วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2568

วันรายอแน วันรวมญาติ-เยี่ยมกุโบร์ของพี่น้องมุสลิมชายแดนใต้

รายอแน” วันรวมญาติ-เยี่ยมกุโบร์ของพี่น้องมุสลิมชายแดนใต้

"รายอแน" หรือ “รายอหก” เป็นประเพณีและวิถีที่ชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต โดยหลังจากถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองวันรายออิฎิลฟิตรี 1 วันในวันถัดไป...

แต่ในอิสลามส่งเสริมให้ถือศีลอดต่ออีก 6 วัน ทั้งเพื่อชดเชยวันถือศีลอดที่อาจจะขาดหายไปในช่วงเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา และเพื่อความตั้งใจถือศีลอดเพิ่มอีก 6 วันในเดือนเซาวาล เพราะจะได้รับผลบุญเท่ากับถือศีลอด 1 ปี

เมื่อเสร็จสิ้นการถือศีลอดครบ 6 วัน ชาวไทยมุสลิมจะถือโอกาสนี้เฉลิมฉลอง "วันรายอแน" หรือ “รายอหก” อีกครั้ง โดยจะเดินทางไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับที่กุโบร์ประจำหมู่บ้าน

“วันรายอแน” ของทุกปี จึงถือเป็นวันรวมญาติ พบญาติ ณ สุสานหรือกุโบร์ปีละครั้ง ทำให้มีผู้คนเดินทางไปยังสุสานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากญาติพี่น้องที่แยกย้ายไปอาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่ ทั้งในและต่างประเทศ จะเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อไปร่วมเยี่ยมสุสานบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ทำให้มีโอกาสได้พบกับญาติพี่น้องและร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน ถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว

เยี่ยมกุโบร์บรรพบุรุษคึกคัก

บรรยากาศที่กุโบร์ในพื้นที่ 3 จชต จะมีพี่น้องมุสลิมเดินทางไปเยี่ยมกุโบร์ของบรรพบุรุษในวัน “รายอหก” กันอย่างคึกคักตั้งแต่ช่วงเช้าหลังละหมาดซุบฮิ (ย่ำรุ่ง) เสร็จแล้ว พร้อมทั้งร่วมทำความสะอาดรอบๆ บริเวณที่ตั้งกุโบร์ จากนั้นบรรดาลูกหลานได้ช่วยกันอ่านอัลกุรอาน ซิกรุลเลาะห์ (รำลึกถึงอัลลอฮ์) สวดดุอาที่บริเวณหลุมฝังศพของบรรพบุรุษและญาติพี่น้องของตัวเอง พร้อมมีการจัดเลี้ยงอาหารให้กับบรรดาผู้มาเยี่ยมกุโบร์

ตูป๊ะ” เมนูคู่ “รายอ"

การเดินสายเยี่ยมญาติและร่วมรับประทานอาหารในเทศกาลรายอแน ทำให้มีอาหารประจำเทศกาลด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ “ตูป๊ะ” หรือ “ตูปัต”

“ตูป๊ะ” คือข้าวต้มใบกะพ้อ มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด นิยมห่อด้วยใบกะพ้อหรือใบจาก ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยม มักจะทำกันในวันก่อนรายอหนึ่งวัน โดยนำใบกะพ้อซึ่งควรใช้ยอดใบที่ยังไม่กางมาสานเป็นลูก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีสามมุม จากนั้นนำข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำที่ผัดกับน้ำกะทิ น้ำตาล และเกลือ ใส่ถั่วขาวหรือถั่วดำเพื่อความอร่อยยิ่งขึ้น มาห่อด้วยใบกะพ้อเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วนึ่งจนสุก “ตูป๊ะ” ที่สุกเหนียวนุ่มละมุนลิ้นก็พร้อมทาน จะจิ้มกับแกงหรือหยิบใส่ปากเปล่าๆ ก็ได้ เพราะอร่อยไม่แพ้กัน

นอกจากตูป๊ะแล้ว ยังมี “ข้าวต้มมัด” ไส้กล้วย อร่อยเหนียวหนึบ เป็นอีกหนึ่งเมนูที่หลายบ้านชอบทำ ขั้นตอนการเตรียมเหมือนตูป๊ะ เพียงเตรียมกล้วยน้ำว้า หรือกล้วยนางยาเพิ่มขึ้น การห่อก็ง่ายกว่า นึ่งพร้อมกันได้เลย

ส่วนเมนูอื่นๆ แล้วแต่ความสะดวกและความชอบของแต่ละบ้านที่สมัยนี้นิยมสั่งมาเลี้ยงแขก หากแต่ต้องมี “ตูป๊ะ” เป็นเสมือนเครื่องเคียง

แม้เหตุการณ์ความรุนแรงที่ต่อเนื่องยาวนานมากว่า 20 ปี ที่ผู้คนในพื้นที่ต้องเผชิญ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังยึดถือปฏิบัติประเพณีอันดีงามนี้ไม่มีว่างเว้น ทั้งถือศีลอด ร่วมเฉลิมฉลอง ออกเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง เป็นภาพของความสมัครสมานสามัคคีปรองดองที่ยังปรากฏอยู่ไม่เสื่อมคลาย

นับจากวันรายอแนไปอีก 70 วัน ก็จะถึงวันฮารีรายออีดิ้ลอัฎฮา หรือ “รายอฮัจญ์” ซึ่งเป็นอีกวันหนึ่งที่มุสลิมทั่วโลกจะได้เฉลิมฉลองกัน เพื่อแสดงความยินดีกับมุสลิมที่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย

วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568

อิสลามไม่ได้ขีดกันการดำรงอยู่ภายใต้การปกครองคนต่างศาสนิก

อิสลามไม่ได้ขีดกันการดำรงอยู่ภายใต้การปกครองคนต่างศาสนิก

คนอิสลามสามารถอยู่ดำรงชีวิตได้ แม้คนต่างศาสนิกปกครอง ที่ให้ความยุติธรรม เสมอภาค และศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญกับความยุติธรรม ความเมตตา และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขกับผู้อื่น ไม่ว่าจะมีความเชื่อหรือศาสนาใดก็ตาม อัลกุรอานและแบบอย่างของศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มุสลิมสามารถอยู่ร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมได้ หากผู้ปกครองหรือสังคมนั้นปฏิบัติด้วยความยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และเคารพในสิทธิพื้นฐานของทุกคนอย่างเสมอภาค

ในประวัติศาสตร์อิสลามเองก็ปรากฏตัวอย่างมากมายที่มุสลิมสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้การปกครองของผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ตราบเท่าที่มีการคุ้มครองความปลอดภัย เสรีภาพในการนับถือศาสนา และมีระบบกฎหมายที่ยุติธรรม อิสลามไม่ได้สั่งห้ามการอยู่ร่วมกับผู้ต่างศาสนิก แต่กลับส่งเสริมให้มุสลิมแสดงความดี มีจริยธรรม และทำคุณประโยชน์แก่สังคมรอบข้าง ดังที่โอการอัลกุรอานกล่าวว่า: "แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบัญชาให้พวกเจ้าดำรงความยุติธรรม ทำดี และให้แก่เครือญาติ..." (อัน-นะห์ล 16:90)

ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าความยุติธรรมเป็นหลักการที่อิสลามยึดมั่น และเป็นหลักที่สามารถใช้ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมได้ หากผู้ปกครองไม่ใช่มุสลิม แต่ปฏิบัติอย่างยุติธรรมกับประชาชนทุกคน ไม่กดขี่หรือจำกัดสิทธิของมุสลิม มุสลิมก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข และยังสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างเต็มที่

ดังนั้น ความศรัทธาของมุสลิมไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดด้วยอัตลักษณ์ของผู้ปกครอง แต่ขึ้นอยู่กับหลักการที่ยึดมั่นในความยุติธรรม เสมอภาค และการเคารพในสิทธิมนุษยชน

รัฐไทยสนับสนุนความแตกต่างทางอัตลักษณ์สู่สันติ

รัฐไทยสนับสนุนความแตกต่างทางอัตลักษณ์สู่สันติ

ในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีความหลากหลายทั้งด้านชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา การสร้างความเข้าใจระหว่างกันเป็นรากฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ บทบาทของศาสนาอิสลามและหน่วยงานภาครัฐจึงมีความสำคัญในการหล่อหลอมสังคมให้ไม่ตกอยู่ภายใต้ความหวาดระแวงหรือการแบ่งแยก

อิสลามไม่สนับสนุนความแตกแยก

ศาสนาอิสลามมีหลักการที่ชัดเจนในการห้ามการปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกในหมู่มนุษย์ ไม่ว่าจะในมิติของศาสนา เชื้อชาติ หรืออุดมการณ์ อัลกุรอานได้กล่าวถึงความสำคัญของเอกภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในหลายบท โดยเน้นย้ำว่าความแตกต่างนั้นเป็นสิ่งที่พระเจ้าประสงค์ เพื่อให้มนุษย์เรียนรู้ซึ่งกันและกัน มิใช่เพื่อก่อความขัดแย้ง "และจงยึดมั่นเชือกของอัลลอฮ์ทั้งหมด และอย่าแตกแยกกัน..." (อัลกุรอาน 3:103)

ข้อความนี้สะท้อนเจตจำนงค์ของศาสนาอิสลามที่มุ่งส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกันของสังคมมนุษย์ การปลุกระดมด้วยถ้อยคำแห่งความเกลียดชัง การแยกแยะคนออกจากกันด้วยเชื้อชาติหรือศาสนา ถือเป็นการละเมิดหลักศรัทธาอย่างชัดเจน

ศาสนาอิสลามยังกำชับว่า ผู้ที่ทำลายความสงบในสังคม หรือผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์ผ่านความขัดแยก จะต้องได้รับการปฏิเสธจากชุมชน ผู้ศรัทธาจึงมีหน้าที่ในการส่งเสริมสันติภาพ และยับยั้งการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่ความเกลียดชัง แม้บุคคลนั้นจะแสดงตนว่าเป็นมุสลิมก็ตาม

ความเข้าใจจากภาครัฐไทย : สนับสนุนความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์

ในด้านของภาครัฐไทย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ชายแดนใต้ ได้มีพัฒนาการที่น่าสนใจในการสนับสนุนความหลากหลายทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของประชาชน เจ้าหน้าที่จำนวนมากตระหนักถึงความสำคัญของการเคารพและสนับสนุนความแตกต่าง ไม่เพียงแค่ในเชิงวัฒนธรรม แต่รวมถึงความเชื่อและวิถีชีวิต

โครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมการใช้ภาษามลายูถิ่นในโรงเรียน สนับสนุนเครื่องแต่งกายตามหลักศาสนาในหน่วยงานรัฐ หรือการร่วมพิธีกรรมของชุมชนในฐานะผู้สนับสนุน ล้วนเป็นภาพสะท้อนของความพยายามสร้างสะพานเชื่อมโยงความเข้าใจ ไม่ใช่กำแพงแบ่งแยก

เจ้าหน้าที่รัฐที่มีแนวคิดเปิดกว้าง มองเห็นว่าอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็น “ทุนทางสังคม” มากกว่าจะเป็น “อุปสรรคต่อความมั่นคง” ทำให้สามารถวางนโยบายในลักษณะ “การพัฒนาเพื่อสันติภาพ” มากกว่า “การควบคุมเพื่อลดความเสี่ยง”

การมีบทบาทเชิงบวกนี้ ช่วยลดแรงต่อต้านจากชุมชน เพิ่มความไว้วางใจ และเปิดโอกาสให้ภาครัฐทำงานร่วมกับท้องถิ่นได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยิ่งเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ได้มีอคติต่อศาสนาอิสลามหรือวิถีชีวิตของชาวมุสลิม ความร่วมมือจึงเกิดขึ้นบนฐานของ “ความเคารพซึ่งกันและกัน” ไม่ใช่แค่ “ความจำยอม”

การอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ

สังคมไทยมีความหลากหลายเป็นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่รัฐจึงควรเป็นแบบอย่างของความเข้าใจอัตลักษณ์ที่แตกต่าง ในขณะเดียวกัน ผู้นำศาสนา และประชาชนที่มีศรัทธาควรส่งเสริมอิสลามในแบบที่ไม่สร้างกำแพง ไม่ตัดสินผู้อื่น และไม่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองหรืออุดมการณ์สุดโต่ง

ความสันติสุขที่แท้จริงจึงไม่ได้เกิดจากความเหมือนกันทั้งหมด หากแต่เกิดจาก “การอยู่ร่วมกันอย่างต่างอย่างเข้าใจ” บทบาทของศาสนาและรัฐจะต้องเดินคู่กัน เพื่อขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความมั่นคงที่มีรากฐานจากหัวใจของประชาชน

อิสลามที่แท้จริง ไม่ชักจูงคนอื่นให้เข้าใจผิดก่อให้เกิดความแตกแยก

อิสลามที่แท้จริง ไม่ชักจูงคนอื่นให้เข้าใจผิด ก่อให้เกิดความแตกแยก

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ ความเมตตา และความยุติธรรม หลักคำสอนของศาสนาอิสลามมุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขกับเพื่อนมนุษย์ทุกศาสนา ทุกเชื้อชาติ และทุกวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ศรัทธามีความอดทน ให้อภัย และประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในหนทางที่ดีงาม

ในยุคปัจจุบัน มีบางกลุ่มหรือบุคคลที่อาจนำหลักการของศาสนาไปใช้ในทางที่ผิด หรือตีความคำสอนเพื่อตอบสนองเป้าหมายส่วนตน เช่น การสร้างความเกลียดชัง การแบ่งแยก หรือแม้แต่การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการชักจูงผู้อื่นให้เข้าใจผิดในทางลบ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แก่นแท้ของอิสลาม แต่เป็นการบิดเบือนสาระสำคัญของศาสนาอย่างสิ้นเชิง

อิสลามที่แท้จริงไม่ส่งเสริมให้ผู้คนแตกแยกกัน ไม่ยุยงให้เกิดความเกลียดชังหรือความรุนแรง ตรงกันข้าม ศาสนาอิสลามสอนให้มนุษย์มีความเคารพต่อกัน มีจริยธรรมในการสื่อสาร และหลีกเลี่ยงการใส่ร้ายหรือสร้างความเข้าใจผิด เพราะการกระทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการทำลายสังคมและขัดต่อหลักของอิสลาม

ดังนั้น หน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนคือการเป็นแบบอย่างที่ดี นำเสนอศาสนาอย่างถูกต้องและจริงใจ ด้วยคำพูดและการกระทำที่สอดคล้องกับหลักศาสนา เพื่อให้ผู้อื่นมองเห็นความงดงามของอิสลามที่แท้จริง ไม่ใช่ผ่านภาพลวงตาหรือคำบิดเบือน

การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เข้าใจและเคารพในความแตกต่าง คือสิ่งที่ศาสนาอิสลามเรียกร้องและสนับสนุนอย่างแท้จริง

ประเทศไม่ใช่ดารุลฮารบี แต่เป็นแผ่นดินที่ให้เสรีภาพแก่ทุก ๆ ศาสนา

ประเทศไม่ใช่ดารุลฮารบี แต่เป็นแผ่นดินที่ให้เสรีภาพแก่ทุก ๆ ศาสนา

คำว่า “ดารุลฮารบี” ในหลักศาสนาอิสลามหมายถึงดินแดนที่เป็นศัตรูกับอิสลามหรือดินแดนที่มีสงครามกับชาวมุสลิม แต่คำนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันได้ เพราะในความเป็นจริง ประเทศของเรานั้นให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างเปิดกว้าง ให้สิทธิในการประกอบศาสนกิจอย่างเสรี และให้ความเท่าเทียมกับศาสนิกชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

บ้านเมืองที่เราอยู่นี้ ไม่เพียงแต่ให้โอกาสแก่ทุกศาสนาในการเผยแผ่หลักธรรมและความเชื่อของตน แต่ยังคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างเท่าเทียม นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศของเราไม่ใช่ศัตรูของศาสนา แต่คือบ้านที่เปิดกว้างให้ทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุข

ในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เราต่างมีหน้าที่เดียวกัน คือ การตอบแทนคุณแผ่นดิน ด้วยความดี ด้วยการเคารพกฎหมาย ยึดมั่นในคุณธรรม และร่วมมือกันสร้างสังคมที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรือง

ศาสนาอิสลามเองก็สอนให้เรากตัญญูต่อผู้มีพระคุณ และแผ่นดินที่ให้เราอาศัย พักพิง และดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข ก็สมควรได้รับความกตัญญูจากเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นด้วยการทำความดี การทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด หรือการช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

เมื่อเราได้รับสิทธิและเสรีภาพแล้ว หน้าที่ของเราคือการใช้สิทธินั้นอย่างมีคุณค่า และใช้เสรีภาพนั้นเพื่อสร้างประโยชน์ ไม่ใช่ทำลาย นี่คือวิถีของพลเมืองที่ดี และเป็นหนทางของผู้ศรัทธาที่แท้จริง

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568

เราทุกคนล้วนแตกต่าง เราต้องเข้าใจความต่างของกันและกัน

เราทุกคนล้วนแตกต่าง เราต้องเข้าใจความต่างของกันและกัน

เราทุกคนล้วนแตกต่าง เราต้องเข้าใจความต่างของกันและกัน และหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกันให้ได้ เพราะคุณเองก็ไม่สามารถอยู่บนโลกใบนี้อย่างโดดเดี่ยวได้แน่ๆ จริงไหม?

แต่การอยู่ด้วยกันบนความแตกต่างนี่แหล่ะที่สร้างความขัดแย้งขึ้นในสังคม บ่อยครั้งที่เรารู้สึกไม่พอใจกับการกระทำของคนอื่น เราต่อว่า เราทะเลาะกัน เพราะด้วยความคิดที่แตกต่าง ทุกครั้งที่เรามีปากมีเสียงไม่ว่ากับใครก็ตาม เรามักจะคิดว่าเราอยากเป็นผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้ แต่ลืมอะไรไปหรือเปล่า ผู้ชนะในเวทีนี้ไม่มีจริง ไม่มีใครเคยได้รางวัล "เถียงเก่งอวอร์ด" หรอกนะ!!

เชื่อว่าทุกการกระทำของแต่ละคนล้วนมีเหตุผล เราต่างอยากให้เหตุผลของเราเป็นที่ยอมรับ แต่เรากำลังมองแต่มุมของตัวเองมากเกินไปหรือเปล่า เราเคยเปลี่ยนที่ยืนแล้วมองในมุมของคนอื่นบ้างไหม? บางครั้งเขาอาจจะมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้เขาต้องทำอย่างนั้นหรือเป็นอย่างนั้นก็ได้

ท้ายที่สุดจุดจบของการไม่เข้าใจกัน คนก็มักตัดสินปัญหาด้วยการแยกทาง เลิกคบ หรือไม่ก็กลายเป็นคนเกลียดขี้หน้ากันไปเลย นั่นอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทำความเข้าใจกันเสียใหม่

ต้นเหตุของปัญหาทั้งมวลคือ "ความไม่เข้าใจกัน" สิ่งที่เราต้องทำคือ "ต้องพยายามทำความเข้าใจคนอื่นให้มาก" แล้วไม่ต้องไปคาดหวังหรอกว่า "ทำไมเขาไม่เข้าใจเราบ้าง" เพราะนั่นก็เป็นเหตุที่ทำให้เถียงกันไม่รู้จบเหมือนปัญหาไก่กับไข่ ลองรับฟัง ทำความเข้าใจคนอื่นให้มาก เพราะถ้าไม่มีใครยอมฟังโจทย์ พวกคุณก็จะไม่มีทางหาผลลัพธ์นั้นได้เลย

เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่าง

เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่าง

สังคมพหุวัฒนธรรม  ความงดงามบนดินแดนปลายด้ามขวาน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือได้ว่า เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เพราะประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้ความแตกต่างเพื่อป้องกันความแตกแยก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนในพื้นที่พึงปฏิบัติ เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ยอมรับในความแตกต่าง

สังคมพหุวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์สำคัญ คือ การอยู่ร่วมกันของผู้คนท่ามกลางความหลากหลายอย่างกลมกลืน ซึ่งความหลากหลายที่ปรากฎในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่ "เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์ศาสนา/ความเชื่อภาษาวิถีการดำเนินชีวิตขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี จารีต"

การเคารพและการยอมรับความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง ควรเปิดใจให้กว้าง ปรับตัวให้เข้ากับคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีความระมัดระวังในการกระทำและคำพูด ที่อาจนำมาซึ่งความแตกแยกขัดแย้ง ตลอดจนเคารพในหน้าที่ สิทธิเสรีภาพของกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย

เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่าง ความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนมีความยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติหรือให้สิทธิพิเศษเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ