วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ความเอื้ออาทร เป็นเกราะป้องกันความเกลียดชัง

“ผู้ใดยุยงให้ผู้คนในสังคมรู้สึกแตกแยกบาดหมางกัน โดยอ้างความแตกต่างกันทางศาสนา บุคคลนั้นไม่ได้ชื่อว่าเป็นมุสลิมที่แท้จริง หากทุกคนยังยึดมั่นในหลักศาสนา ประเทศไทยจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ในที่สุด เพราะการก่อให้เกิดความร้าวฉานนั้น เป็นความชั่วร้ายที่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของศาสนาใดๆ ในโลก ผู้ที่กระทำการเช่นนั้นต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาเอง” คำกล่าวส่วนหนึ่งของ ดร. มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา(Dr. Mohammad bin Abdulkarim Al-Issa) เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2565

คนที่เหยียดเชื้อชาติและคลั่งศาสนา มักมีความเชื่อว่าสังคมที่มีความหลากหลายนั้นเป็นไปไม่ได้ และเพราะความหัวเสียนั้น พวกเขาเลยพากันจับอาวุธเพื่อแสดงให้ทุกคนเห็น แต่พวกเราจะมามัวแต่แสดงความตื่นตระหนกแล้วนั่งรอคอยเหตุการณ์ที่น่าโกรธเกรี้ยวครั้งต่อไปไม่ได้ ในปีที่แล้ว เราพึ่งจะสะพรึงไปกับเหตุการณ์ ที่นาซีคนหนึ่งบุกเข้าไปกราดยิงในโบสถ์ชาวยิวที่สหรัฐอเมริกาจนมีผู้เสียชีวิตถึง 11 ราย แต่พอมีสัญญาณเตือนออกมาแบบนี้แล้ว ชาวโลกก็ใช้ชีวิตกันต่อไป

พวกผู้เกลียดชังเหล่านี้ กำลังบ่อนทำลายสังคมของเรา และเราจะต้องแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังก่อนที่ทุกอย่างจะแย่ลงกว่าเดิม

ต้องบอกกันก่อนเลยว่า นี่ไม่ใช่แค่ในโลกตะวันตกเท่านั้น ชาวมุสลิมมากมายเห็นว่าเหตุการณ์ไครสต์เชิร์ช เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของคลื่นความเกลียดกลัวอิสลามที่ลุกลามไปทั่วโลก เพราะความไม่มั่นใจของประชากรส่วนมาก เพราะฉะนั้นมันถึงเวลาที่เราจะต้องหยุดยั้งความกลัวนี้ ตั้งแต่ตะวันออกจวบจนตะวันตก

ในเมียนมา วาทะสร้างความเกลียดชังและการประหัตประหารได้สั่งสมจนปะทุขึ้นในปี 2017 เมื่อชาวมุสลิมโรฮิงญากว่า 700,000 คนต้องหนี จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปสู่บังกลาเทศ กองทัพเมียนมาที่เป็นผู้ลงมือนั้นได้รับการปกป้องโดยทางการจีน ที่ภายในประเทศเองก็มีการกักขังชาวอุยกูร์ คาซัค และชาติพันธุ์มุสลิมมากถึงหนึ่งล้านคนในค่ายกักกัน เพื่อบังคับ “สร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการศึกษา” ในเขตซินเจียง และนี่เป็นเพียงเรื่องๆหนึ่งในยุคสมัยแห่งการกดขี่ในระดับมโหฬารของช่วงเวลาปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางศาสนาของอินเดีย ต้องเกิดความพลิกผันในยุคสมัยของนเรนทระ โมที บุรุษผู้ดำรงตำแหน่งมุขยมนตรี ในปี 2002 ที่มีเหตุจลาจลในคุชราต ที่ทำให้ชาวมุสลิมหลายร้อยคนเสียชีวิต ความคลั่งชาติฮินดูของเขา ทำให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มประชากร จนนำไปสู่ความรุนแรงและการวิวาทเกี่ยวกับวัวที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

นักการเมืองในยุโรปหลายคน ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นหลังชูนโยบายต่อต้านมุสลิม นางมารีน เลอ แปน จากพรรคแนวร่วมแห่งชาติฝรั่งเศส เปรียบชาวมุสลิมที่หลั่งไหลออกจากมัสยิดหลังการละหมาดวันศุกร์ว่าเหมือนสมัยที่นาซีครองเมือง ประเด็นสำคัญที่นำไปสู่เบร็กซิทก็คือ “ความเสี่ยง” ที่ตุรกีจะเข้าร่วมสหภาพยุโรป โดยนายไนเจล ฟาราจ แกนนำการรณรงค์เบร็กซิท เคยกล่าวหาว่าชาวมุสลิมอังกฤษเป็นเหมือน “นกสองหัว

แต่คนที่ได้กำไรที่สุด จากการเล่นกับความเกลียดกลัวอิสลามก็คือนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่หาเสียงด้วยการสัญญาที่จะ “ยุติการเข้าออกสหรัฐของชาวมุสลิมอย่างเด็ดขาด” โดยเขากล่าวว่านโยบายดังกล่าว จะมีผลไปจนกว่าผู้แทนของประเทศ “รู้ว่ามันเกิดเรื่องบ้าอะไรกัน” แต่น่าเสียดายที่แม้จะเขาแสนจะเฉลียวฉลาด แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ทรัมป์ขึ้นมาสู่อำนาจได้ก็เพราะความเกลียดกลัวอิสลาม ที่โตมากับสงครามในอัฟกานิสถานและอิรัค

ซึ่งแน่นอนว่า เราจะไม่พูดถึงยอดเสียชีวิตของชาวมุสลิมกว่าล้านชีวิต ที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครพูดถึงกันไม่ได้

ในเมื่อภาพรวมทั่วโลก มันเลวร้ายขนาดนี้ ก็ไม่แปลกที่ชาวมุสลิมจะรู้สึกว่าต้องเตรียมพร้อมต่อสู้ตลอดเวลา โดยเฉพาะทั้งๆที่พวกเขาได้รับความเสียหายอย่างสาหัส แต่ก็โดนชี้หน้าว่า เป็นพวกก่อความรุนแรงอยู่ดี

แต่อย่าพึ่งเหมารวม ปัญหาทั้งหมดนี้ว่า เป็นสงครามศาสนา เพราะชาวมุสลิมนับล้าน ไม่ได้เสียชีวิตหรือถูกกักขังข่มขี่ โดยปัญหาระหว่างศาสนาแต่อย่างใด ผู้ที่คุกคามพวกเขา มีความหลากหลายทั้งที่มา และสาเหตุเกินกว่าจะเหมารวมแบบนั้นได้ รวมไปถึงเหยื่อเองก็เช่นกัน

ชาวคริสเตียนก็ถูกเหมารวม เป็นเหยื่อความรุนแรงในจีน ปากีสถาน และอินโดนิเซียเช่นกัน

ชาวปาเลสไตน์ทั้งคริสเตียน และมุสลิม ถูกกดขี่อย่างเท่าเทียมกัน โดยผู้รุกรานชาวอิสราเอล

ฝรั่งเศส และเยอรมันเอง ก็พบกระแสต่อต้านชาวยิวมากขึ้น กระทั่งมีการวาดสัญลักษณ์นาซี ไปทั่วสุสานชาวยิวในฝรั่งเศสตะวันออกด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น “สงครามต่อต้านอิสลาม” ไม่ใช่เรื่องจริง

ทั้งหมดนี้ คือปัญหาการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยต่างหาก และมันก็เป็นปัญหาที่พบได้ในประเทศมุสลิมด้วย ซาอุดีอาระเบีย มีชื่อเสียงฉาวโฉ่จากการที่ไม่มีศาสนสถานอื่นนอกจากอิสลามในประเทศ แต่ในอีกแง่ การปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยในซาอุดีอาระเบีย ก็ทำให้การที่มกุฎราชกุมารแห่งซาอุ แสดงความสนับสนุนจีน ในการกดขี่ชาวมุสลิมในซินเจียง ก็ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเท่าไหร่นัก

แต่ความปรองดอง ก็ไม่ได้เกิดจากการสื่อสารระหว่างศาสนามากขึ้นหรือการเปิดมัสยิดหลายๆ วัน การจะแก้ปัญหานี้ ได้เราต้องรื้อวิธีการพูดถึงเสรีภาพ ความเท่าเทียม และความเคารพซึ่งกันและกันลงมาใหม่ทั้งหมด

ความแข็งแกร่งของชาติ มาจากการปฏิบัติต่อปวงชน สัญญาณของความทรงพลัง มาจากการที่เราปฏิบัติต่อทุกคนที่อยู่เคียงข้างเราอย่างเท่าเทียม เราจะเดินไปข้างหน้าได้ก็ต่อเมื่อทุกคนใช้ชีวิตของตนได้อย่างเสรี สนับสนุนสังคม อย่างที่พวกเขาสามารถทำได้ และเป็นบุคคลที่พวกเขาอยากจะเป็น

ตัวฉันเอง(ผู้เขียน) เกิดและโตในสก็อตแลนด์ และฉันก็ภาคภูมิใจในเชื้อชาติและศาสนาของฉัน ชาวสก็อตมีคำกล่าวว่า ผ้าลายสก็อต เกิดขึ้นได้ เพราะด้ายหลากสี ประหนึ่งคนหลายชนิดที่รวมกัน เป็นสก็อตแลนด์ ทุกวัฒนธรรมรอบโลก ต้องตามหาภาษาของตัวเองที่นำผู้คนมารวมกัน ไม่ใช่ผลักไสพวกเขาออกไป เมื่อปี 1945 เราชนะนาซีด้วยสงคราม คราวนี้เราจะชนะความเกลียดชังด้วยพลังแห่งความรัก ความเมตตา และความเป็นมนุษย์ที่มีร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น