วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

สิทธิมนุษยชนที่ชอบธรรมกับการเลือกปฏิบัติ?

 

🌳💥#สิทธิมนุษยชนที่ชอบธรรมกับการเลือกปฏิบัติ?

สิทธิมนุษยชนที่ชอบธรรมกับองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ไร้เงาและเงียบงันในการทำหน้าที่ปกป้องชาวบ้าน กรณี #เหตุระเบิดสวนยางของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

จากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลายเป็นปัญหาที่ได้สร้างความเดือดร้อนที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ได้สร้างงานสร้างอาชีพใหม่ให้กับคนบางกลุ่ม

ได้มีการจัดตั้งองค์กร NGOs ทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนมากกว่า 500 องค์กรขึ้นมาเพื่อดึงเงินทุนสนับสนุนจากต่างชาติ แต่บ่อยครั้งที่กลุ่มองค์กรที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้น ได้สร้างปัญหาและขัดขวางการพัฒนาของชาติ แต่ตรงกันข้ามกับความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในพื้นที่ จชต. ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นกลับนิ่งเฉยธุระไม่ใช่ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่รัฐบังคับใช้กฎหมายติดตามจับกุมสมาชิกแนวร่วมขบวนการที่ทำการก่อเหตุ หรือเกิดการปะทะนำไปสู่ความสูญเสีย จะเห็นได้ว่าองค์กรที่อ้างตนเป็นนักสิทธิมนุษยชนออกมาเคลื่อนไหวทันที ส่อให้เห็นว่า “สิทธิมนุษยชนที่ชอบธรรม” คือเมื่อรัฐกระทำต่อกลุ่มโจร ซึ่งแตกต่างสำหรับประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่เป็นเหยื่อ

หากกล่าวถึง “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ซึ่งได้แก่ สิทธิ–เสรีภาพ ที่ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ ชาติกําเนิด ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต เพศ รูปลักษณ์ภายนอก อายุ และสติปัญญา หรือมีความไม่เท่าเทียมกันในฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมมากน้อยเพียงใดก็ตาม

แต่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุสำคัญๆ ไม่ได้เป็นไปตามเจตนาของ “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” ที่ทุกคนต้องได้รับ มีการเลือกปฏิบัติจนไม่อยากจะเรียกผู้ที่ทำหน้าที่เหล่านั้นว่าเป็น “นักสิทธิ” เห็นได้อย่างเด่นชัดว่ากลุ่มที่อ้างตนเป็นนักสิทธิได้ทำอะไรบ้าง?!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น