ซัดกลับ รอมฎอน
โยนบาปให้รัฐไม่ประณามโจรใต้ เป็น สส.หรือแนวร่วมฯ
ชาวเน็ตรับไม่ได้
รุมจวก “รอมฎอน” โพสต์ป้องโจรใต้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
จี้ถามเป็นผู้แทนของไทยจริงหรือ ด้อมส้มหัวจะปวดอาการหนักกว่าแก้วตา ด้าน
“รองโฆษกเพื่อไทย” ซัดโยนบาปให้รัฐบาล หาความชอบธรรมให้พวกก่อการร้าย
“พายุ”
ซัดกลับ “รอมฎอน” โยนบาปรัฐบาล ไม่ประณามโจรใต้ก่อเหตุ
โซเชียลจวกซ้ำเป็นสส.หรือแนวร่วมฯ
ยังคงถูกวิจารณ์อย่างต่อเนื่องสำหรับนายรอมฎอน
ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน
ที่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเหตุความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้
โดยไม่ประณามฝ่ายผู้ก่อเหตุ แต่กลับตำหนิรัฐบาล ไม่เตรียมการรับมือ
จนทำให้เจ้าตัวถูกตั้งข้อสงสัยไปต่างๆนาๆ
ล่าสุดเมื่อ
9 มีนาคม 68 เวลา 13.50 น. นายรอมฏอน ยังใช้เฟสบุ๊กแชร์โพสต์ของนายไพศาล พืชมงคล
ที่ตั้งคำถามผู้ที่ไม่ประณามคนร้าย แต่กลับมาด่ารัฐบาล
จากเหตุกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ก่อเหตุโจมตีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
ทำให้ปัญหาไม่จบสิ้น
ซึ่งนายรอมฏอนตอบโต้ว่า
เพราะรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภา และประชาชนครับ
ฝ่ายก่อการเขาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อประชาชนอย่างนี้
นี่เป็นความชอบธรรมและจุดแข็งของรัฐบาล ที่สำคัญนายกฯ และผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาล
ยังคงมีอำนาจที่ได้เปรียบกว่าในการกำหนดสถานการณ์ให้ดีกว่านี้
เพียงแต่ต้องตั้งหลักให้ดีๆ และมีความกล้าหาญครับ
ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าว
มีชาวเน็ตเข้ามาวิจารณ์นายรอมฏอนฯ เป็นจำนวนมาก อาทิ
- อะไรคือฝ่ายก่อการ
ฯ เขาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ นี่เป็นคำพูดที่ออกมาจาก สส.ของประเทศไทยจริงๆ ดิ
- ท่านเป็น
สส.เพื่อประชาชนคนไทย หรือเป็นแนวร่วม BRN ถามด้วยความสงสัยครับ
- ทำไมก่อการร้าย
ไม่ต้องรับผิดชอบ ลอบทำร้ายวางระเบิด เจ้าหน้าที่ ประชาชน เจ็บตาย
บอกรัฐบาลต้องรับผิดชอบ เฮ้ยท่านเป็นคนของใครกันแน่ครับ
เปิดหน้าออกมาเลยดีกว่าครับ
- เมื่อไรพรรค จะเอาคนแบบนี้ออก
หัวจะปวด อาการหนักกว่าแก้วตาอีก
ขณะที่นายพายุ
เนื่องจำนงค์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ทวิตข้อความโต้นายรอมฏอนว่า ความกล้าหาญ
เริ่มจากการยอมรับว่าโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นนั้นคือ “การก่อการร้าย” ที่เกิดจาก
“ผู้ก่อการร้าย”
ไม่ใช่กลายเป็นการเล่นคำเพื่อลดความร้ายแรงของคำเรียกผู้ก่อเหตุในครั้งนี้ และควรออกมาประณามพฤติกรรมการเลือกใช้ความรุนแรง
ไม่ใช่ปฏิเสธความผิดให้กับผู้ก่อเหตุ และหักเหโยนบาปหรือโยนความรับผิดชอบมาให้กับรัฐบาลแทนเช่นนี้
เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ครับ
นายพายุ
ระบุอีกว่า รัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อประชาชน อันนี้ถูกต้องครับ เช่น เดียวกันกับ
สส.ในสภาที่มีหน้าที่ต่อประชาชน เมื่อประชาชนถูกเข่นฆ่าโดยผู้ก่อการร้าย
รัฐบาลก็ต้องเดินหน้าในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนเสียก่อน
รวมไปถึงการใช้มาตรการต่างๆที่จำเป็นในการติดตามเอาตัวผู้กระทำผิดในครั้งนี้มาดำเนินคดี
แล้วไม่ควรมาถูกผูกข้อมือด้วยวาทกรรม “เจรจาสันติภาพ” จาก สส.ในสภา
มันเป็นคนละเรื่องกัน เพราะรัฐบาลก็ได้พยายามดับ “ไฟใต้”
ด้วยแนวทางการแก้ไขต่างๆอย่าง “สันติวิธี” มาก่อนหน้านี้
แต่การจะมาปัดตกพฤติกรรมของผู้ก่อการร้าย
และหาความชอบธรรมให้กับการก่อการร้ายในครั้งนี้
ก็เสมือนจะบอกว่าความสูญเสียกับชีวิตที่เกิดกับประชาชนนั้นเป็น “ราคาที่ต้องจ่าย”
หากรัฐบาลไม่ยอมที่จะ “เจรจา” กับผู้ก่อการร้าย?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น