วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565

การไม่ยอมรับ การอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างศาสนิก

 

คนบางส่วนในพื้นที่เชื่อว่า มุสลิมหรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ไม่อนุญาตให้อยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างศาสนา(กาฟิร) มีการปลุกระดมปลูกฝังแนวคิดนี้สู่ประชาชนจนกลายเป็นปัญหาหนึ่งในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

การที่มุสลิมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่มิใช่มุสลิมนั้น มิได้เป็นข้อต้องห้ามตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามแต่ประการใด ไม่เพียงเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ศาสนิกอื่นก็เช่นกัน ถ้ารัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความอธรรม กดขี่ลิดรอนสิทธิทางศาสนา ก็เป็นสิทธิที่เขาเหล่านั้นจะลุกขึ้นต่อสู้กับความอธรรมและการถูกกดขี่ แต่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มิได้เป็นเช่นนั้นไม่มีความอธรรมหรือการกดขี่ทางศาสนาแต่อย่างใด

เจ้าหน้าที่หรือรัฐบาลให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนาอย่างเต็มที่ ไม่มีว่าจะเป็นเงินสนับสนุนบำรุงมัสยิด เงินค่าตอบแทนให้กับครูตาดีกา และทุนการศึกษา สนับสนุนการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์,อุมเราะห์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในห้วงเดือนรอมฎอน ให้การสนับสนุนอิทผาลัมของกินของใช้ที่จำเป็นแจกจ่ายให้กับพี่น้องในพื้นที่ เปิดโลกทัศน์มุมมองด้วยการเชิญผู้นำทางศาสนาจากต่างประเทศมาบรรยายธรรมเป็นประจำทุกปี เจ้าหน้าที่ร่วมดูแลพี่น้องมุสลิมในพื้นที่อย่างดีเยี่ยม  จัดชุดแพทย์เดินเท้าเข้าให้การรักษาถึงบ้าน

รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่างๆ ให้มีความเจริญ เช่น การปรับปรุงถนนหนทาง สาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายของพี่น้องประชาชน

ปัจจุบันคนในพื้นที่เองได้รู้ได้เห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้ อีกทั้งยังเชื่อมั่นว่าพื้นที่แห่งนี้มิได้ มีการกดขี่ข่มเหงหรือเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด รัฐมีแต่ให้การสนับสนุนทุกอย่างเพื่อให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตามประวัติศาสตร์อิสลาม ตามรายงานของมุฮัมหมัด อิบนิอิสฮากในหนังสือ ซีรอตุรรอซูลลุลลอฮฺ บันทึกไว้ว่า เมื่อบรรดาสาวกของท่านศาสนาดา มูฮัมหมัด (ศอลฯ) ได้รับการกดขี่ ซึ่งศาสนาดา ไม่สามารถปกป้องทุกคนได้ ท่านจึงได้สั่งให้สาวกของท่านจำนวนหนึ่งอพยพไปยังอบิสสิเนีย (ฮาบาซะอ์หรือเอธิโอเปียในปัจจุบัน) ซึ่งกษัตริย์อัลาบายาซีร์แห่งอบัสสิเนียเป็นชนต่างศาสนิก แต่เป็นกษัตริย์ ที่มีคุณธรรมสูงนับเป็นการอพยพครั้งแรกของมุสลิมที่มีขึ้นในปี ฮ.ศ.ที่ 5 กษัตริย์ อัลบายาซีร์ แห่งอบิสสิเนีย ได้ให้การตอนรับบรรดามุสลิม และทรงประทานที่พำนักให้ผู้อพยพเหล่านั้น

ต่างมีความสุขที่ได้อยู่กับสันติภาพความมั่นคงและเสรีภาพในการนับถือศาสนา และในปี ฮ.ศ.ที่  6 มีการอพยพของมุสลิมไปยังอบิสสิเนียอีกครั้งหนึ่งซึ่งครั้งนี้มุชรีกีนจากมักกะฮ์ ได้ส่งตัวแทนไปเจรจากับกษัตริย์อัลบายาซีร์แห่งอบิสสีเนีย ขอรับผู้อพยพทั้งหมดกลับมักกะฮ์ เพื่อรับโทษและเมื่อได้มีการซักถามได้ความอย่างชัดแจ้งแล้ว กษัตริย์อัลบายาซีร์แห่งอบิสสิเนียได้ ตรัสว่า บรรดามุสลิมมีอิสระ ที่จะอยู่อาศัยในราชอาณาจักรของพระองค์ได้ตราบที่พวกเขาต้องการซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับมุชรีกีนมักกะฮ์เป็นอย่างมาก นั้นเป็นการชี้ให้เห็นว่า “มุสลิมสามารถที่จะอยู่ที่ใดก็ได้ที่มีผู้ปกครองที่มีคุณธรรมเฉกเช่นที่ศาสนาได้ส่งสาวกของท่านไปยังอบิสสิเนีย”

ซึ่งสอดคล้องกับคณะ OIC ซึ่งได้เดินทางมาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ในห้วงเดือน ก.พ.61ที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงเรื่องการขัดแย้งทางศาสนาซึ่งกลุ่มที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนนำมากล่าวอ้างผูกโยงให้เป็นปัญหาความขัดแย้งนั้น จริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องปกติในประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยทั่วๆ ไปในโลกซึ่งประเทศไทยให้การดูแลและให้ความสำคัญต่อพี่น้องมุสลิมดีกว่าประเทศอาหรับบางประเทศเสียอีก ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญและความเท่าเทียมกัน

เพราะฉะนั้นแนวทางการแก้ปัญหาคือการใช้แนวทางสันติวิธีสร้างความเข้าใจและให้เกียรติ ยอมรับซึ่งกันและกัน ถือได้ว่าการแก้ปัญหาที่ทางรัฐบาลไทยเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่สันติภาพที่แท้จริงได้

คณะองค์การความร่วมมืออิสลาม ยังกล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งเรื่องศาสนา หรือ ปัญหาเรื่องชาติพันธุ์

เพราะผ่านมารัฐบาลไทยได้ทุ่มเทสรรพกำลังทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี และยังแสดงความชื่นชมเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี

จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โอไอซีได้แสดงจุดยืนว่า โอไอซีไม่มีนโยบายแทรกแซงทางการเมือง โอไอซีย้ำชัดไม่เห็นด้วยกับการต่อสู้ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน และขอประณามผู้ที่ก่อเหตุรุนแรงทุกระดับ การฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไทยพุทธ คัมภีร์อัลกรุอานบอกไว้ว่า การฆ่าหนึ่งชีวิตเหมือนกับฆ่าคนทั้งโลก และโอไอซีไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนออกจากประเทศไทย

นอกจากนี้ โอไอซียังได้กล่าวชื่นชมความเป็นอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ประทับใจต่อความสมัครสมานสามัคคีของชุมชนชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยมุสลิมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติซึ่งจากการเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนั้นสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่ใช่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านศาสนาแต่อย่างใด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น