วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

โจรผู้เปลี่ยนแปลงคำสอน หลอกลวงลูกหลานเข้าสู่ทางที่ผิด

ขบวนการชั่วร้ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคลื่อนไหวต่อสู้อ้างว่าทำเพื่อแผ่นดิน ทำเพื่อศาสนา มีการปฏิบัติทั้งงานการเมืองและการใช้กำลังที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ “เอกราช” โดยที่ฝ่ายใช้กำลังทำการสู้รบแบบกองโจรมุ่งสร้างความปั่นป่วนด้วยการก่อเหตุร้ายทำลายชีวิตประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน สาธารณูปโภคของรัฐอย่างต่อเนื่อง

ตลอด 18 ปีที่ผ่านมา ณ ปลายด้ามขวานแห่งนี้ หลายคนสงสัยว่าเมื่อไหร่!! เหตุการณ์จะสงบสักที และผู้ที่ทำการก่อเหตุทั้งที่ถูกจับดำเนินคดีหรือเสียชีวิตจากการปะทะ ทำไม? ยังมีตัวตายตัวแทนเกิดขึ้น แต่เมื่อได้รับฟังคำบอกเล่าของสมาชิกแนวร่วมที่จับกุม ซึ่งแต่ละคนได้เล่าถึงปูมหลัง “จุดเริ่มต้นเข้าสู่ขบวนการ” เกิดจากถูกชักจูงจากแกนนำในพื้นที่ ซึ่งใช้เล่ห์เพอุบายหลอกล่อชักชวนเยาวชนและนักเรียน นักศึกษาเพื่อให้เข้าสู่องค์กร ด้วยการปลูกฝังและบ่มเพาะแนวความคิดตามที่ขบวนการต้องการ โดยเป็นขั้นตอน

1. เนื้อหาของการบ่มเพาะ

การปลูกฝังอุดมการณ์แนวความคิดให้กับแนวร่วมยุคใหม่ กลุ่ม ผกร.ยังคงใช้เนื้อหาในการบ่มเพาะ 3 ประเด็นหลักด้วยกัน คือ ด้านประวัติศาสตร์ ศาสนาอิสลาม และเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตประชาชนชาวไทยมุสลิมจำนวนมาก

2.การปลุกระดม

ฝ่ายปลุกระดมไม่มีแบบแผนตายตัวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่ส่วนมากมักเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ หรือได้รับการยกย่องและยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ มีคุณวุฒิทางศาสนา ขบวนการโจรใต้ฟาตอนี มีขีดความสามารถในการสร้างผู้นำศาสนา รวมทั้งครูสอนศาสนา (อุสตาส) ให้เป็นแกนนำในพื้นที่ต่างๆ แล้วแบ่งกันรับผิดชอบ ออกปฏิบัติการตามคำสั่งในการปลุกระดม และยังสามารถทำให้ผู้นำศาสนาเหล่านี้มีความเลื่อมใสศรัทธา พอกพูนอุดมการณ์อย่างชนิดถวายหัวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือการได้เป็นนักรบของพระเจ้า หลงเชื่อว่าเป็นการทำสงครามเพื่อปลดปล่อยอิสลามจากการกดขี่ข่มเหงของคนต่างศาสนา

3.สถานที่ปลุกระดมบ่มเพาะ

กลุ่ม ผกร.ยังคงลักลอบใช้สถานที่ทั้งภายในสถานศึกษาและภายนอสถานศึกษาในการบ่มเพาะเยาวชนหรือแนวร่วม ตามจังหวะโอกาสจะเอื้ออำนวย

แหล่งบ่มเพาะในสถานศึกษานับว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะชั้นดีของกลุ่ม ผกร.เลยทีเดียว เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการบ่มเพาะแนวร่วมสั้นกว่านอกสถานศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นเยาวชนหรือแนวร่วมที่เข้าสู่ขบวนการบ่มเพาะในสถานศึกษามักมีความตั้งใจในการรับฟังและเชื่อฟังสูงกว่าผู้ที่เข้าร่วมการบ่มเพาะนอกสถานศึกษา

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกัน คือ ครอบครัวต้องให้ข้อมูลความถูกต้องและข้อเท็จจริง กับลูก-หลาน อธิบายผลกระทบต่อครอบครัวหากกระทำความผิดตามกฎหมาย จะได้รับโทษอย่างไร อบรมสั่งสอนไปในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดีในการหลอกใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น