สังคมในจังหวัดชายแดนใต้ของบ้านเราที่ผ่านมา
ทุกคนอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสงบสุข เข้าใจกัน ดำเนินวิถีชีวิตร่วมกัน
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมอย่างกลมกลืน
เอกลักษณ์ที่สำคัญของบ้านเราคือ สังคมแบบพหุวัฒนธรรม
สังคมแบบพหุวัฒนธรรมคือการอยู่ร่วมกันของผู้คนท่ามกลางความหลากหลายอย่างกลมกลืน
ซึ่งความหลากหลายที่ปรากฏในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่ เชื้อชาติหรือชาติพันธุ์
ศาสนา/ความเชื่อ ภาษา วิถีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี จารีต
ที่ผ่านมาและปัจจุบัน พี่น้องไทยพุทธมักจะร่วมงานประเพณีต่างๆ
ของชาวไทยมุสลิม เช่น กวนอาซูรอของพี่น้องไทยมุสลิม การแต่งกาย
การจัดประเพณีงานแต่งงาน การร่วมบริจาคทำบุญ
เพื่อพัฒนามัสยิดซึ่งเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของพี่น้องไทยมุสลิม
พี่น้องไทยมุสลิมก็เข้าร่วมประเพณีของชาวไทยพุทธ ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาหมู่บ้าน
พัฒนาวัดในพื้นที่ สำหรับในด้านอาหารการกินก็มีให้เลือกรับประทานอย่างหลากหลาย
ทั้งอาหารไทย อาหารจีน อาหารมุสลิม เช่น มะตะบะ กือโป๊ะ
ไก่กอและก็เป็นอาหารที่นิยมของผู้คน จากความหลากหลายทางสังคม
และวัฒนธรรมทำให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้ง
และความรุนแรงในพื้นที่อยู่บ้างก็ตาม
แม้ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างในสังคมเดียวกันจะมีอยู่ทั่วไป ไม่ใช่เพียงแต่ที่บ้านเรา แต่หากเราทุกคนมีระบบการจัดการที่มีคุณภาพ มีการเคารพ และยอมรับซึ่งความแตกต่าง มีความไว้ใจ และมีความปรารถนาดีต่อกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้พี่น้องประชาชน
ที่บ้านเราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ขอเพียงให้เราทุกคนอย่าได้หลงเชื่อ.หรือตกเป็นเหยื่อ.ของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรใดใดที่พยายามปลุกกระแสความเกลียดชัง แบ่งแยกภาษา.ศาสนา.เป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงเราได้ตกเป็นเหยื่อของบรรดาผู้หวังผลประโยชน์ ที่มุ่งทำลายสังคมให้เกิดความแตกแยก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น