วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

วิเคราะห์สถานการณ์ชายแดนใต้

 

วิเคราะห์สถานการณ์ชายแดนใต้

BRN, NGO แนวร่วม รวมหัวจี้รัฐบาลเร่งการเจรจาพูดคุย รุกหนักเกมการเมือง เร่งแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ซึ่งยังคงเป็นอุปสรรค์ใหญ่ขัดขวางการแบ่งแยกดินแดน โดยใช้ พระราชบัญญัติ ชาติพันธุ์ เป็นใบเบิกทาง

ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง มิติใหม่ ยากที่จะพบเห็น เมื่อกลุ่มก่อเหตุ ผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากร เป็นฝ่ายต้องการให้มีการเจรจาพูดคุย ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาต้องยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาว่า การเจรจาพูดคุย ระหว่าง BRN กับ รัฐบาลไทย นั้นประเทศไทยเรามีแต่เสียกับเสีย ผลประโยชน์ ข้อเรียกร้องต่างๆตกไปยังฝ่าย BRN แม้แต่ข้อเรียกร้องของไทยที่ต้องการให้กลุ่ม BRN หยุดทำร้ายชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ก็กลับยังไม่ได้รับการตอบรับ ยกตัวอย่างเช่นก่อนหน้านี้มีการตกลงหยุดยิงกำหนดเดือนรอมฎอนสันติสุข มีการปล่อยให้ขบวนการได้ประกอบศาสนากิจ อำนวยความสะดวกต่างๆนาๆถือว่าทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกันได้อย่างสวยหรู แต่ที่รัฐบาลไทยเหมือนโดนตบหน้านั้น คือ เมื่อเข้าสู่ช่วงเข้าพรรษา มีการเจรจาขอให้หยุดความรุนแรงเพื่อให้พื้นที่ พี่น้องไทยพุทธได้ประกอบศาสนกิจ เช่นเดียวกับพี่น้องไทยมุสลิมอย่างเดือนรอมฎอนสันติสุข แต่สุดท้ายขบวนการกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลับปฏิเสธ ซ้ำยังก่อเหตุหนักขึ้น รัฐบาลไทยเสมือนถูกหักหลัง

ซึ่งต่อมาเกิดแรงต้านจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในพื้นที่เอง นอกพื้นที่ หรือกลุ่มนักวิชาการด้านต่างๆ ออกมาแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการพูดคุย ที่ประเทศไทยเรามีแต่เสียกับเสีย แต่กลับสนับสนุนให้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด รุนแรง รวมไปถึงแนวคิดสนับสนุน พรบ.ก่อการร้าย ที่คนพื้นที่เรียกร้องมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงเรียกร้องกำหนดโทษประหารชีวิตกลุ่มผู้ก่อการร้าย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากคนไทยทั่วประเทศจำนวนมาก

แต่กลับมีเพียงกลุ่ม NGO และนักการเมืองในพื้นที่ ที่ถูกมองว่าสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน ยังคงผลักดันให้รัฐบาลไทยเจรจาโดยเร็วที่สุด และคู่ขนานไปกับการกดดันให้มีการเร่งแก้ไขรับธรรมนูญ โดยมีเป้าหมายหลักคือการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 1 รวบไปถึงกลุ่ม BRN ก่อเหตุในพื้นที่ถี่ขึ้นพร้อมเพียงกันกับการเรียกร้องของฝ่ายการเมือง ถือได้ว่าทำงานได้อย่างประสานสอดคล้องกันอย่างลงตัว เป็นขบวนการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น