วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สิทธิมนุษยชน ชายแดนใต้

 

     เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีสถิติเหตุรุนแรงทุกประเภททั้ง ยิง เผา ระเบิด โจมตีเจ้าหน้าที่ และอื่นๆ เกิดขึ้นรวม 10,076 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 4,054 ราย บาดเจ็บอีกหมื่นกว่าราย มาถึงวันนี้แม้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงต่างๆ จะลดลงและดีขึ้นมากกว่าเมื่อก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้สงบจบสิ้นอย่างแท้จริง โดยเฉพาะยังคงมีความพยายามจุดกระแส สร้างความสับสนของกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมบางกลุ่ม ผสมโรงด้วยกลุ่มการเมืองทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น ที่พยายามหยิบยกคำว่า “สิทธิมนุษยชน” ขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการสร้างกระแสอยู่ในเวลานี้

สิทธิมนุษยชน แยกคำเป็น 2 คำ คือคำว่า “สิทธิ” หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมตามกฎหมาย กับคำว่า “มนุษยชน” หมายถึง บุคคลทั่วไป เมื่อรวมกันจึงหมายถึง อำนาจอันชอบธรรมตามกฎหมายของบุคคลทั่วไป เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัย และได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิตตามกฎหมายของแต่ละประเทศ 

การบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั่วไปซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อเหตุฯ จะไม่ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันแต่ประการใด ยังคงใช้วิถีชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย เพราะ มีอำนาจอันชอบธรรม/มีสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย ในขณะที่กลุ่มผู้ก่อเหตุฯ จะถูกจำกัดความเคลื่อนไหว ทำให้โอกาสในการก่อเหตุร้ายทำได้ยากขึ้น 

เป็นที่น่าสังเกตว่า ความพยายามของกลุ่มองค์กรฯ ที่เรียกร้อง “สิทธิมนุษยชน” ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมานั้น มุ่งที่จะเรียกร้องให้แก่ผู้ที่กระทำความผิดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อเหตุร้าย ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม และผู้ต้องสงสัยที่ถูกเชิญตัวเพื่อให้ปากคำ แทบทั้งสิ้น ในทางตรงกันข้าม กลุ่มองค์กรฯ ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ ไม่เคยได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือหรือเรียกร้องสิทธิใดใดให้กับเจ้าหน้าที่ที่บาดเจ็บเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อโดยเฉพาะพี่น้องไทยพุทธ บ้างเลย

คนส่วนใหญ่ในสังคมได้มองเห็นและมีความเคลือบแคลงสงสัยแล้วว่า.. กลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้อง “สิทธิมนุษยชน” และเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เขาต้องการอะไรกันแน่..  ต้องการช่วยเหลือกลุ่มผู้ก่อเหตุฯ ให้ไม่สามารถก่อเหตุรุนแรงได้อย่างเสรี.. หรือว่าทำเพื่อให้กลุ่มตัวเองได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มองค์กรฯ ที่มีแนวคิดในการแทรกแซงก้าวกายกิจการภายในและความมั่นคงของประเทศไทย.. ใช่หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น