วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เกาะกระแสข่าว “การเจาะเอ็นร้อยหวาย”

❌💯เกาะกระแสข่าว “การเจาะเอ็นร้อยหวาย”

กลายเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีมีเกมส์ไพ่ ชื่อว่า  Patani Colonial Territory  เนื้อหา บิดเบือนประวัติศาสตร์สร้างวาทกรรมแตกแยก “เชลยศึกปัตตานีถูกทารุณด้วยการเจาะเอ็นร้อยหวาย”

ความจริงเรื่องนี้ มีงานวิชาการหรืองานวิจัยหลายชิ้น ที่ได้ศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์นี้มาอย่างลึกและละเอียดรอบด้าน ซึ่งสามารถโต้แย้งวาทกรรมบิดเบือนนี้ได้ ยกตัวอย่างบทความของนายจีรวุฒิ บุญรัศมี เป็นอดีตข้าราชการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  ได้ให้ความจริงมาโต้แย้งการบิดเบือนเกมไพ่ดังกล่าว ผ่านข้อเขียนบทความ “สยามทารุณเชลยศึกปัตตานีด้วยการเจาะเอ็นร้อยหวาย เรื่องโกหกทางประวัติศาสตร์ #ผ่านโฆษณาชวนเชื่อของนักบิดเบือน”

บทความระบุว่า การทารุณเชลยศึกปัตตานีด้วยการเจาะเอ็นร้อยหวาย ทำให้ฟังดูราวกับว่า สยามนั้นช่างโหดร้ายทารุณ จึงได้ค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อนำมาสนับสนุน “ความเชื่อ” ดังกล่าว กลับพบว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย และเป็นเรื่องตรงกันข้ามด้วยซ้ำ

การขุดคลองแสนแสบกับการเจาะเอ็นร้อยหวายนั้น เป็นคนละเรื่องกัน คลองแสนแสบที่กรุงเทพขุดโดยแรงงานชาวจีนโพ้นทะเล และขุดมาก่อนที่เชลยศึกจากปัตตานี ถูกกวาดต้อนขึ้นกรุงเทพด้วยซ้ำ จึงเป็นไปไม่ได้ที่เชลยปัตตานีจะเป็นผู้ขุดคลองดังกล่าว

ผู้เขียนบทความยืนยันข้อมูลด้วยวิจัยของ อ.สุเนตร ชุตินธรานนท์ แห่งสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนายแพทย์จิรันดร์ อภินันท์ ได้ทำการศึกษาและจัดทำวิจัยในหัวข้อ “ข้อเท็จจริงเอ็นร้อยหวาย : ประวัติศาสตร์บาดแผลสยาม-ปตานี” (พ.ศ. 2561) พบว่า “ไม่มีหลักฐานร่วมสมัยที่เป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันว่ากองทัพสยามได้เจาะเอ็นร้อยหวายกับเชลยปัตตานี” ไม่ว่าจะเป็นครั้งที่ปัตตานีถูกตีแตกในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2329) หรือสมัยกบฏไทรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มักมีการเล่าต่อกันมาว่า เชลยศึกปัตตานีถูก

บทวิจัยได้สรุปว่า การเจาะเอ็นร้อยหวายเชลยศึกปัตตานี “เป็นเพียงเรื่องเล่าอ้างสืบต่อกันมา” และ “ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ” รวมถึงยังมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ จากผู้ให้สัมภาษณ์ซึ่งเป็นลูกหลานของเชลยศึกชาวปัตตานีในกรุงเทพฯ ท่านหนึ่ง ได้ให้ข้อมูลต่อคณะผู้วิจัยตรงๆ ว่า “การเจาะเอ็นร้อยหวายนี้เป็นเรื่องที่กุขึ้น หรือแต่งเติมขึ้น เพื่อให้เกิดความเกลียดชังระหว่างไทยกับมลายู” ความเชื่อเช่นนี้ ไม่มีความสมเหตุสมผลในทางประวัติศาสตร์ และเป็นเพียง “โฆษณาชวนเชื่อของพวกต่อต้านรัฐ” เท่านั้น

ฝากไปยังผู้ปกครองหากพบบุตรหลานมีไพ่นี้นำมาเล่นผู้ปกครองต้องให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด #อย่าให้ถูกชักจูงความคิด โดยใครก็ไม่รู้ ซึ่งทำให้ไปรับข้อมูลมาผิดๆ พร้อมฝากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องไปหามาตรการป้องกันหรือให้การศึกษาที่ถูกต้องกับเยาวชน และหากพบว่าใครได้สร้างข้อมูลบิดเบือน หรือสร้าง Fake News #สร้างวาทกรรมผิดๆ #ให้สังคมเกิดความแตกแยก ก็ต้องมีแนวทางป้องกันหรือจัดการอย่างเหมาะสม ไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น จนทำลายความสงบสุขของคนในสังคมไทย...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น