วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สานฝัน สู่สันติ

 

ความพยายามในการหยิบยกเงื่อนไข เรื่องประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์มาบิดเบือน เป็นเพียงการหลอกลวงให้ประชาชน ต้องตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนที่ต้องการอำนาจ แต่ขาดอุดมการณ์เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ กระทั่งปัจจุบันได้สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน สูญเสียโอกาสในการดำรงชีวิตและการพัฒนาในทุกรูปแบบ ส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม อย่างกว้างขวาง

ซึ่งความสูญเสียดังกล่าวล้วนเกิดจากการกระทำอย่างโหดเหี้ยมของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ซึ่งมีความสุดโต่งทั้งแนวความคิด และการกระทำอย่างไร้มนุษยธรรม รวมทั้งได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่ต้องตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ ต้องสังเวยชีวิตและบาดเจ็บทุพพลภาพกว่า ๑๐,๐๐๐ ชีวิต ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ ล้วนแต่มีสิทธิที่จะมีชีวิต และลมหายใจ ณ ดินแดนปลายด้ามขวานทองของไทยแห่งนี้

ความพยายามในการหยิบยกเงื่อนไขเรื่องประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ุ และอัตลักษณ์ มาบิดเบือน เป็นเพียงการหลอกลวงให้ประชาชน ต้องตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนที่ต้องการอำนาจ แต่ขาดอุดมการณ์ เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่ผู้ก่อเหตุรุนแรงพยายามดำเนินการมาตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา คือ การข่มขู่ ขู่เข็ญ คุกคาม และทำร้ายพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้ตกอยู่ในความหวาดกลัวและยอมจำนน พร้อมทั้งได้สร้างสถานการณ์ความขัดแย้งให้เกิดความหวาดระแวงต่อกันของพี่น้องชาวไทย ที่ต่างกันเพียงแค่ความเชื่อทางศาสนา ทำให้สังคมพหุวัฒนธรรม อันงดงามแห่งนี้เกิดมลทิน และรอยร้าว

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ด้วยการน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นยุทธศาสตร์หลักในการแก้ไขปัญหา โดยใช้นโยบายสานใจสู่สันติ

ตามแนวทางการเมืองนำการทหาร มาใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน และจากการทุ่มเทการปฏิบัติงานเพื่อนำสันติสุข กลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่มีความคืบหน้า และพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ

ทั้งนี้ มีปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ คือ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพทั้งในเรื่อง การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการจัดการกับปัญหาภัยแทรกซ้อนทำให้สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัย ประชาชนมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในอำนาจรัฐ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตและโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ประชาชนมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และช่องว่างทางสังคมลดน้อยลง การอำนวยความยุติธรรม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม มุ่งเน้นการสร้างความเป็นธรรมในความรู้สึก ทั้งการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการอำนวยความ

สะดวกในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม

มากขึ้น โดยได้มุ่งเน้นในเรื่อง การเสริมสร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐ ให้เข้าใจในนโยบายและความจริงใจของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา ทำให้สามารถขจัดเงื่อนไขที่ถูกบิดเบือน และนำมาใช้เป็นพลังในการต่อสู้ ทั้งในเรื่องเงื่อนไขประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ ควบคู่ไปกับการให้ความเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน

และไม่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเคร่งครัด ทำให้ไม่มีกรณีร้องเรียนจากการละเมิดสิทธิ

มนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่มีประเด็นสำคัญที่จะถูกยกระดับเข้าสู่เวทีสากล

นอกจากนี้ยังได้ขับเคลื่อน กระบวนการสร้างสันติภาพ ด้วยการ สร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติวิธี เพื่อเปิดพื้นที่ให้บุคคลที่มีความเห็นต่างจากรัฐ ได้เข้ามาพูดคุยแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยการยุติการใช้ความรุนแรง รวมทั้งการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่ได้รับผลกระทบจาก

เหตุการณ์ความไม่สงบเดินทางกลับมาใช้ชีวิตในสังคมและครอบครัวอย่างปกติสุข

ผลจากการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์ สามารถเสริมสร้างความเข้าใจกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นต่างจากรัฐ เข้าร่วมประกาศจุดยืนเพื่อต่อสู้ในเชิงสันติซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอุดมการณ์เพื่อประชาชนได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง โดยยุติการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ ซึ่งสิ่งสำคัญของการแก้ปัญหาคือ “การให้เกียรติ การทำความเข้าใจและการเปิดพื้นที่มาพูดคุยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐ มีช่องทางร่วมแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะพวกเขามิใช่อาชญากรโดยสันดาน แต่อาชญากรรมที่เกิดขึ้นมาจากอุดมการณ์ในการต่อสู้ที่ถูกปลูกฝังผิด ๆ มาอย่างยาวนาน ทั้งเงื่อนไข

ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ ดังนั้น การเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยจะสามารถแสวงหา

ทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติวิธี ที่จะนำไปสู่ความสงบสุขได้อย่างแท้จริง” จึงเห็น ได้ว่าการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีอุดมการณ์ต่างจากรัฐให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จะนำไปสู่พื้นฐานสำคัญในการอยู่ร่วมกันภายใต้มิติของความหลากหลายในรูปแบบของสังคมพหุวัฒนธรรม ภายใต้

หลักพื้นฐานทางความคิดที่สำคัญคือ “การยอมรับความเห็นต่างที่ไม่ใช้ความรุนแรง” นี่คือหัวใจสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของ นโยบาย สานใจสู่สันติ ซึ่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้าภายใต้ การนำของ แม่ทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้นำมาใช้เป็นแนวทาง ในการแก้ไขปัญหา ภายใต้เจตนารมณ์ที่ว่า “ผมรับรู้และสัมผัสได้ถึงความรู้สึกของพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผมเคารพและยอมรับในความคิดเห็นของทุก ๆฝ่าย กระทั่งผู้ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ผมรับไม่ได้กับการใช้ความรุนแรงกับพี่น้องประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรง

ดังนั้น ผมตั้งใจและมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการที่จะทำให้วิถีชีวิตของพี่น้องประชาชนมีความปกติสุขให้ได้”ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบรรลุผลและ

ตอบสนองต่อแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำพาวิถีชีวิตของประชาชนสู่ความเป็นปกติ เกิดความปรองดองสมานฉันท์ สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้มิติ ของความหลากหลาย ทั้งเชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรม นำพาสันติสุขคืนสู่พื้นที่ภาคใต้ ให้กลับกลายเป็น ขวานทองด้ามเพชร ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงคำกล่าวของผู้ที่ออกมาแสดงตนเพื่อต่อสู้ตามแนวทางสันติวิธี“ความคิดการกระทำของพวกเราทุกอย่างไม่ได้แสดงชัดเจนให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ประโยชน์ ยังทำให้พวกเขาเหล่านั้นลำบากขึ้นมันเลวร้ายกว่าที่เราคาดไว้ว่าจะดี

ขึ้น มันไม่ใช่อย่างที่เราวางไว้ เราเลยตัดสินใจว่าเราต้องเลิก เราต้องหาทางอื่นแก้ไขโดยไม่ใช้ความรุนแรงเพราะเราเห็นชัดเจนแล้วว่า ความรุนแรงมันไม่เกิดประโยชน์ทั้งตัวเราเองและคนรอบข้าง”

ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้ที่เคยมีความเห็นต่างจากรัฐที่ได้ออกมาพูดคุย เพื่อร่วมแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งมากขึ้น ในขณะที่กระแสปฏิเสธความรุนแรง และประณามการใช้ความรุนแรงของทุกภาคส่วน รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เฉกเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ว่าการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรงไม่เป็นไปตามบทบัญญัติศาสนาเพราะการฆ่าผู้บริสุทธิ์หนึ่งคนเท่ากับ

เป็นการฆ่ามวลมนุษย์ทั้งโลกคำกล่าวของผู้นำศาสนานายแวดือราแม มะมิงจิ ประธาน

คณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า “ถ้าไปถามทุกศาสนิก ทุกศาสนา ก็ต่อต้านในการ

ใช้ความรุนแรง การใช้ความรุนแรงจะกระทบในหลายเรื่อง ทั้งในด้านจิตใจและอื่น ๆ โดยเฉพาะในความสุดโต่ง ในศาสนาอิสลามก็ห้ามแล้ว ตามหลักสากลแล้ว ทุกคนก็ไม่สนับสนุนและต่อต้านการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงทุกรูปแบบ”คำกล่าวของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ คนที่ ๑

“ไม่ได้อะไรเลยจากการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรง มีแต่ความสูญเสียอย่างเดียว และมีความเสียใจ

แต่ละบุคคลที่เสียชีวิตไป บางคนมีครอบครัว มีลูกเล็ก ๆ ที่จะต้องเลี้ยงดู เมื่อสูญเสียไปแล้วเขาจะ

อยู่อย่างไร ขอร้องเถอะค่ะ ไม่ใช่ครอบครัวคุณ คุณไม่รู้หรอก ขอร้องเถอะนะคะ”

คำกล่าวของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ คนที่ ๒“ผู้ก่อการร้ายที่ทำให้พี่น้อง

ของเรา ทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม ซึ่งทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมเราก็เป็นคนไทยด้วยกัน ถ้าเราอยู่ในอดีตภาคใต้ของเราอยู่กันอย่างสงบสุขเป็นพี่เป็นน้อง แต่ตอนนี้เพราะพวกคุณผู้ก่อเหตุรุนแรง ผู้ที่เบี่ยงเบนศาสนา ซึ่งมันไม่เป็นความจริงอย่างที่คุณเข้าใจ แต่ก็ทำร้ายพี่น้องของเรากันเองซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน”คำกล่าวของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ คนที่ ๓“ขอผู้ก่อการร้ายเลิกการกระทำที่ร้าย ๆ แบบนี้ด้วยค่ะ” พูดด้วยเสียงสั่นเครือและร้องไห้อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กอง

อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ได้ตระหนักมาโดยตลอด คือการมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญ

จึงจำเป็นจะต้องปฏิบัติด้วยความรอบคอบ ไม่ให้ผิดกฎหมายและต้องเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนของทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ก่อเหตุรุนแรง เพราะถูกปลูกฝังอบรมให้มีความเข้าใจตรงกันว่า ผู้ที่ก่อเหตุรุนแรงก็มีสิทธิเสรีภาพในการมีชีวิตอยู่ต่อไป และมีสิทธิเสรีภาพในการ

ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมเช่นเดียวกันกับประชาชนทั่วไป เพียงแต่แนวทางในการต่อสู้นั้น จะต้องไม่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้น แนวทางการต่อสู้จะต้องเป็นไปด้วยสันติวิธี ไม่ทำร้ายหรือทำลายชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลอื่น ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม เคารพในหลักสิทธิมนุษยชน มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาในจังหวัด

ชายแดนภาคใต้มาโดยลำดับ ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานดังกล่าวนี้สามารถสร้างความเข้าใจให้แก่พี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดีแต่สำหรับผู้ก่อเหตุรุนแรง ซึ่งยังไม่ยอมรับความปรารถนาดีที่ภาครัฐหยิบยื่นให้ ภาครัฐเองก็ยังไม่ละความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกันต่อไป

การเกิดเหตุร้ายตลอด ๙ ปีเต็มที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ประจักษ์แล้วว่าไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติบ้านเมืองประชาชนในพื้นที่ ที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่ปกติสุขขาดโอกาสในการพัฒนา ทั้งด้านการศึกษา ด้านการประกอบ

อาชีพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม อย่างที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ท่ามกลางความทุกข์ยาก

ลำบากเหล่านี้ นอกจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐซึ่งจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังแล้ว ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป คงถึงเวลาแล้วที่พี่น้องประชาชนทุกคนก็จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และกล้าที่จะปฏิเสธการก่อเหตุรุนแรงในทุกโอกาสอย่างเปิดเผย เพื่อกดดันให้ผู้ก่อเหตุวางอาวุธ ยุติการก่อเหตุรุนแรง หันมาต่อสู้กับภาครัฐด้วยสันติวิธี ภาครัฐเองเปิดโอกาสให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงทุกคนออกมาพูดคุยเพื่อหาทางยุติปัญหา ซึ่งมีผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อเหตุรุนแรงส่วนหนึ่งได้ใช้โอกาสนี้แล้วส่วนผู้ที่พยายามต่อสู้ด้วยวิธีการที่รุนแรงต่อไป ขอตั้งคำถามว่า การก่อเหตุรุนแรงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายผิดหลักศาสนา ไม่เคารพต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือไม่

...เป็นวิธีการสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเองได้หรือไม่...ถ้ายังกระทำการอยู่ต่อไป จะไม่มีโอกาสได้รับชัยชนะในการต่อสู้อีกเลยแต่ถ้าหันมาต่อสู้ด้วยสันติวิธี โอกาสแห่งชัยชนะย่อมเปิดกว้างสำหรับทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น