วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เข้าทาง BRN การดึงมวลชนหน้าใหม่เข้าสู่ขบวนการ

 

หลักสิทธิมนุษยธรรมเห็นได้ว่า “รัฐ” ใช้ทุกหนทางเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่ความต้องการของกลุ่มขบวนการนั้นสั่งให้สู้ตาย เพื่อใช้ซากศพเป็นเครื่องมือทำให้เกิดกระแส ค่านิยม แม้ตายยังทำประโยชนได้รับการยกย่อง

จากหลายเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายต่อผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้เกิดความสูญขึ้นทั้งสองฝ่ายอย่างที่เห็น

แต่การสูญเสียที่ดูจะเป็นเรื่องน่าเศร้าใจสำหรับแนวร่วมนั้น กลับกลาย เป็นเข้าทางของฝ่าย BRN เพราะศพผู้ก่อเหตุความไม่สงบที่ถูกวิสามัญฯ เมื่อนำไปฝัง สามารถใช้เป็นเครื่องมือปลุกระดม เป็นสิ่งปลุกเร้าและสร้างคนรุ่นใหม่เข้าสู่ขบวนการได้ง่าย

การจัดพิธีศพจึงไม่มีการอาบน้ำละหมาด ยกย่องให้ผู้ตายเป็น “ผู้กล้าหาญ” ขณะแห่ศพสู่กุโบร์ก็ตะโกนสรรเสริญไปตลอดทางเยี่ยง “วีรบุรุษ” ที่พลีชีพในฐานะนักรบ

#ทั้งที่ในความเป็นจริง จชต. ไม่ใช่พื้นที่สงคราม

ด้วยเหตุนี้เจ้าหน้าที่จึงหลีกเลี่ยงการ “จับตาย” มากที่สุด เพราะฝ่ายที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่ “รัฐ” หรือหน่วยงานรัฐอื่นๆ แต่ประโยชน์แท้จริงกลับตกอยู่กับฝ่าย BRN โดยเฉพาะในงานมวลชนทำให้ดึงสมาชิกหน้าใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น

ถ้าทำได้ให้ “จับเป็น” แนวร่วม BRN เพราะมีแต่วิธีนี้ที่จะเกิดประโยชน์ต่อภาครัฐ เนื่องจากนำไปสู่การสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ข้อมูลความลับที่ต้องการมากกว่า.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น