งต่อวัน(รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังการบาดเจ็บ จากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2551) ในแต่ละครั้งเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สะท้อนให้เห็นถึงความสมานฉันท์ยังไม่ปรากฏ หลายภาคส่วน

จึงร่วมมือกันหาทางที่จะแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้คนในพื้นที่ สามารถอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่ที่จัดได้ว่าเป็น “พหุวัฒนธรรม”

ดังนั้นด้วยความพยายามของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยงานวิชาการทั้งจากภาครัฐ เอกชน ปราชญ์ และผู้รู้ในชุมชน จึงร่วมกันจัดให้มี “สุนทรียสนทนา” เกิดขึ้นโดยจัดเป็นยุทธศาสตร์ 3 ปี สิ่งที่คาดว่าจะได้มา คือการขยายกลุ่มพูดคุยสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันและเกิดนโยบายสาธารณะ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลกลางในการจัดเป็นนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

นอกจากการใช้กระบวนการสุนทรียสนทนาแล้ว สวรส.ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้นำข้อคิดดังกล่าวไปสังเคราะห์เพิ่มเติม และนำสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดเวทีนักวิชาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และจัดทำนโยบายให้สอดคล้องกับพื้นที่ผ่านความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำเสนอข้อคิดเห็นจากพื้นที่โดยผ่านพรรคการเมือง โดยสะท้อนแนวคิดและสิ่งที่คาดหวังว่ารัฐจะนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมานาน ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนขึ้น คือการร่วมคิด ร่วมทำ นำไปสู่การดำเนินการโครงการเยียวยาฯ ภายใต้แนวทางการดำเนินงานของ สวรส.ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเป็นตัวต่อเล็กๆ ที่เชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆ ที่ดำเนินงานโดยองค์กรและหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมและการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น