วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2567

ท.ทหารอดทนผจญน้ำท่วม

ท.ทหารอดทนผจญน้ำท่วม

ใครๆ ก็รู้ว่าบรรดาทหารหาญนั้น ถือเป็น 'รั้วของชาติ' เพราะหน้าที่หลักของพวกเขาก็คือการปกป้องอธิปไตยของประเทศ เรียกได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีศัตรูมารุกราน ทหารหาญทั้ง 3 เหล่าทัพก็จะเป็นด่านแรกที่ป้องกันภัยให้แก่ประชาชน

แต่บทบาทของกองทัพก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านั้น เพราะนับตั้งแต่อดีตกาลที่ผ่านมา ทุกครั้งที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภยันตรายที่เกิดขึ้นภายใน กองทัพก็ดูเหมือนจะเป็นที่พึ่งที่ไว้ใจได้มากที่สุด

ดังเช่นในปัจจุบัน ที่ประเทศไทยต้องประสบกับมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เรื้อรังและร้ายแรง ซึ่งนั่นก็เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ศักยภาพและน้ำจิตน้ำใจของเหล่าทหารที่มีต่อประชาชนชาวไทย จริงอยู่ที่งานเหล่านี้ไม่ใช่งานหลักของพวกเขา แต่ภาพของทหารจากกองทัพไทยทั้ง 3 เหล่าทัพ ตั้งแต่พลทหารวัยรุ่นจนถึงผู้บังคับบัญชาที่ออกมาช่วยเหลือและบริการประชาชน กลับเป็นภาพที่พบเห็นได้มากที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถสายพานลุยน้ำสูงเข้าพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย การออกแจกจ่ายสิ่งของหรือจะเป็นการก่อกระสอบทราย สร้างคันดินกั้นน้ำ ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นงานหนักแค่ไหน ชายชาติทหารเหล่านี้ก็อาสาเข้ามาทำอย่างไม่เกี่ยงงอน และการทำงานอย่างสู้ตายถวายชีวิตของทหาร ก็ทำให้ทหารบางคนต้องเสียชีวิตไปจริงๆ

ตัวอย่างเช่น พลทหารสิทธิศักดิ์ ขันธประณีต ที่เสียชีวิตจากการโดนไฟดูดหลังเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดน่าน หรือกรณี สิบตรี ธีรภัทธ์ เอมกฤษ ก็เสียชีวิตด้วยการพลัดตกจากรถยนต์ขณะปฏิบัติหน้าที่ และล่าสุดก็คือกรณีเรือท้องแบนของทหารค่ายจิระประวัติล่ม เป็นเหตุให้ จ่าสิบเอกวสันต์ ธันนิธิ ซึ่งเป็นคนขับเรือจมน้ำสูญหาย และพบว่าเสียชีวิตในเวลาต่อมา

แต่กระนั้น ทหารเหล่านี้ก็ยังไม่ท้อ นั่นทำให้ประชาชนพอใจกับการทำงานของทหารเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากผลสำรวจจากนิด้าโพล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) ที่ระบุว่าประชาชนให้พึงพอใจความช่วยเหลือจากทหารมากที่สุด ในขณะที่รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงกลับมีคะแนนอยู่อันดับท้ายๆ คือมากกว่ากลุ่มดารานักแสดงอยู่นิดเดียว

น้ำท่วมเมื่อไหร่ ยังเห็นทหารให้อุ่นใจ

การทำงานสู้น้ำท่วมของทหารครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเมื่อย้อนกลับไปมองในอดีต ประเทศไทยก็ได้ผ่านอุทกภัยครั้งใหญ่น้อยมาแล้วก็หลายครั้ง ซึ่งทุกครั้งประชาชนก็มักจะเห็นภาพของเหล่าทหารไปลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยอยู่เสมอ

นอกจากความสม่ำเสมอแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างที่ทหารมีก็คือศักยภาพในการช่วยเหลือ เนื่องเพราะกองทัพมีปัจจัยพร้อม ทั้งด้านกำลังพลและยุทโธปกรณ์ โดยในส่วนของกำลังพลนั้น ทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ทั้งทหารเรือ ทหารอากาศ และทหารบก ล้วนมีฐานประจำการอยู่ตามแต่ละภูมิภาคของประเทศอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นกับจังหวัดใดภูมิภาคใดก็จะสามารถลงพื้นที่ได้ทันท่วงที บวกกับระบบทหารที่มีความเป็นระเบียบ มีการฝึกฝนวินัยอย่างเคร่งครัด ทำให้การบริหารจัดการกำลังพลเป็นไปอย่างไม่สับสนและปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มที่

ในส่วนของยุทโธปกรณ์ต่างๆ ก็ถือว่าพร้อม เพราะของที่ทหารมีสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างสารพัดประโยชน์ อาทิ รถวางสะพานที่สามารถใช้สร้างสะพานได้แบบทันทีในกรณีสะพานขาดและต้องเดินทางผ่านอย่างฉุกเฉิน, รถบรรทุกทางทหารหรือที่เรารู้จักกันว่า รถจีเอ็มซี ที่สามารถลำเลียงความช่วยเหลือต่างๆ รวมทั้งผู้ประสบภัยออกจากพื้นที่, รถเกราะหรือรถสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่สามารถบุกตะลุยไปในพื้นที่น้ำท่วมขังได้, เรือขนาดต่างๆ เช่น เรือยกพลขึ้นบก หรือเรือระบายพลขนาดเล็ก ที่เป็นยานพาหนะแสนคลาสสิกยามน้ำท่วม และเครื่องบินลำเลียง หรือเฮลิคอปเตอร์ ที่ลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปแจกจ่ายพร้อมลำเลียงผู้ประสบภัยกรณีเร่งด่วน เป็นต้น

ดังนั้น แม้ทหารจะไม่เคยออกมาพูดว่า 'เอาอยู่' แต่จากการทำงานที่เป็นระเบียบและเข้มแข็งสุดความสามารถ ก็สามารถสร้างความอุ่นใจให้แก่คนในพื้นที่ประสบภัยได้มากกว่าคนที่แถลงการณ์ในทีวี

ทหารไทยกับมหาอุทกภัย ’67 จังหวัดเชียงราย

ในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานในปัจจุบัน ทหารไทยก็ยังคงเป็นทัพหน้าและที่พึ่งของประชาชนได้อย่างดี ซึ่งผลงานก็มีให้เห็นกันได้แบบไม่ต้องโฆษณา ซึ่งเหล่าทหารได้อากาศใช้เฮลิคอปเตอร์ หย่อนเครื่องใช้อุปโภค บริโภคร์ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าไปด้วยเรือเล็ก ซึ่งในการทำงานช่วยผู้ประสบภัยนั้น ทหารก็ได้ตระเตรียมแผนงานไว้เป็นอย่างดี

นโยบายพร้อมฝ่ายปฏิบัตินั้น ‘ยิ่งกว่าพร้อม’

จะเห็นได้ว่ากองทัพได้มีการทำงานในเชิงนโยบายอย่างเต็มที่ และในภาคของการปฏิบัติงาน ทหารชั้นผู้น้อยก็ให้ใจกับการงานตรงหน้าแบบเต็มร้อย “รู้สึกภูมิใจครับ ภูมิใจว่าได้มาช่วยประเทศ ช่วยชาวบ้านให้ผ่านวิกฤตไปได้ มีของขาดของไม่พอเขาก็ช่วยกันหลายฝ่าย ก็เห็นเขาเอามาให้กันเยอะ ชาวบ้านเขาก็ดีใจว่าทหารก็มาช่วย แล้วเห็นหลายๆ ฝ่ายมาช่วยกัน” พลทหารอนันตชัย ฯ ถ่ายทอดความรู้สึกหลังได้ร่วมลงพื้นที่น้ำท่วมกับพี่น้องทหารอีกหลาย ๆ นาย

และเมื่อถามถึงความเหนื่อยหนักของงาน ก็ได้รับคำตอบที่ไม่ต่างกันนัก เพราะแม้พวกเขาจะเหนื่อยกาย แต่เมื่อเล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านชายชาติทหารอย่างเขาก็พร้อมจะสู้ต่อ

“ก็มีเหนื่อยมั่งไม่เหนื่อยมั่งสลับกันไป แต่ชาวบ้านมีการตอบรับดีมาก แล้วชาวบ้านก็มาช่วยกันด้วยครับ ...ดีใจครับ ที่ได้มาช่วยชาวบ้านครับ” พลทหารมโณพัศ ฯ แสดงความรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ ทำนองเดียวกับ จ่าสิบตรีสุภาพ สุใจบาล ที่เปลี่ยนความสงสารเป็นแรงผลักดันในยามที่กายอ่อนล้า

“ตอนลงพื้นที่ ผมมีความรู้สึกหลากหลายมาก บางทีก็สงสารที่เห็นคนแก่เดินลุยน้ำ ซึ่งเราก็ได้ไปรับส่ง และพอเห็นความลำบากของคนอื่นมากๆ เข้า ถึงแม้เราจะเหนื่อยอยู่แต่พอไปช่วยเขา มันก็หายเหนื่อยไปเลย ผมดีใจนะที่เห็นคนไทยยังมีน้ำใจให้กัน”

เสียงสะท้อนจากสหายร่วมรบ

ถ้าจะเปรียบมหาอุทกภัยครั้งนี้เป็นศึกที่เข้าล้อมกรุง เหล่าอาสาสมัครคนไทยผู้มีจิตอาสาคงเปรียบเสมือนเพื่อนร่วมรบกับเหล่าทหารกล้า ที่พร้อมใจมุ่งหน้าลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อย่างไม่ย่อท้อ “ทหารเขาเข้ามาช่วยกรอกกระสอบทราย มาช่วยเรื่องการคมนาคมที่สำคัญมาก เพราะว่าทหารเป็นหน่วยงานเดียวที่มีเครื่องมือสามารถใช้งานได้ในสภาวะแบบนี้ พวกจีเอ็มซีอะไรพวกนี้” เสียงชาวบ้านผู้ประสบภัย กล่าวชื่นชม

“อย่างปกติก็จะออกสำรวจระดับน้ำอยู่แล้ว ถ้าตรงไหนมีทหารอยู่ก็จะรู้สึกว่ามันไม่ร้าง มันยังอุ่นใจ เวลาไปดึกๆ ก็จะน่ากลัวต้องไปกันเยอะๆ ต้องพกมีดป้องกันตัว แต่ตรงด้านหลังที่มีทหารดูแลตลอดก็จะไม่น่ากลัวเลย”

จริงอยู่ ที่งานเหล่านี้มันเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่กองทัพต้องปฏิบัติอยู่แล้ว แต่จากการทำงานที่ฉับไว รวดเร็วเข้มแข็ง ก็ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่กล่าวถึงและชื่นชม ถึงน้ำจิตน้ำใจ และมันก็อดไม่ได้ที่จะนำการปฏิบัติงานที่เข้มแข็งของทหาร ไปเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง แต่ตลอด 4 - 5 เดือนที่ผ่านมากลับไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน นอกจากการสร้างความสับสนด้านข้อมูลข่าวสาร และแสดงชั้นเชิงในการเล่นเกมการเมืองให้ประชาชนดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น