วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เราอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ่บนวิถีสังคมพหุวัฒนธรรม

เราอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ่บนวิถีสังคมพหุวัฒนธรรม

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าสิ่งที่กลุ่มขบวนการ BRN กลัวยิ่งกว่าอาวุธไหนๆ คือความรักความสามัคคี การที่พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ร่วมกันภายใต้“สังคมพหุวัฒนธรรม” (MULTICULTURAL-SOCIETY) หรือ สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย หลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วย และคัดค้านตั้งคำถามอยู่ในใจว่าจริงหรือ? ฉะนั้นเรามาดูเหตุและผลกันว่าทำไม? BRN ถึงได้กลัวกันค่ะ

ย้อนกลับไปก่อนที่จะมีการ “จุดคบไฟใต้” โดยกลุ่มขบวนการ BRB เมื่อต้นปี 2547 หากยังจำกันได้พี่น้องในพื้นที่ 3 จชต.และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ภายใต้ความแตกต่างด้านอัตลักษณ์ เชื้อชาติ และศาสนา รวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลาย ช่วยเหลือซึ่งกันแบ่งปันถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน

แต่หลังจากเหตุการณ์ “วันเสียงปืนแตก” กลุ่มขบวนการ BRN ทำการปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง การใช้ชีวิตอย่างสงบสุขของพี่น้องใน จชต.ได้แปรเปลี่ยนไป

สิ่งที่กลุ่มขบวนการ BRN กลัวที่สุดคือ การอยู่ร่วมกันแบบ“สังคมพหุวัฒนธรรม”เพราะฉะนั้น หากสังเกตพฤติกรรมที่ผ่านมา“สังคมพหุวัฒนธรรม”เป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ที่กลุ่มขบวนการมุ่งทำลายควบคู่กับการก่อเหตุสร้างความหวาดกลัวหวาดระแวงในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง

การสร้างความหวาดกลัว ความหวาดระแวงจึงเริ่มต้นขึ้น ผู้คนในชุมชนที่เคยมีความรักความสามัคคีกลมเกลียวกันค่อยๆ ถูกทำลายทีละน้อยทีละนิดจนกระทั่งเริ่มเลือนหายไปจากสังคม การแบ่งเค้าแบ่งเรา แบ่งฝักแบ่งฝ่ายมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง รูปแบบการก่อเหตุของกลุ่มขบวนการจงใจมุ่งเป้าไปที่คนต่างศาสนา ศพแล้วศพเล่า เริ่มถี่ขึ้นๆ เพื่อสร้างแรงกดดัน ความเกลียดชัง ของผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม มีการก่อเหตุย่ำยีจิตใจของผู้นับถือศาสนาพุทธ ด้วยการเข่นฆ่าพระภิกษุสงฆ์ขณะกำลังบิณฑบาต มีการทำลายพระพุทธรูป และโกศเก็บกระดูกของบรรพบุรุษ เพื่อสร้างความโกรธแค้นบีบคั้น

กลุ่มขบวนการ BRN ต้องการให้เกิด “สังคมวัฒนธรรมเดียว” (Monoculural society) ไม่ใช่ “สังคมพหุวัฒนธรรม”( Multicultural society หรือ “สังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย” ไม่มีการเปรียบเทียบสังคมชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีน ทั้งที่ความเป็นจริงคาบมหาสมุทรมลายูแห่งนี้เป็นสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะประกอบไปด้วย คนจีน มลายู และไทย ที่อยู่ร่วมอาศัยมาตั้งแต่ในอดีตกาล

ในเมื่อกลุ่มขบวนการกลัว“สังคมพหุวัฒนธรรม”การเสี้ยมก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมจึงอุบัติขึ้น มีการยุแหย่สร้างเรื่องสร้างประเด็นกล่าวหารัฐบาลไทยคือ “ตัวการทำลายอัตลักษณ์” ตัวตนความเป็นมลายู ถูกกลืนกินด้วยการยัดเยียดให้มีการเรียนการสอนภาษาไทย จนเยาวชนมลายูมุสลิมอ่านคัมภีร์อัลกุรอานไม่ออก

น่าแปลกใจที่สังคมสมัยใหม่ โลกได้ก้าวไกลไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว หลายประเทศ ซึ่งไม่มีการเรียนการสอนวิชาภาษามลายู หรือแม้แต่ภาษาอาหรับ แต่กลับชนะเลิศเมื่อมีการแข่งขันการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน นักกอรีที่เป็นมุสลิมภาคกลางในประเทศไทยเรา ซึ่งไม่ใช่มลายูมุสลิม 3 จชต.ก็เคยชนะมาแล้ว

ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงข้ออ้างของกลุ่มขบวนการ เพื่อต้องการทำลายในสิ่งที่ขบวนการกลัวคือ “สังคมพหุวัฒนธรรม”ไม่ต้องการให้พื้นที่แห่งนี้สงบสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะเมื่อไหร่ที่สังคมเข้มแข็ง ผู้คนมีความรักความสามัคคี ชุมชนสามารถดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับคนในชุมชนและครอบครัวตนเองได้ เมื่อนั้นสังคมจะโดดเดี่ยวกลุ่มขบวนการ และไม่สามารถทำการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ได้

คัมภีร์อัลกุรอาน” แปลเป็นไทยแล้วมีความหมายว่า “สังคมต้องการมิตรภาพและสันติภาพ” ซึ่งเชื่อว่ามวลมนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ เป็นพี่น้องกัน สามารถที่จะร่วมกันสร้างมิตรภาพ และสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ทุกแห่งหนได้

ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปี การเกิดไฟใต้ กลุ่มขบวนการ BRN ได้ทำลายกำแพงกั้น“สังคมพหุวัฒนธรรม”ให้แตกสลาย สร้างความหวาดกลัวหวาดระแวงไปทั่วทุกหย่อมหญ้า รัฐบาล เร่งทำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้ให้มี “ความปลอดภัย สงบสันติ”พัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในพื้นที่ ให้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาของทุกฝ่าย

เราจะต้องมุ่งให้สังคมไทย และสังคมในพื้นที่ จชต.ยอมรับและเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันภายใต้ “สังคมพหุวัฒนธรรม” และร่วมกันแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งจะต้องพัฒนาศักยภาพของคน สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อดึงนักลงทุนมาประกอบการในพื้นที่ สร้างความเชื่อมั่นและหลักประกันความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยสันติสุข และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นต่อสังคม ทั้งในและต่างประเทศ

เมื่อรัฐบาลให้ความสำคัญของการอยู่ร่วมกันภายใต้ “สังคมพหุวัฒนธรรม” สร้างเกราะคุ้มกันสร้างกำแพงป้องกัน มิให้กลุ่มขบวนการทำลาย สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม ให้ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มทั้งในและนอกพื้นที่ บนหลักพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะ “การสร้างพื้นที่ปลอดภัย”อีกไม่นานดอก สันติภาพจะเบ่งบานนำพาสันติสุข ผลิดอดออกผล ณ ดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น