วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หลักฐานนิติวิทยาศาสตร์(DNA) มัดตัว ศาลปัตตานีพิพากษาจำคุกจำเลย 4 ปี

 

เมื่อ 21 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดปัตตานีอ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำเลขที่ อ.668/64 โดยมี นายมัฮหมูด หาแว เป็นจำเลยความผิดฐานก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร ทำให้เสียทรัพย์ พ.ร.บ.อาวุธปืนและวัตถุระเบิดฯ

จากเหตุการณ์ คนร้ายลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้าหลายจุด ในพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี เมื่อ 7 เม.ย.60 เหตุการณ์ในครั้งนั้น ส่งผลให้ไฟฟ้าดับในวงกว้างประชาชนได้รับความเดือนร้อน ขณะที่เส้นทางไม่สามารถสัญจรได้

จากคดีดังกล่าว โดยศาลชั้นต้น พิพากษา "จำคุก 4 ปี" เนื่องจากศาลชั้นต้น เห็นว่า วัตถุระเบิดในที่เกิดเหตุนั้นไม่ทำงาน เจ้าหน้าที่จึงตรวจยึดไว้เป็นของกลาง และเมื่อตรวจพิสูจน์หลักฐาน พบสารพันธุกรรมดีเอ็นเอของจำเลยสอดคล้องกับคำรับผลดำเนินกรรมวิธีซักถามของจำเลย จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงตามฟ้อง พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ และมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต(ขังจำเลย ระหว่างอุทธรณ์)

ทำไมหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์(DNA) จึงสำคัญ ?

นอกจากพยานหลักฐานจากกล้องวงจรปิดที่บ่งบอกสรีระ ชุดที่ใส่ และพฤติกรรม อีกสิ่งสำคัญคือหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ที่ทางกองพิสูจน์หลักฐานได้เก็บตัวอย่าง ก็คือ“เหงื่อ”

จากบทความ “เหงื่อ หลักฐานใหม่ในการพิสูจน์บุคคล” โดย พรรณพร กะตะจิตต์ ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ “ศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.” ได้ให้ข้อมูลไว้เกี่ยวกับการใช้ “เหงื่อ” มาเป็นเครื่องมือพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลในคดีอาชญากรรมว่า เพิ่งถูกนำมาใช้ไม่นานมานี้ หลังจากใช้รอยนิ้วมือกันมานานกว่าศตวรรษ

ทุกตารางเซนติเมตรของผิวหนังมีต่อมเหงื่อ 100 ต่อมต่อตารางเซนติเมตรหรือประมาณ 650 ตารางนิ้ว ซึ่งไม่ว่าจะเกิดเหงื่อด้วยเหตุผลของอากาศร้อนหรือความวิตกกังวลอื่นใด ผู้คนมักจะทิ้งเหงื่อไว้บนสิ่งที่พวกเขาสัมผัสแตะต้อง ดังนั้นการหลั่งเหงื่อแต่ละครั้งจึงมีความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์บุคคลเช่นเดียวกับลายนิ้วมือ โดย เหงื่อ เป็นของเหลวทางชีวภาพที่เกิดขึ้นบนผิวของมนุษย์ ประกอบด้วยลำดับของ "กรดอะมิโน" และ "สารเมตาบอไลท์" (Metabolite) ซึ่งความเข้มข้นของเหงื่อในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป และนั่นทำให้ตัวอย่างเหงื่อมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะตัว

อย่างไรก็ดีนักเคมีวิเคราะห์อธิบายว่า มี สารเมตาบอไลท์ 3 ชนิดที่สามารถใช้เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ได้แก่ ยูเรีย(Urea) แลคเทต (Lactate) และกลูตาเมต (Glutamate) ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละคน

ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเก็บตัวอย่างเหงื่อบริเวณท่อนแขนของอาสาสมัคร 25 ตัวอย่าง ทดลองเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่สังเคราะห์ขึ้น 25 ตัวอย่าง ปรากฏว่า การทดลองสามารถแยกแยะความแตกต่างของแต่ละตัวอย่างได้ตามความเข้มข้นของเมตาบอไลท์ โดยใช้เวลาสั้นๆ เพียง 30-40 วินาทีในการวิเคราะห์เท่านั้น

การวิเคราะห์เมตาบอไลท์จากเหงื่อจะสามารถช่วยลดขั้นตอนหรือปัญหา ในกรณีไม่มีหลักฐานดีเอ็นเอเพียงพอต่อการวิเคราะห์ หรืออาจต้องใช้ระยะเวลานานในการรอผลทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาจส่งผลให้การจับกุมหรือระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้ไม่ทันการณ์ แต่จากการตรวจหาดีเอ็นเอด้วยเหงื่อนั้นสามารถทำได้ในระยะเวลารวดเร็ว

อย่างไรก็ดี แม้จะตรวจได้รวดเร็ว แต่บทความดังกล่าวได้ระบุเพิ่มเติมถึงข้อจำกัดเรื่อง "ความเข้มข้นของเมตาบอไลท์" ที่ยังไม่อาจสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของยีนที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละบุคคลได้เท่ากับลายนิ้วมือ เนื่องด้วยปัจจัยในเรื่องการรับประทานอาหาร สุขภาพ และการออกกำลังกายที่ทำให้ให้สารเมตาบอไลท์เปลี่ยนแปลงไปได้

ดังนั้นการเก็บข้อมูลและติดตามความเปลี่ยนแปลงของเหงื่อของแต่ละบุคคลจึงถือเป็น "ขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามา" ในการพิสูจน์หลักฐาน โดยอย่างน้อยๆ "เหงื่อ" ก็สามารถระบุ "เพศ" และ "อายุ" ได้โดยประมาณ!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น