วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567

ชี้แจง การออกหมายเรียก 9 นักกิจกรรม ไม่เกี่ยวข้องกับการแต่งกายชุดมลายู

จากกระแสในการปลุกปั่นในสื่อออนไลน์ กรณีออกหมายเรียกนักกิจกรรม 9 คน โดยอ้างว่า เป็นหมายเรียกจากกรณีจัดกิจกรรมรวมตัวแต่งกายชุดมลายูในงาน “Melayu Rayaณ หาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อปี 2565 นั้น ทาง กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้ชี้แจ้งข้องเท็จ ตามข้อความว่า

กอ.รมน.ภาค 4 สน. ชี้แจงกรณีสื่อสังคมออนไลน์นำเสนอประเด็นเจ้าหน้าที่มีการออกหมายเรียก นักกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมแต่งกายชุดมลายู

จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์ นำเสนอประเด็นเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อหาเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมแต่งกายชุดมลายู ทุกปีตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาติดต่อกัน 4 ปี นักกิจกรรมทั้ง 9 คนมีกำหนดไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวน ในวันที่ 9 มกราคม 2567 โดยมองว่าการดำเนินคดีอาญาข้อหาความมั่นคงปิดกั้นการรวมกลุ่มต่อนักกิจกรรมในพื้นที่ความขัดแย้งในลักษณะ กลั่นแกล้งให้ตกเป็นจำเลยในคดีอาญา

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ขอชี้แจงว่า การออกหมายเรียกไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับการแต่งกายชุดมลายู เพราะการแต่งกายชุดมลายู ถือเป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการออกหมายเรียกกรณีการรวมกลุ่มของนักจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 4 และ 10 พฤษภาคม 2565 ซึ่งกลุ่มเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมชุมนุมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ภายใต้หัวข้อ “เยาวชน คือ ความหวังแห่งสันติภาพ” ณ หาดวาสุกรี เขตเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีกิจกรรมแอบแฝง และมีธง BRN ปรากฏอยู่ในกิจกรรม รวมทั้งมีการปลุกปั่นยุยง ผ่านบทกวี ที่มีการแสดงออก สื่อความหมายได้ว่า เป็นถ้อยคำปลุกระดมให้กลุ่มเยาวชน ยอมสละชีวิตต่อสู้เพื่อชาติมาลายู เป้าหมาย คือ แยกออกเป็นประเทศเดียวหรือประชาชาติเดียว ให้กลุ่มเยาวชนต่อสู้ ชูธงปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง อันเป็นการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเอกราช ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าว จึงไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการแต่งกายชุดมลายู ขอให้อย่ามีการบิดเบือนข้อมูลใด ๆ เพื่อหวังผลทางการเมือง และทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงดังกล่าวที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ยืนยัน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้สนับสนุน และส่งเสริมความงดงามของวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษา อาหาร และการแต่งกายที่สะท้อนให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการสืบสานวัฒนธรรม และ อันเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วนของแม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4  ทุกท่านที่ผ่านมาโดยตลอด

ทั้งนี้การเรียกนักกิจกรรมทั้ง 9 คนนั้น สืบเนื่องจขาก เป็นการ โบก ธง BRN รวมทั้งมีการปลุกปั่นยุยง ผ่านบทกวี ร้องเพลงโดยมีเนื้อหาในการประกาศเอกราช การแสดงออก ปลุกระดมให้กลุ่มเยาวชน ยอมสละชีวิตต่อสู้เพื่อชาติมาลายู ให้กลุ่มเยาวชนต่อสู้ ชูธงปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง  อันเป็นการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแต่งกายในชุดมลายู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น