วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565

ไขข้อข้องใจ ทำไมมุสลิมไม่นิยมขอฮาลาล-ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับฮาลาล

ปัจจุบันภาครัฐให้การสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร กลุ่ม SME กลุ่มสินค้า TOP รวมถึงร้านอาหารของพี่น้องมุสลิม ซึ่งถือว่า เป็นโอกาสในการยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ

แต่ในความเป็นจริง กลับพบว่า มีผู้ประกอบการมุสลิมเป็นจำนวนไม่น้อย ไม่ค่อยสนใจทั้งๆ ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น (ไม่ได้ หมายความว่าทั้งหมดนะครับ) จึงทำให้เสียโอกาสตรงส่วนนี้ไป

สาเหตุหลัก ที่ผู้ประกอบกรมุสลิมไม่นิยมขอรับรองฮาลาล เนื่องจากคิดว่า ฉันเป็นมุสลิมอยู่แล้ว ทำไมจะต้องขอรับรองด้วย แต่ในความเป็นจริงกับพบว่ามีผู้ประกอบการมุสลิมบางส่วน ที่ไม่เข้าใจกระบวนการผลิตสินค้าฮาลาล ยังมีอยู่พอสมควร เริ่มต้นง่ายๆ จากประสบกรณ์ที่ได้พบเห็น ขอยกตัวอย่าง กรณี ผู้ประกอบการร้านอาหารละกัน เพราะเจอบ่อยผมเองเวลาไปรับประทานอาหาร จะพยายามสังเกตวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ตัวอย่างง่ายๆ ร้านอาหารตามสั่ง,ร้านก๋วยเตี๋ยว ในตู้สินค้าของร้าน กลับพบว่าวัตถุดิบ ที่ทางร้านเลือกใช้นั้น ไม่มีเครื่องหมายรับรอง ที่เจ็บปวดยิ่งกว่านั้นคือ ในถุงของลูกขึ้นไม่มีแม้แต่สถานที่การผลิตของวัตถุดิบ เรื่อง อย. ไม่ต้องพูดถึงอย่างนี้ นอกจากไม่แน่ชัดแล้วว่าจะฮาลาลหรือไม่ โอกาสเสี่ยงต่อความอันตรายด้านอาหาร หรือโอกาสเสี่ยงต่อวัตถุดิบฮะรอม ก็มีมากพอสมควรนับว่าน่าเป็นห่วงมากๆ ผมขอสรุปให้เห็นถึงสาเหตุที่ผู้ประกอบการมุสลิมไม่นิยม ขอเครื่องหมายฮาลาลดังนี้ครับ

- คิดว่าฉันเป็นมุสลิมอยู่แล้ว ทุกอย่างที่ฉันทำต้องฮาลาล

- ไม่มีเวลาไม่พร้อม

- ไม่ได้รับผลกระทบ จากการที่ไม่มีเครื่องหมาย

- ไม่เห็นต้องขอเลย (ฉันเลยเขียนเองก็ได้)

- มีค่าใช้จ่าย

เหตุผล ประมาณนี้ครับ ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ อาจมีคำถามอยู่ในใจว่า สาเหตุ ที่ผู้ประกอบการไม่นิยมขอ เพราะเก็บเงินแพงหรือเปล่า ผมขอตอบอย่างนี้นะครับ อย่างที่ผมได้เกริ่นนำไปแล้วว่า โครงการสนับสนุนจากภาครัฐฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เช่น โครงการรับรองร้านอาหารที่ผู้ประกอบการเป็นมุสลิม เข้าระบบรับรองฮาลาล เพื่อเพิ่มมูลค่าและคำนิยมผ่านเครื่องหมายรับรองฮาลาล ซึ่งเจ้าของโครงการคือ สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย นอกจากฟรีแล้ว ยังอบรมให้ความรู้ ให้ความ

เข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานฮาลาล ก็ได้ผลตอบรับดีพอสมควร แต่ก็มีบ้างที่บางร้าน ไม่เห็นความสำคัญกับโครงการดังกล่าว จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ มาถึงตรงนี้ คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ในการสร้างความเข้าใจ ให้กับผู้ประกอบการมุสลิม

ความไม่เข้า ความอคติอกไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำการบ้าน ในการสร้างความตระหนัก ให้เห็นคุณค่าของมาตรฐานฮาลาล เมื่อตระหนักในเรื่องดังกล่าวแล้ว ก็จะทำให้ ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับเรื่องของฮาลาล สุดท้าย ท้ายสุด นอกจากฮาลาลแล้วจะต้อง ตอยยิบัน (ดี มีประโยชน์) ด้วย ถึงจะครบองค์ประกอบของการผลิตอาหารที่ดี

ปล.ปัจจุบันการผลิตอาหารของผู้ประกอบการมุสลิมนั้น ฮาลาล แต่ยังขาดในเรื่องของ ตอยยิ่บัน หรือ food safety ไม่ได้หมายรวมทั้งหมดนะครับ บางส่วนเท่านั้น แต่ก็แปลกเหลือเกิน เรามักจะพบกับบางส่วน ที่ว่านี้บ่อยมากๆ (จริงไหมครับ)

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับฮาลาลในทุกๆ วงการมีศัพท์เฉพาะทาง เมื่อเป็นศัพท์เฉพาะทางแล้ว จำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพูดทับศัพท์ คนที่อยู่ในแวดวงนั้นจะต้องเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับผู้ประกอบการ หรือผู้ที่อยากศึกษาเกี่ยวกับฮาลาล ขอนำเสนอคำศัพท์ที่เรานิยมพูดทับศัพท์มาให้ได้รู้สัก 10 คำศัพท์

ฮาลาล(Halal) หมายความว่า อนุมัติให้มุสลิม หรือผู้นับถือศาสนาอิสลาม นำไปใช้ประโยชน์หรือบริโภคได้ โดยอิสลามกำหนด ฮาลาลให้เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์

ฮารอม(Haram) หมายความว่า ห้าม ไม่อนุมัติ ให้มุสลิมใช้ประโยชน์หรือบริโภค ได้แก่ สิ่งที่ถูกกำหนดว่าเป็นนะญิส หรือสิ่งสกปรก ตามบัญญัติอิสลาม มีบางสิ่งแม้มิใช่นะญิส แต่น่ารังเกียจ ห้ามมุสลิมปฏิบัติเช่น การพนัน ดอกเบี้ย การเช่นไหว้ต่อพระเจ้าอื่น

ตอยยิบ(Tayyib) หมายความว่า ดี บริสุทธิ์ มีประโยชน์ ปลอดภัยต่อร่างกาย

มัชบูห์(Mushbooh) หรือ ชุบฮะ (Shubhah) หมายความว่า คลุมเครือ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าฮาลาลหรือฮารอม อิสลาม แนะนำให้เลี่ยงโดยจัดให้เป็นฮารอมจนกว่าจะพิสูจน์ทราบได้ว่าฮาลาล กลุ่มนี้เป็นปัญหามากที่สุดในกระบวนการผลิต

นะญิส(Najis) หมายความว่า สิ่งสกปรกหรือน่ารังเกียจ ตามบัญญัติอิสลาม ครอบคลุมสิ่งสกปรกทั่ว ๆ ไปรวมถึงสัตว์ต้องห้ามที่กำหนดขึ้น ตามมาตรฐานฮาลาล เลือดที่ได้จากการเชือดสัตว์ฮาลาล ซากสัตว์ เครื่องดื่มมึนเมา ฯลฯ

มัยตะห์(Maitah) หมายความว่า ซากสัตว์ฮารอม และซากสัตว์ฮาลาลที่ไม่ผ่านการเช็คตามบัญญัติอิสลาม ห้ามรับประทาน

ซาบีฮะ(Sabihah) หมายความว่า วิธีการเชือดตามบัญญัติอิสลาม หรือสัตว์ฮาลาล ที่ผ่านการเชือดตามบัญญัติอิสลามอนุญาต ให้รับประทานได้

คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี

ทีมงานฮาลาล หมายถึง ทีมงานที่ผู้ประกอบการแต่งตั้ง ขึ้นเพื่อเป็นกรรมการบริหาร และควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล

ที่ปริกษาฮาลาลประจำสถานประกอบการ หมายถึง มุสลิมที่ได้รับการแต่งตั้ง จากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อทำหน้าที่ ให้คำปริกษาเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ

10 คำศัพท์ดังกล่าวนี้ ใช้กันบ่อยในแวดวงฮาลาล ส่วนคำศัพท์อื่นๆนั้นท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ระเบียบต่างๆได้ดังนี้.-

ระเบียบ,ข้อบังคับ,ข้อกำหนด ฮาลาลไทย

ปัจจุบัน ทางสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ออกระเบียบ,ข้อบังคับ,ข้อกำหนด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริหารกิจการฮาลาล พ.ศ. 2558

2. ข้อบังคับ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการดำเนินการตรวจรับรองสถานประกอบการ การตรวจผลิตภัณฑ์ และค่าธรรมเนียม พ.ศ. 2559

3. ข้อกำหนดการตรวจ รับรองกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล พ.ศ. 2559

4. ข้อกำหนดการตรวจรับรองฮาลาล โรงเชือดสัตว์และการชำแหละ ขึ้นส่วน พ.ศ. 2559

5. ข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล และการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลบนผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2559

ซึ่งท่านสามารถดาวน์โหลดได้ จากทางอินเตอร์เน็ต หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับฮาลาล ต่อทุกท่านได้ไม่มากก็น้อย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น