วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

เมื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ดารุลฮัรบี

บางคนบอกว่าปาตานี เข้าข่ายเป็นดารุลฮัรบี เนื่องจากเป็นความขัดแย้งที่มาจากประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และความยุติธรรม

แต่ดารุลฮัรบี ต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชาวมุสลิมไม่สามารถปฏิบัติตามหลักการของอิสลาม ได้อย่างครบถ้วน และชาวมุสลิมถูกกดขี่ข่มเหงไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขใด “เขาจึงมีความชอบธรรมที่จะต่อสู้” นั้นคือคำกล่าวอ้างของกลุ่มคนบางกลุ่ม

แต่ในขณะเดียวกัน ผู้นำศาสนาในพื้นที่หลายคนไม่เห็นด้วย กับแนวอธิบายนี้ ด้วยเห็นว่า เงื่อนไขที่ชาวมุสลิมถูกกดดัน ทั้ง 2 ข้อ เพื่อให้เข้าหลักดารุลฮัรบีนั้น หมดไปแล้วในปัจจุบัน

และในปัจจุบันรัฐ ได้ให้การสนับสนุนทุกอย่าง เกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา มีงบสนับสนุน มีโครงการมากมายในการทำนุบำรุงศาสนา

ซึ่งคนในพื้นที่ ต่างรู้กันดีว่า เงื่อนไข ทั้ง 2 ข้อนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นใน 3 จชต. และการไปให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ว่า ปาตานีเคยเป็นดินแดนอิสลามมาก่อน ที่จะถูกปกครองโดยคนพุทธนั้น ก็เป็นเพียงการมองประวัติศาสตร์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด

เพราะถ้ามองยาวนานออกไป ก็จะพบว่าก่อนที่อิสลามจะเข้ามา ในดินแดนนี้ ก็เป็นฐานที่มั่นของศาสนาพุทธ -พราหมณ์-ฮินดู อยู่ก่อนแล้ว การพิจารณาองค์รวมเช่นนี้ จึงทำให้เห็นได้ว่าเงื่อนไข 2 ข้อ ในปัจจุบันนั้น ไม่มีแล้ว

และทั้ง 2 เงือนไขนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จชต. พื้นที่แห่งนี้ จึงไม่ได้เป็นดารุลฮัรบี และสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น “เป็นเพียงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมากกว่า”

ดังนั้นการแห่ศพ ยกย่องผู้ร้ายฆ่าคนบรุสุทธิ์ ว่าเป็นนักรบซาฮีดนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะพื้นที่ 3 จชต.นั้น ไม่เข้าข่ายเงือนไขเป็นดารุลฮัรบี ไม่สามารถกล่าวอ้างความชอบธรรมในการต่อสู้ ญิฮาด ได้

การเข้าใจผิดหลงผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น เป็นเพียงการหลอกล่อของกลุ่มขบวนการ เพื่อต้องการให้เยาวชนในพื้นที่ เข้าร่วมขบวนการร่วมต่อสู้ เพื่อหวังผลประโยชน์อำนาจทางการเมือง โดยที่กลุ่มแกนนำนั้น ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

ผู้นำศาสนา จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกป้องศาสนาที่ถูกบิดเบือน ถ้ายังนิ่งเฉยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็จะเกิดคำถามมากมายเหมือนดังปัจจุบัน

ศาสนาซึ่งมอบความสันติให้แก่เพื่อนมนุษย์ แต่ทุกวันนี้ กลับถูกมองด้วยภาพลักษณ์ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ดังภาพตามที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก”

เหมือนดังคำถาม ที่มักจะปรากฏขึ้นอยู่จนถึงทุกวันนี้ว่า “เหตุใดฆาตกรที่ฆ่าประชาชนผู้บรุสิทธิ์มากมาย เมื่อเสียชีวิตกลับถูกยกย่องว่าเป็นซาฮีด และเป็นวีรบุรุษ” ซึ่งเป็นคำถามค้างคาใจสำหรับใครหลายคน และก็ยังคงไม่มีใครให้คำตอบได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น