วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

จุดจบของโจรใต้...ไม่ตายก็ติดคุก

 

สถานการณ์ไฟใต้ที่เริ่มก่อตัวเมื่อ 18 ปีที่แล้ว มาถึงวันนี้หลายๆ ฝ่ายต่างยืนยันว่าเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น บ่งบอกถึงความขัดแย้งที่ซ่อนเงื่อนมาหลายสิบปีเริ่มคลี่คลาย เสมือนหนึ่งเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ประจวบเหมาะกับการทุ่มเททั้งกำลังคนจัดกระบวนทัพดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน การอนุมัติงบประมาณผ่านแผนงานและโครงการต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดี ควบคู่กับการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าซึ่งเห็นผลเป็นรูปธรรมและได้รับการตอบรับโดยเฉพาะโครงการพาคนกลับบ้านมีผู้เห็นต่างรายงานตัวแสดงตนเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก

อะไรคือตัวชี้วัดว่าสถานการณ์ไฟใต้ดีขึ้น หากย้อนไปดูสถิติการก่อเหตุของผู้ก่อเหตุรุนแรงในแต่ละเดือน รายไตรมาส หรือในรายปี พบว่าเมื่อเปรียบเทียบสถิติการก่อเหตุ ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่การสูญเสีย สถิติผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการก่อเหตุในห้วงเดือนรอมฎอน เดือนแห่งบุญของพี่น้องชาวไทยมุสลิมที่หลายๆ หน่วยงานความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเป็นห่วงสถานการณ์ เนื่องจากมีการบิดเบือนหลักคำสอนศาสนาของกลุ่มผู้คิดต่าง มีการปลุกระดมให้สมาชิกทำการก่อเหตุ เข่นฆ่าผู้คนแล้วได้บุญหลายเท่ามากกว่าในห้วงเวลาปกติแต่สถิตอกลับลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

ในขณะที่มีผู้เห็นต่างจำนวนมากทยอยเข้ารายงานตัวแสดงตนต่อแม่ทัพภาคที่ 4 เพื่อเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน แต่กลับมีสมาชิกบางส่วนที่ยังคงทำการก่อเหตุในพื้นที่ เนื่องจากความเชื่อผิดๆ ที่ได้รับการปลูกฝังมา ทำการเข่นฆ่าคนต่างศาสนา หรือแม้กระทั่งพี่น้องผู้นับถือศาสนาเดียวกัน กระทำต่อเด็ก สตรีและคนชรา เพื่อต้องการแสดงความมีตัวตนและคงสถานการณ์ความรุนแรงไว้ เจ้าหน้าที่รัฐต้องการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทางสันติวิธี หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง บังคับใช้กฎหมายในการติดตามจับกุมผู้มีหมายจับเพื่อนำตัวมาลงโทษดำเนินคดีตามกฎหมาย สิ่งที่ทุกฝ่ายไม่อยากให้เกิดขึ้นคือความสูญเสียไม่ว่าต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

เมื่อ 19 ก.ค.65 ศาลจังหวัดปัตตานีอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำเลขที่ อ.728/64โดยมี นายอิลฮัม สุหลง เป็นจำเลย ความผิดฐานก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร ความผิดต่อชีวิต พ.ร.บ.อาวุธปืนและวัตถุระเบิดฯ จากเหตุการณ์ คนร้ายลอบวางระเบิด บริเวณตู้ ATM หลายจุด ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ 20 พ.ค.61

โดย ศาลชั้นต้น พิพากษา “จำคุกตลอดชีวิต  เนื่องจากศาลชั้นต้นเชื่อผลของชั้นสอบสวน ที่นายมะยูโซะ มะแซ(ผู้ร่วมก่อเหตุ) ที่ให้การซัดทอดและสอดคล้องตรงกันในละเอียดของการก่อเหตุ รวมทั้งกล้องวงจรปิดจากตู้ ATM สามารถจับภาพในการก่อเหตุไว้ได้ พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากความสงสัยและเชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้ร่วมก่อเหตุในคดีนี้จริงตามฟ้อง

จุดจบของโจรใต้ ไม่ตายก็ติดคุก หรือไม่ก็หลบหนีไปอาศัยยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีโอกาสกลับมาดูแลครอบครัว ลูกเมียต้องอยู่ตามลำพังผู้ที่กำลังหลบหนีอยู่มีจำนวนไม่น้อยต้องอยู่อย่างยากลำบาก อาศัยหลับนอนในป่าภูเขา ขาดอาหาร ขาดยารักษาโรค เจ็บไข้ได้ป่วยไม่สามารถไปโรงพยาบาลทำการรักษาได้ เพราะเกรงกลัวเจ้าหน้าที่จับกุม นั่นคือสิ่งที่ผู้เห็นต่างเลือกทั้งที่ในความเป็นจริงรัฐได้เปิดช่องทาง เปิดโอกาสให้แสดงตน พิสูจน์ตัวเอง และกลับมาต่อสู้คดีในชั้นศาลแต่กลับไม่เลือก ไม่เห็นแก่ครอบครัวลูกเมีย สุดท้ายได้อะไร? นอกจากความตายที่ไม่อาจฟื้นคืนชีพ ต่างกับแกนนำอยู่สุขสบายในต่างแดนคอยสั่งการในห้องแอร์ ครอบครัวผู้หลงผิดกลับอยู่อย่างแร้นแค้นนี่คือความจริงที่หลายคนรู้ดี.. จึงได้ออกมามอบตัวเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกับโครงการพาคนกลับบ้าน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น